3 ก.ย. 2024 เวลา 08:00 • ธุรกิจ

'New collar job' ตำแหน่งงานยุคใหม่ ที่วุฒิการศึกษาอาจไม่สำคัญ

โลกของการทำงานมีการปรับเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งในยุคที่ทุกคนสามารถสร้างอาชีพให้แก่ตนเองได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาองค์กร หรือบริษัทใหญ่ๆ วุฒิการศึกษาหรือปริญญาบัตร ผสานกับทักษะต่างๆ ในตัวผู้สมัคร จึงอาจจะไม่จำเป็น เพราะไม่ต้องนำไปใช้คัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน
ล่าสุด เทรนด์ใหม่อย่าง "New Collar Job" ที่ใช้เรียกกลุ่มคนทำงานที่เป็นที่ต้องการมากขึ้น ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้อาจไม่ต้องมีวุฒิการศึกษาตรงกับสายงานที่ต้องการ แต่ต้องมีความสามารถตรงกับที่บริษัทต่างๆ ต้องการ
1
วันนี้ "กรุงเทพธุรกิจ" จะพาไปทำความรู้จักกับเทรนด์งานใหม่ๆ ที่วุฒิการศึกษาอาจจะไม่สำคัญ (แต่ก็ควรจะยังต้องศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา)
📌 รู้จัก New Collar Job เทรนด์งานใหม่
New Collar Job คือ กลุ่มคนทำงานกลุ่มใหม่ที่ไม่ต้องใช้เวลาในการเรียนระดับมหาวิทยาลัยหลายปี ไม่จำเป็นต้องมีวุฒิการศึกษา เป็นบัณฑิตที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี แต่เป็นกลุ่มคนที่มีทักษะพิเศษที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งองค์กรหรือบริษัทที่จะจ้างพวกเขาเหล่านี้ ก็สนใจแค่เรื่องทักษะอย่างเดียว ส่วนใบปริญญาถือว่าไม่จำเป็นแต่อย่างใด
📌 กลุ่มแรงงานประเภทอื่นๆ มีอะไรบ้าง
จริงๆ แล้วก่อนหน้านี้กลุ่มแรงงานจะถูกแยกเป็นกลุ่ม Blue Collar และ White Collar ซึ่งการเรียกแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อแยกประเภทของคนทำงาน ผ่านการใช้สีของเครื่องแบบที่คนทำงานแต่ละกลุ่มนิยมใส่กัน หรือมาจากลักษณะของผู้ที่ทำงานในประเภทต่างๆ ดังนี้
Blue Collar
สำหรับคนทำงานกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนที่อาจจะต้องไม่ต้องนั่งทำงานในออฟฟิศ แต่เป็นคนงานหรือเป็นคนที่ต้องใช้แรงงานเป็นหลักในการทำงาน โดยคำว่า Blue ก็จะสื่อถึงเสื้อสีฟ้าหรือเสื้อสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสียอดฮิตของคนที่ทำงานตามโรงงานชอบใส่กันนั่นเอง
White Collar
หลังจากยุค Blue Collar ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลายในการทำงาน จึงก่อให้เกิดกลุ่มผู้ใช้แรงงานใหม่ที่เรียกว่า White Collar หมายถึงกลุ่มคนที่เป็นพนักงานออฟฟิศ นั่งทำงานหน้าคอมในบริษัท มนุษย์เงินเดือน ไปจนถึงกลุ่มผู้บริหาร หรือเรียกอีกอย่างก็คือกลุ่มคนที่นั่งทำงานกันแบบสวยๆ ในห้องแอร์นั่นเอง ซึ่งคำว่า White ก็เป็นการสื่อถึงสีขาว ซึ่งเปรียบเสมือนเสื้อเชิ้ตสีขาวที่มนุษย์ออฟฟิศทั้งหลายนิยมใส่มาทำงานกันนั่นเอง
2
📌 การเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดNew Collar Job
เมื่อ Blue Collar และ White Collar ได้ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างยาวนานแล้ว จวบจนยุคสมัยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย จนทำให้เกิด New Collar Job ตามมา
1
คำนี้ถูกบัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Ginni Rometty อดีต CEO สาวของบริษัทคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่อย่าง IBM เพื่อใช้อธิบายถึงกลุ่มแรงงานใหม่ที่มีทักษะพิเศษ ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยที่บริษัทต่างๆ ไม่ได้สนใจเรื่องวุฒิการศึกษาเพื่อรับเข้าทำงาน
1
