28 มิ.ย. เวลา 09:34 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

Intermittent fasting and 'protein pacing' diet boosts your gut microbiome diversity, study suggests

การอดอาหารเป็นพักๆ และ 'โปรตีนเพซซิ่ง' ช่วยเพิ่มความหลากหลายของจุลินทรีย์ในลำไส้ของคุณ
เป็นการทำงานร่วมกันของกระแสอาหารที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนว่าคุณต้องการ
การวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร เนเชอร์ คอมมูนิเคชันส์ Nature Communications เปิดเผยว่า การอดอาหารเป็นพักๆหรือ ไอเอฟ IF และโปรตีนเพซซิ่ง หรือ พี P ทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้มีความหลากหลายมากขึ้น เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับ อาหารเมดิเตอร์เรเนียนที่จำกัดแคลอรี่และดีต่อสุขภาพหัวใจ
การค้นพบนี้อาจมีนัยสำคัญในการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์ในลำไส้กับการเผาผลาญอาหาร หรือ
เมแทบอลิซึม ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ อาจเป็น กลยุทธ์ใหม่ในการจัดการกับโรคอ้วน
ไมโครไบโอมที่อยู่ในลำไส้ของเรา เป็นชุมชนที่ซับซ้อนของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมน้ำหนักตัวของเรา และดูแลสุขภาพของเราโดยรวม นักวิทยาศาสตร์รู้ดีว่า สารอาหารที่มีอยู่ในร่างกายของเรา สามารถส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักตัวของเรา และดูแลสุขภาพของเราได้อย่างมาก
การอดอาหารเป็นพักๆ หรือไอเอฟ ซึ่งจำกัดปริมาณแคลอรี่ โดยการจำกัดการบริโภคอาหารในช่วงเวลาที่กำหนดในบางวัน ส่วนโปรตีนเพซซิ่ง ก็คือ กระจายการบริโภคโปรตีนในตลอดทั้งวัน แทนที่จะกินโปรตีนในมื้อเดียว เป็นที่ทราบกันว่า สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อน้ำหนักตัวลดลง แต่ผลกระทบที่มีต่อจุลินทรีย์ในลำไส้หรือไมโครไบโอมนั้น เรายังไม่ทราบมากนัก จนกระทั่งถึงตอนนี้
ในการวิจัยทดลองเล็กๆ นี้ นักวิจัยได้เปรียบเทียบการให้อาหารสองชนิดเพื่อจะเปรียบเทียบกัน มีช่วงระยะเวลาในการทำวิจัยทดลองแปดสัปดาห์ ผู้เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้ เป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน จำนวนทั้งหมด 41 ราย
กลุ่มที่หนึ่งจะให้รับประทานอาหารสไตล์เมดิเตอร์เรเนียนที่จำกัดแคลอรี่ ตามแนวทางการบริโภคอาหารของสหรัฐอเมริกา ในขณะที่อีกกลุ่มจะรับประทานอาหารที่จำกัดแคลอรี่ ซึ่งเป็นการให้อาหารเป็นพักๆ คือ ไอเอฟ และให้โปรตีนเพซซิ่ง ซึ่งกลุ่มที่สองนี้ จะรับประทานอาหารแบบ ไอเอฟ พี IF-P
ผลการวิจัยพบว่า ในกลุ่มที่ปฏิบัติตามแผนรับประทานอาหารแบบ ไอเอฟ พี ซึ่งก็คือกลุ่มที่สอง ตรวจพบว่ามีจุลินทรีย์ในลำไส้ที่หลากหลายมากขึ้น ลดอาการของโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร และมีการสูญเสียไขมันในอวัยวะภายในอย่างมีนัยสำคัญมากกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่หนึ่งที่กินอาหารสไตล์เมดิเตอร์เรเนียน
ที่เห็นได้ชัดก็คือ อาหาร ไอเอฟ พี ได้เพิ่มจุลินทรีย์ในลำไส้บางชนิดที่ทำให้มีรูปร่างที่เพรียวบาง และเพิ่มการหมุนเวียนของโปรตีนและกรดอะมิโน ที่ทำให้น้ำหนักตัวลด และยังไปทำให้เกิดการเกิดออกซิเดชันของไขมันด้วย
เมลเลอร์ Duane Mellor นักโภชนาการ และโฆษกของ สมาคมโภชนาการ และการกำหนดอาหารบริติช British Dietetic Association และนักวิชาการกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยแอสตัน ประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการวิจัยวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า “เป็นการวิจัยที่น่าสนใจ การเพซซิ่งโปรตีน และการอดอาหารเป็นพักๆ หรือไอเอฟ ได้ช่วยในการลดน้ำหนัก ดังที่แสดงในการวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2023 แต่ในการวิจัยนี้ ดูเหมือนว่า การเพซซิ่งโปรตีน และการอดอาหารเป็นพักๆ ช่วยให้มีการปรับปรุงระดับแบคทีเรียในลำไส้ให้มีความหลากหลายมากขึ้น”
เมลเลอร์ ชี้ให้เห็นว่า ในตอนนี้ ยังไม่ชัดเจนว่า นี่เป็นผลมาจากของระดับโปรตีนที่สูงขึ้นของโปรตีนเพซซิ่ง และการอดอาหารเป็นพักๆ หรือเป็นผลของการอดอาหารเป็นพักๆ อย่างเดียว หรือเกิดจากมีเส้นใยที่มากขึ้นในอาหาร หรือเป็นเพราะว่า เกิดมาจากปัจจัยหลายอย่างมารวมกัน
เมลเลอร์ เสริมว่า ปริมาณเส้นใยที่สูงขึ้นในอาหาร ไอเอฟ พี อย่างน้อยก็มีส่วน ที่ปรับปรุงในเรื่องสุขภาพทางเดินอาหารดีขึ้น และจุลินทรีย์ในลำไส้ที่มีความหลากหลายมากขึ้น
แม้ว่าอาหารในการวิจัยนี้ "ได้รับการออกแบบมาอย่างรอบคอบ" เมลเลอร์ เน้นย้ำถึงข้อจำกัดของการวิจัย ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้เข้าร่วมในการวิจัยอาจจะน้อย และการใช้อาหารเสริมที่ได้รับจากผู้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย คือบริษัท ไอสะเจนิกซ์ Isagenix ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารเสริม ทำให้การรับประทานอาหารดังกล่าวมีความท้าทายในการทำการวิจัยซ้ำ โดยใช้อาหารที่สามารถจะหาซื้อได้ง่าย
แม้จะมีข้อจำกัดเหล่านี้ในการวิจัย การค้นพบจากงานวิจัยนี้ สามารถสนับสนุนการวิจัยเพิ่มเติม ที่จะไปตรวจหาปฏิสัมพันธ์ทางเมแทบอลิซึมที่ซับซ้อน ระหว่างอาหาร และไมโครไบโอมในลำไส้ของเรา
ผู้เขียน : Tom Howarth
แปลไทยโดย : Wichai Purisa (senior scientist)
โฆษณา