26 มิ.ย. เวลา 08:17 • ธุรกิจ

ส่องธุรกิจ Food Delivery ที่มีจำนวนผู้เล่นรายใหญ่ไม่กี่เจ้า และเป็นตลาดที่แข่งขันกันอย่างรุนแรง

สังเกตได้ว่าผลประกอบการธุรกิจ Food Delivery มักจะขาดทุนในช่วงแรกของการดำเนินกิจการ สาเหตุมาจากต้นทุนการดำเนินงานสูง ทั้งค่าส่ง ค่าพัฒนาแอป ค่าพนักงานประจำที่ดูแลหลังบ้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าการตลาดโฆษณาเพื่อดึงดูดลูกค้าและร้านอาหาร จึงเรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่ไม่ง่ายเลย
ถ้าจะอยู่รอดได้ต้องมีการบริหารจัดการต้นทุนให้ดี และมีการกระจายความเสี่ยง (Diversify) ไปยังบริการต่างๆ และหากใครขยายฐานลูกค้าได้สูงสุดและสร้าง Brand Loyalty ได้ ก็มักจะได้เปรียบ
ถ้าดูผลประกอบการของ 3 แอปพลิเคชัน Food Delivery ในไทย
- Grab
- Lineman
- Robinhood
จะเห็นได้ว่า Grab Thailand เป็นเจ้าแรกที่พลิกมามีกำไรในปี 2566 ซึ่งเป็นครั้งแรกหลังจากก่อตั้งมา 10 ปี สาเหตุหลักๆ มาจากกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นไปที่
1. การควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้น
2. การขยายฐานลูกค้าใหม่ และพัฒนาบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เช่น บริการ GrabMart บริการส่งของชำ
3. การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อให้เกิด Brand Loyalty และ Switching Barriers หรือ สร้างความคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้รู้สึกความยุ่งยากหากย้ายไปใช้แอปอื่น
ส่วน Lineman ก็มีการขาดทุนที่ลดลง จากที่เคยขาดทุนมากกว่า 2.5 พันล้านต่อมี เหลือเพียง 254 ล้านในปี 2566 เรียกได้ว่าขาดทุนลดลงถึง กว่า 90%
ในขณะที่ Robinhood ซึ่งถูกก่อตั้งมาด้วยจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือสังคมในช่วงโควิด-19 อาจไม่ได้มุ่งเน้นการทำกำไรมากนัก แต่แล้วเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย บริษัทกลับขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับแอปเพื่อนบ้าน โดยในปีล่าสุด 2566 ขาดทุนถึง 2.16 พันล้านบาท และติดลบมากขึ้นถึงเกือบ 9% จากปีก่อนหน้า
ล่าสุด SCBX จึงประกาศยุติการให้บริการแอป Robinhood ถาวรในสิ้นเดือน กรกฎาคม 2567 นี้
#BusinessTomorrow #BizTMR #Lineman #Grab #Robinhood #fooddelivery #อาหาร #ไรเดอร์
📷 ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามเพจของเรา ฝากกด Like และ Share เป็นกำลังใจให้ทีมงาน
ฝากตั้งเพจเราเป็น "รายการโปรด" ไว้ เพื่อจะได้ไม่โดนการปิดกั้นการมองเห็นครับ ขอบคุณครับ 📷
โฆษณา