นอกจากนี้สิ่งกระตุ้นอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้เกิดกลุ่มแรงงาน New Collar Job ก็คือเรื่องของ IT Disruption หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 หากทุกคนจำได้ในช่วงที่ต้องกักตัว ทำงานอยู่กับบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
1
พวกเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการดำเนินชีวิตในยุคโรคระบาดได้ เช่น การสั่งอาหาร การขายของออนไลน์ รวมไปถึงการประชุมงานผ่านทางแอปพลิเคชันต่างๆ นอกจากนี้การเข้ามาของ AI และ Chat GPT ก็ถือว่าเป็นอีกปัจจัยที่ก่อให้เกิด New Collar Job ด้วยเช่นกัน
📌 ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ นิยมเรียนทักษะหลายแขนง
เทรนด์ New Collar Job นั้น เริ่มถูกพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในช่วงหลังนี้ โดยเหตุผลที่ New Collar Job เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน คือ บริษัทหลายที่ต่างก็เน้นให้ความสำคัญกับทักษะที่มีเหมาะสมของพนักงานมากขึ้น มากไปกกว่าการสนใจใบปริญญาบัตรหรือวุฒิการศึกษาเพียงอย่างเดียว
เรื่องของ New Collar Job ยังตอบโจทย์เทรนด์ของคนรุ่นใหม่ด้วย กับเรื่องของการเทคคอร์สออนไลน์เสริมทักษะเฉพาะตัวต่างๆ ที่หลายคนนิยมกันอย่างมากในตอนนี้ ซึ่งมีให้เรียนกันหลายแขนงหลายหลักสูตร ในแบบที่ไม่ต้องไปนั่งเรียนกันจริงๆ ในมหาวิทยาลัย ก็สามารถได้รับความรู้ เสริมทักษะ แถมยังได้ใบประกาศนียบัตรมาเป็นเครื่องยืนยันอีกด้วย จนทำให้หลายๆ ประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา มีเปอร์เซ็นต์คนเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาน้อยลงเรื่อยๆ
1
ดังที่กล่าวไปข้างต้นการเข้ามาของ AI และ Chat GPT ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ New Collar Job ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน เพราะการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด ทำให้นายจ้างอยากได้พนักงานที่มีทักษะเฉพาะตัวที่สามารถทำงานกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี จนบางคนเรียกกลุ่ม New Collar Job นี้ว่า กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี
📌 หลายบริษัทเริ่มไม่ใช้วุฒิการศึกษาในการรับคนเข้าทำงาน
คำว่า New Collar กลับมาเป็นที่พูดหลังจากมีรายงานว่าเริ่มมีบริษัทจำนวนมากที่เริ่มไม่ใช้วุฒิการศึกษาในการรับคนเข้าทำงานแล้วแต่จะเน้นไปที่ทักษะที่มีและเหมาะสมกับการทำงานมากกว่า
1
กระแสนี้ยังรับกับเทรนด์ที่คนรุ่นใหม่จำนวนมากเริ่มตั้งคำถามกับหลักสูตรการศึกษาในยุคปัจจุบันว่าวุฒิการศึกษาที่ได้มาจากการจ่ายค่าเล่าเรียนนั้นคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปหรือไม่ นั่นทำให้คนจำนวนมากอีกเช่นกันที่เลือกที่จะไปเทคคอร์สระยะสั้นที่เป็นทักษะเฉพาะทางมากขึ้น การฝึกอบรมแบบได้ทำจริงและได้ใบเซอร์รับรองทักษะแทนการเข้ามหาวิทยาลัย และนั่นทำให้ในหลายๆประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกามีจำนวนคนเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาลดน้อยลงเรื่อยๆ
1
นอกจากนี้ยังมีเหตุผลในเรื่องของพัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะในเวลานี้ที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกเทคโนโลยีอีกครั้ง นั่นทำให้นายจ้างต่างก็ต้องการลูกจ้างที่มีทักษะขึ้นสูงที่พร้อมทำงานกับเทคโนโลยีใหม่ๆเหล่านี้ เรื่องนี้สอดคล้องกับสถิติของ Statista
กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ประเทศไทย คนทำงาน 36% บอกว่าตนเองกำลังมองหางานใหม่อย่างจริงจังในช่วงปีนี้ ในขณะที่ 54% บอกว่าพร้อมเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ
