26 มิ.ย. เวลา 01:04 • ธุรกิจ

ทำอย่างไรเมื่อเผลอใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล?

รู้จัก Green - Red - Blue Framework ตัวช่วยฝึกการรับรู้อย่างมีสติให้เราอยู่กับปัจจุบัน
2
ในชีวิตการทำงานเชื่อว่าหลายคนเคยเจอเหตุการณ์เหล่านี้
😲 บางครั้งเราก็เผลอใช้อารมณ์ตัดสินใจ มากกว่าเหตุผล ทำให้เราควบคุมอารมณ์ไม่ได้
😲 เราอยากคิดไอเดียใหม่ ๆ แต่กลับคิดไม่ออก ยิ่งคิดก็ยิ่งโดนความเครียดกดทับไว้
😲 ในการประชุมหลาย ๆ ครั้งเรามักจะรู้สึกอึดอัด เสมือนโดนสภาพแวดล้อมรอบตัวกดดัน
😲 เรามักจะยอมแพ้ต่อการเปลี่ยนแปลงที่ยากเกินไป แล้วสุดท้ายก็ยอมแพ้ ถอดใจในที่สุด
มีบทความที่น่าสนใจของคุณ Cari Jacobs (คารี จาคอบส์) Founder & Executive Coach at The Force Majeure ได้แชร์ประสบการณ์เทคนิคใน entrepreneur.com เกี่ยวกับการรับมือทางอารมณ์ เพื่อฝึกให้เราตระหนักการรับรู้ถึงอารมณ์ของตัวเอง และสามารถควบคุมอารมณ์อย่างได้ผล
2
เมื่อเราไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้….
เราจะคิดอย่างเป็นระบบไม่ได้เช่นกัน
3
คุณ Cari Jacobs (คารี จาคอบส์) ได้เล่าให้ฟังในฐานะโค้ชบริหาร เขาเล่าเคสลูกค้าท่านหนึ่ง นามสมมุติว่าคุณเควิน ให้ฟังว่า
1
คุณเควินที่เป็นระดับผู้นำแต่กลับไม่สามารถคิดได้อย่างเป็นระบบ เพราะความกดดันที่หนักอึ้งในอาชีพของเขา เรื่องนี้เป็นหนึ่งในเคสของสตาร์ตอัปยูนิคอร์นที่ก่อนหน้ามีพนักงานเพียง 9 คน แต่หลังจากผ่านไป 2 ปีครึ่ง องค์กรก็มีการเติบโต มีพนักงานเพิ่มขึ้นแตะไปถึง 200 คน ซึ่งมันทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไป อะไรที่ในอดีตเคยทำได้ดี รู้สึกมีพลังที่ได้ทำ ก็กลายเป็น ‘หนักอึ้ง’ และเต็มไปด้วยการเมืองในบริษัท
2
คุณ Cari Jacobs (คารี จาคอบส์) ในฐานะที่ปรึกษามาหลายองค์กรชั้นนำ มักเห็นหลายองค์กรที่เกิดภาวะแบบนี้ เมื่อไหร่ที่วัฒนธรรมองค์กรเหมือนก้นกรองบุหรี่ วันนึงวัฒนธรรมนั้นก็จะดับหาย และพังทลายลงที่สุด หรือในทางกลับกันหากบริษัทยังคงเติบโต ก็ไม่ต่างจากการล่ามโซ่ให้กับพนักงานให้อดทนทำงาน เพื่อรอวันที่เงินเดือนจะออกในทุกเดือน
1
คงไม่มีองค์กรไหนอยากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ดังนั้นวิธีการง่าย ๆ ที่เริ่มทำได้เลยตั้งแต่ระดับผู้บริหาร, ผู้นำ และพนักงานในองค์กรสามารถทำได้ทันที คือหนึ่งในแนวคิดที่มีชื่อว่า GREEN, RED, BLUE A Practice in Mindful Recognition หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการฝึกการรับรู้อย่างมีสติ! เพื่อให้เราอยู่กับปัจจุบันและรู้สึกตัวอย่างเท่าทัน เป็นหนึ่งในโมเดลที่บริษัทระดับโลกอย่าง Google, Intel, Nike, AstraZeneca, General Mills
1
GREEN, RED, BLUE A Practice in Mindful Recognition เรียนรู้การฝึกการรับรู้อย่างมีสติ! เพื่อฝึกให้อยู่กับปัจจุบัน และรู้สึกตัวอย่างเท่าทัน
1
สิ่งนี้ถูกนิยามว่าเป็น ‘The Battery’ โดยแบ่งระดับอุณหภูมิไว้ 3 สีด้วยกัน นั่นคือสีเขียว, สีแดง และสีน้ำเงิน
🟢 สีเขียว (GREEN) สิ่งนี้คือ ‘Flow’
