30 มิ.ย. เวลา 06:58 • สุขภาพ

#EP06 ‘Orlistan’ ยายับยั้งการดูดซึมไขมัน

หากพูดถึงยาลดความอ้วน ยิ่งถ้าดูจากหุ้นของบริษัทยาแห่งหนึ่งที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดแล้ว ชื่อแรกที่โผล่แวบเข้ามาในหัวต้องไม่ใช่ Orlistat แน่นอน
แต่ถึงอย่างนั้นเจ้ายาเก่าแก่ตัวนี้ก็ยังคงเป็นตัวเลือกที่ขาดไปไม่ได้เลยในการวางแผนรักษากับผู้ป่วย
ไหนๆ ก็มา Remind กันซักหน่อย
กับ “Orlistat” ยาตัวนี้มีอะไรน่าสนใจกันบ้าง
● US-FDA ได้ Approved ข้อบ่งใช้ในการลดน้ำหนักมาตั้งแต่ปี 1998 ตามด้วย EMA ในปี 1999 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ถอนจ้า ค่อนข้างปลอดภัยเลยทีเดียว ไม่ค่อยพบรายงานอาการข้างเคียงรุนแรง (พบ Rarely จริงๆก็มักจะเป็น cholelithiasis, Hepatitis)
● ปัจจุบันในไทยมีรูปแบบความแรงเดียว คือ Orlistat (Xenical) 120 mg
● ที่ต่างประเทศจะมี Orlistat (Alli) 60 mg ขาย Over the counter ซื้อได้ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ (ถ้าเป็นตปท. ตัว 120 mg ต้องมีใบสั่งแพทย์ แต่ที่ไทยไม่ต้อง)
● กลไกยับยั้งการทำงานของ gastric lipase และ pancreatic lipase ทำให้ไขมัน (Triglyceride) ไม่เกิดการ Hydrolyze ได้เป็น Fatty acid + Glycerol จึงบล็อกการดูดซึมไขมันที่สำไส้นั่นเอง
● แน่นอนออกฤทธิ์เฉพาะในมื้ออาหารที่ทานยานั้นๆ ลดการดูดซึมไขมันจากอาหารที่กินเข้าไป แต่ไขมันในหลอดเลือดที่ดูดซึมเข้าไปแล้วลดไม่ได้!
● ที่ว่าลด ลดได้แค่ไหน มีการศึกษาพบว่ามีประสิทธิภาพลดการดูดซึมไขมันได้ประมาณ 30% หมายความว่า กินไขมันไป 100 ส่วน จะดูดซึมได้ประมาณแค่ 70 ส่วน ที่เหลือก็ขับออก
● เจ้าไขมัน 30 ส่วนที่ไม่ได้ถูกดูดซึมนี่แหละ ที่เป็นปัญหาทำให้เกิดอาการข้างเคียงอันน่ารำคาญใจ การศึกษาพบว่า ผู้ป่วย 100 คนที่ทานยา 91 คนต้องเกิดอาการข้างเคียงซักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นมีน้ำมันปนออกมากับอุจจาระ มีความอยากถ่ายบ่อย ควบคุมการขับถ่ายยาก ปวดมวนท้อง หรือผายลมพร้อมมีอุจาระเล็ด
● อาการเหล่านี้ดูเหมือนจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป โดยมากมักจะไม่เกิน 4 สัปดาห์
● หรืออาจใช้เทคนิคลด Side effect:
🔸 ทานพร้อมกับพวกไฟเบอร์ เช่น Psyllium พบว่าสามารถช่วยดูดซับไขมันส่วนเกินในลำไส้ได้
🔸 พยายามลดอาหารที่มีไขมันลงอย่างจริงจัง ไขมันน้อยลง อาการข้างเคียงน้อยลงแน่นอน บางครั้งจึงใช้ยาเป็นเหมือน Indicator ว่ามื้อนั้นเราทานไขมันมากเกินไปหรือไม่ด้วย
● เมื่อรบกวนการดูดซึมไขมัน ก็จะมีผลต่อการดูดซึมพวก Vitamin ที่ละลายในไขมันด้วย ได้แก่ Vitamin A D E K โดยเฉพาะ Vitamin D และ E จะเห็นได้ชัด ดังนั้นใครที่ได้ทานยานานเกิน 12 สัปดาห์ควรทานวิตามินเสริมคู่กัน (Vitamin A ยังไม่พบรบกวนมาก ส่วน Vitamin K จะพบมีผลในผู้ที่ใช้ยา Warfarin จึงควรติดตามระดับ INR มากกว่า)
● Drug interaction: มีผลลดระดับยา Cyclosporin Amiodarone Antiepileptic Antiviral แนะนำให้ทางห่างกัน 3-4 ชั่วโมง
● เบื้องต้นยังเลี่ยงใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร ถึงแม้ยาแทบจะไม่ดูดซึมทาง Systemic (ยา 95-97% ไม่ถูกดูดซึมและขับออกทางอุจาระ) เนื่องจากมีผลต่อพวกระดับวิตามิน สารอาหารที่อาจส่งผลต่อเด็ก
● ข้อบ่งใช้ยาขณะนี้เหมาะกับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป
● การทานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดควรทานระหว่างมื้ออาหาร หรือช้าสุดไม่เกิน 1 ชั่วโมง หากเกิน 2 ชั่วโมงหลังทานอาหารแล้ว Skip โดสได้เลย ย่อยและดูดซึมไปหมดแล้วจ้า
● ขนาดสูงสุดเป็น 120 mg 1 capsules 3 times daily (การทานมากกว่านี้ไม่ได้ให้ประโยชน์ที่มากกว่า)
● ผลการลดน้ำหนักจะเริ่มสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ ไปจนถึงการทานต่อเนื่องนาน 6 ถึง 12 เดือน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นกับการปรับพฤิตกรรมคนไข้ด้วย
ถึงแม้ประสิทธิภาพการลดน้ำหนักโดยรวมยังอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง กับอาการข้างเคียงที่แลดูน่ารำคาญเล็กน้อย การเลือกใช้ยาจึงเป็นการเหมือนการให้เสริมควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมเพื่อลดน้ำหนักมากกว่า
สุดท้ายนี้ Remind วิธีทานยาหรือข้อควรระวังต่างๆ ของ Orlistat ก็หวังว่าคนไข้จะได้รับประโยชน์และความปลอดภัยจากยาตัวนี้อย่างเต็มที่กันค่ะ
💬 ที่มา
โฆษณา