24 มิ.ย. 2024 เวลา 11:05 • การตลาด

เทคนิคการทำ PPL Tie-in ให้เนียนตามฉบับซีรีส์สายเกา

ในยุคที่ซีรีส์เกาหลีกลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลก นอกจากเรื่องราวที่เข้มข้น นักแสดงที่มีฝีมือ และงานโพรดักชันส์ที่จัดเต็มแล้ว “การโฆษณาแฝง” หรือ Product Placement (PPL) ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ซีรีส์เหล่านี้น่าจดจำมากขึ้น 🎬✨
PPL คืออะไร? 🤔
PPL คือ การแทรกสินค้า หรือแบรนด์ลงไปในเนื้อหาของซีรีส์ให้ดูเป็นธรรมชาติ และไม่ทำให้คนดูรู้สึกว่ากำลังถูกยัดเยียดโฆษณา เช่น ตัวละครเอกมีการใส่นาฬิกาแบรนด์ A ในฉากตลอดเวลา ทำให้ผู้ชมเห็นนาฬิกาเรือนนี้บ่อยๆ รวมถึงจดจำได้โดยการซึมซับภาพไปเรื่อยๆ และด้วยเหตุนี้เอง แบรนด์เจ้าของนาฬิกาจึงไม่ต้องใช้การโฆษณาแบบโจ่งแจ้งเลย
.
ทำไมการใช้ PPL ถึงได้ผลดี?
1. ความเชื่อมโยงกับตัวละคร
เมื่อคนดูเข้าถึงบทบางของซีรีส์ พวกเขามักมีแนวโน้มที่จะสนใจ และอยากลองใช้สินค้าที่ตัวละครเหล่านั้นใช้ เช่น การดื่มกาแฟแบรนด์เดียวกับที่นักแสดงดื่ม การไปร้านค้าที่ถูกจัดไว้เป็นสถานที่ถ่ายทำ หรือการใช้ลิปสติกสีเดียวกับที่นางเอกใช้ เป็นต้น
2. การโฆษณาที่ดูเป็นธรรมชาติ
PPL ถูกวางแผนล่วงหน้าไว้ก่อนแล้ว โดยจะมีการออกแบบมาให้เข้ากับเรื่องราว และบทบาทของตัวละคร ทำให้ดูไม่ขัดตา เช่น การใช้สมาร์ทโฟนในการติดต่อสื่อสาร การไปทานอาหารซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาปกติ หรือการใช้รถยนต์แบรนด์ดังต่างๆ ระหว่างฉากเดินทาง
3. เพิ่มความน่าเชื่อถือ
เมื่อสินค้า หรือแบรนด์ถูกนำเสนอผ่านซีรีส์ที่ได้รับความนิยม ก็จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสินค้านั้นๆ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเป็นสินค้านั้นน่าใช้ 👍
เทคนิคเบื้องต้นในการทำ PPL Tie-In ให้แนบเนียน
1. Basic Placement
การวางสินค้าในฉากให้เห็นได้ชัดเจนหรือแอบวาง แต่ไม่มีการพูดถึงสินค้า
ตัวอย่าง โดยเคล็ดลับก็คือเลือกตำแหน่งที่สินค้าโดดเด่นพอสมควร แต่ไม่ขัดแย้งกับเนื้อเรื่อง
2. Integrated Placement
การผสมผสานสินค้าให้เข้ากับเนื้อเรื่องอย่างแนบเนียน เช่น การเผยให้เห็นโลโก้สินค้าเพียงเล็กน้อย หรือการใช้สินค้าผ่านมุมกล้องที่ไม่เน้นไปที่ตัวสินค้าเกินไป เคล็ดลับคือ สร้างฉากที่มีผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าอยู่ในส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของตัวละคร
3. Enhanced Placement
การโฆษณาสินค้าโดยตรงผ่านบทพูดหรือการแสดง โดยผู้ชมจะรับรู้ได้ว่าเป็นการโฆษณา ให้นึกถึง ฉากที่นักแสดงพูดถึงคุณสมบัติของมือถือ หรืออธิบายการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ผ่านบทบาทใดๆ โดยต้องใช้บทพูดที่ดูธรรมชาติ ไม่หนักเกินไป และให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องในช่วงนั้นๆ
4. Programming
การนำสินค้าเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาหรือรายการนั้นๆ โดยเคล็ดลับคือ จะต้องเลือกรายการ หรือเนื้อหาที่สอดคล้องกับสินค้าหรือบริการอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น รายการทำอาหารที่มีการใช้อุปกรณ์ และวัตถุดิบจากแบรนด์เดียวกันทั้งหมด
ตัวอย่าง PPL ที่ประสบความสำเร็จในซีรีส์เกาหลี 🎥
Crash Landing on You (2019): จากที่นางเอกของเรื่อง Yoon Se-Ri สวมแว่นกันแดดของ Gentle Monster ทำให้กลายเป็นไวรัลที่ต้องมีกันเลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีร้าน SUBWAY ที่มักจะเห็นอยู่บ่อยๆ ในฉากนัดทานอาหาร
My Love From Another Star (2013): หลังจากฉากนางเอกใช้ลิปสติกสี Coral Pink ของ Yves Saint Laurent ถูกปล่อย ก็ทำให้ลิปสติกสีนี้ แทบจะขาดตลาดไปอยู่พักใหญ่ พาให้สีอื่นที่ไม่ได้ถูกใช้ในละครขายหมดสต๊อกอยู่หลายเดือน จนทีมงานของ YSL ต้องออกมายอมรับว่าซีรีส์นั้นเป็นทำให้ลิปสติกขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเลยจริงๆ
แต่การทำ PPL ก็ใช่ว่าจะได้ผลตอบรับที่ดีจากผู้ชมชาวเกาหลีเสมอไป และบ้างก็ถูกโต้แย้ง บ้างก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากการโปรโมต เช่น
  • การทำ PPL ของ บิบิมบับ ของ ซีไฮกัว (Zi Hai Guo) ใน Vincenzo (2021) ซึ่งเป็นแบรนด์จากจีนบริษัทอาหารจากจีน กลายมาเป็นผู้ผลิต ผู้ขายอาหารเกาหลี และได้มีการโปรโมตผ่านการซีรีส์ของเกาหลีอีก ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับชาวเกาหลีอยู่ไม่น้อย
  • และในตัวอย่างของ Goblin ที่กลายเป็นซีรีส์ที่มีโฆษณาแฝงที่มากจนเกินไป เนื่องจากตัวละครได้ทำแต่สิ่งเดิมๆ เช่น การดื่มเครื่องดื่มเพียงแค่ยี่ห้อเดียวตลอดทั้งเรื่อง เข้าร้านอาหารเดิมสร้างความสดชื่นให้ร่างกาย ทั้งยังมีการโฆษณาโทรศัพท์ ซัมซุง แกแล็กซี เอส7 ซีรีส์ (Samsung Galaxy S7s) อย่างโจ่งแจ้งเกินไปอีกด้วย ดังนั้น การทำ PPL ควรจัดวางอย่างพอดี ไม่อย่างนั้น ผู้บริโภคจะรู้สึกถึงความยัดเยียดโฆษณามากจนเกินไปได้
โฆษณา