เปรียบเสมือนแบตเตอรี่สีเขียวที่พร้อมทำงานอยู่ตลอดเวลา เป็นภาวะที่ดีที่สุดสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีเยี่ยม ในช่วงเวลานี้สมองคนเราจะมีประสิทธิภาพเต็มที่ โดยเราสามารถรับรู้ความรู้สึกของตัวเองได้ ผ่านความรู้สึกเหล่านี้
👉 Creative (สร้างสรรค์)
👉 Calm (จิตใจสงบ)
👉 Inventive (สร้างสรรค์ผลงาน)
👉 Generative
👉 Hopeful (เต็มไปด้วยความหวัง)
👉 Possibilities (เปิดกว้างรับโอกาส)
👉 Joyful (สนุกสนาน)
👉 Possible doable (มองทุกอย่างเป็นไปได้, ทำได้อย่างแน่นอน)
👉 Receiving Energy (รับพลังงานบวก จากภายนอก)
👉 Heartful (น้ำใจเปี่ยมล้น)
2
🔴 สีแดง (RED) สิ่งนี้คือ ‘Fight’
เปรียบเสมือนแบตเตอรี่สีแดง ที่กำลังร้อนรน เดือดจนถึงขีดสุด เป็นภาวะที่ไม่เหมาะกับการตัดสินใจ หรือ เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งนำไปสู่การควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดี โดยเราสามารถรับรู้ความรู้สึกของตัวเองได้ ผ่านความรู้สึกเหล่านี้
👉 Protective (เข้าสู่สถานะป้องกันตัว)
👉 Defensive (หวาดระแวง)
👉 Creative energy shuts down (ความคิดสร้างสรรค์หยุดชะงัก)
👉 Can no longer hear (ไม่สามารถรับฟังได้อีกต่อไป)
👉 Speak more than listen (พูดมากกว่ารับฟัง)
👉 lower comprehension (ประสิทธิภาพในการเข้าใจลดน้อยลง)
👉 Painful (รู้สึกทรมานจิตใจ)
👉 Anxiety-ridden (เต็มไปด้วยความวิตกกังวล)
👉 Irritable (หงุดหงิดรำคาญง่าย)
👉 Frustrating (รู้สึกหมั่นไส้)
👉 Mean-spirited (ไม่เปิดใจ จิตใจคับแคบ)
👉 Aim is to win, be right (มีเป้าหมายเพื่อชนะ และเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น)
3
🔵 สีน้ำเงิน (BLUE) สิ่งนี้คือ ‘Freeze’
เป็นแบตเตอรี่สีน้ำเงิน เรียกได้ว่าเป็นสภาวะที่น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะไม่ใช่การควบคุมอารมณ์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นภาวะที่หยุดนิ่งทุกอย่าง เสมือนถูกแช่แข็งไว้ ไม่สามารถขยับขยาย หรือเกิดการพัฒนาในองค์กรได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความล้มเหลวเพราะบริษัท และคนในองค์กรไม่คิดที่จะพัฒนา หรือเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง โดยเราสามารถรับรู้ความรู้สึกของตัวเองได้ ผ่านความรู้สึกเหล่านี้
2
👉 Paralysis (เกิดการหยุดนิ่งไม่เลินนิ่งต่อ)
👉 System shutdown (เกิดภาวะไม่ไปต่อ หยุดการพัฒนา)
👉 Can no longer hear (สภาวะไม่สามารถรับฟังได้อีกต่อไป)
👉 Void (ว่างเปล่า ไร้ซึ่งความรู้สึก)
👉 Can not move in any direction (ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปในทิศทางไหนได้เลย)
👉 Targeted (ถูกกำหนดโดยผู้อื่นชักจูง)
👉 Victimhood (รู้สึกเป็นฝ่ายถูกกระทำเสมือนเป็นเหยื่อ)
👉 No choices (ไม่มีทางเลือก, ไม่มีตัวเลือก)
👉 Disappearing (เริ่มค่อย ๆ หายไปจากความเป็นจริง)
1
วิธีแก้ไข เมื่อคนในองค์กรของคุณ กำลังตกเข้าสู่สภาวะ ‘สีแดง และสีน้ำเงิน’
🔴 เมื่อคุณอยู่ในสภาวะ ‘สีแดง’
สิ่งที่ต้องทำเพื่อฝึกการรับรู้อย่างมีสติ คือ ‘ให้หยุดพัก’ และ ‘หายใจลึก ๆ’ พร้อมกับหาพื้นที่ส่วนตัว โดยค่อย ๆ ทำทีละขั้นตอนดังนี้
🎯 1. คุณต้องฝึกให้ทำทุกอย่างช้าลง หรือเป็นไปได้คือให้หยุดพัก!
🎯 2. คุณต้องฝึกหายใจเข้าออกลึก ๆ เพื่อควบคุมอารมณ์ความรู้สึก
🎯 3. คุณต้องฝึกรับรู้ถึงความรู้สึกตัวเอง ถ้ารู้ว่าโกรธก็ยอมรับ เพราะทุกคนมีสิทธิ์โกรธ มีสิทธิ์เครียด เมื่อเราสามารถรับรู้อารมณ์ตัวเองได้แล้ว สถานการณ์ต่าง ๆ ก็จะดีขึ้น และนำไปสู่การควบคุมอารมณ์ได้ในที่สุด
🎯 4. สุดท้ายคือการ ‘รับฟังอย่างตั้งใจ และเปิดใจในการรับฟังจากผู้อื่น
🔵 เมื่อคุณอยู่ในสภาวะ ‘สีน้ำเงิน’
สิ่งที่ต้องทำเพื่อฝึกการรับรู้อย่างมีสติ คือ ‘ให้หยุดพัก’ และ ‘ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น’ โดยค่อย ๆ ทำทีละขั้นตอนดังนี้
🎯 1. คุณต้องฝึกหายใจเข้าออกลึก ๆ เพื่อควบคุมอารมณ์ความรู้สึก และที่สำคัญต้องยอมรับให้ได้ว่า เราสมควรจะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ฝึกความเป็นนักเรียนรู้ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
🎯 2. ค้นหาจุดยืน เพื่อฝึกให้เรารับรู้ถึงความรู้สึกของตนเอง ยิ่งถ้าคุณเป็นผู้นำเรื่องนี้จะสำคัญมากสำหรับองค์กร คงไม่มีองค์กรไหนอยากเป็นองค์กรที่มีแต่ไดโนเสาร์ไปตลอด เพราะนั่นหมายถึงอีกไม่นานองค์กรคุณจะล้มเหลวและจากไปในที่สุด
🎯 3. คุณต้องฝึกรับรู้ถึงความรู้สึกตัวเอง ถ้ารู้ว่าโกรธก็ยอมรับ เพราะทุกคนมีสิทธิ์โกรธ มีสิทธิ์เครียด เมื่อเราสามารถรับรู้อารมณ์ตัวเองได้แล้ว สถานการณ์ต่าง ๆ ก็จะดีขึ้น และนำไปสู่การควบคุมอารมณ์ได้ในที่สุด
🎯 4. สุดท้ายคือการ ‘รับฟังอย่างตั้งใจ และเปิดใจในการรับฟังจากผู้อื่น
GREEN, RED, BLUE A Practice in Mindful Recognition หรือ เรียนรู้การฝึกการรับรู้อย่างมีสติ! เพื่อฝึกให้อยู่กับปัจจุบันและรู้สึกตัวอย่างเท่าทัน เป็นเรื่องต้อง “ฝึกให้เยอะ ฝึกให้บ่อย และเริ่มทำได้ทันที”
หวังว่าทุกคนจะนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้สามารถเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง และควบคุมสติได้อย่างมืออาชีพ
1
แปล เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
ภาพประกอบ: อลิสา อรุณสิริเลิศ
โฆษณา