1
📌 งานประเภทไหน จัดเป็น New Collar Job
กลุ่มงาน New Collar Job มีหลากหลายมาก ตัวอย่างเช่น
Pharmacy Technical ซึ่งเป็นตำแหน่งงานที่ต้องทำงานร่วมกับเภสัชกร ทำหน้าที่จัดการใบสั่งยา ใบสั่งจากแพทย์ ดูแลประวัติผู้ป่วย คลังยา ไปจนถึงงานธุรการ และงานบริการคนไข้ หรือ Diagnostic Medical Sonographer ที่เป็นคนที่ต้องทำงานกับแพทย์ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ คอยสแกนภาพ เก็บภาพอัลตราซาวน์ให้แพทย์อ่านผล โดยตำแหน่งนี้ต้องผ่านการอบรมเพื่อให้ได้รับใบประกาศนียบัตรก่อน ถึงจะเข้าทำงานได้
ตำแหน่ง Cloud Administrative หรือผู้ดูแลระบบคลาวด์ ถือเป็นสาขาที่กำลังขาดแคลนแรงงานในปัจจุบัน ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง google และ Microsoft ก็มีการเปิดอบรมเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ โดยผู้เข้าอบรมไม่จำเป็นต้องจบปริญญาตรี แต่ต้องมีพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง
📌 ตำแหน่งอื่นๆ ของ New Collar Job ที่น่าสนใจ
Cyber Security
Cloud administrator
Data Science
Computer Technicians
Database Administrator
Dental Assistant
Digital Marketer
Field Service Engineer
Graphic Designer
IT Support Specialist
Mortgage Loan Originator
Project Manager
Pharmacy technician
Social Media Assistant
Software Developer
Web Developer
3
📌 "นายจ้าง"จำเป็นต้องเรียนรู้เทรนด์ "New Collar Job"
เทรนด์ New Collar Job เป็นสิ่งที่มาแรงในสุดๆ ในตลาดแรงงาน ดังนั้นในฝั่งของนายจ้าง ผู้ประกอบการจึงต้องมีการปรับตัวและให้ความสนใจ เพราะถือเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับบริษัทในการได้รับพนักงานใหม่ๆ ที่มีทักษะเฉพาะตัวหรือมีความสามารถอัดแน่น เข้ามาร่วมงานด้วยและช่วยพัฒนาบริษัท แม้พวกเขาเหล่านั้นอาจจะไม่มีวุฒิการศึกษาหรือใบปริญญาก็ตาม เพราะสมัยนี้ความรู้สามารถหาเรียนกันได้อย่าวทั่วถึง ไม่จำเป็นต้องเรียนจากมหาวิทยาลัยเสมอไป
📌 โอกาสที่นายจ้างต้องปรับตัว
การเกิดขึ้นของกลุ่ม New Collar และกลุ่มอาชีพหรือตำแหน่งงานที่นายจ้างไม่ต้องใช้วุฒิการศึกษาหรือ New Collar Jobs เป็นสิ่งนายจ้างเองก็ต้องจับตามอง เพราะจะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะได้คนทำงานที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งงานที่ต้องการได้มากขึ้นโดยเฉพาะในปีนี้ที่ผลสำรวจพบว่ามีคนทำงานในประเทศไทย 36% บอกว่ากำลังมองหางานใหม่อย่างจริงจังและอีก 54% บอกว่าพร้อมเปิดรับโอกาสใหม่ๆที่จะเข้ามา
"เทรนด์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เห็นว่านายจ้างไม่ควรพึ่งพาเรื่องวุฒิการศึกษามากเกินไปแต่ควรที่จะต้องหากลไกในการสัมภาษณ์หรือแบบทดสอบหลากหลายสถานการณ์ในการวัดทักษะในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ได้คนที่มีทักษะตามตำแหน่งงานที่ต้องการมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะของการเป็นคนเรียนรู้เร็ว มี Critical Thinking และสามารถปรับตัวได้ดีเป็นต้น และเทรนด์นี้ยังเป็นโอกาสให้ผู้บริหารสามารถเน้นและนำไปสู่การสร้างองค์กรที่เน้นทักษะหรือ Skills-First Organization ขึ้นมาได้อีกด้วย"
📌 ทักษะที่คนทำงานควรมี
ก่อนที่จะมี AI เข้ามา หลายคนมักจะคิดว่าถ้ามีทักษะ Creativity, Interpersonal Skill, Communication Skill เพียง 3 สิ่งนี้ก็อยู่รอดได้ AI ไม่สามารถสู้เราได้ แต่นั่นเป็นเพียงความคิดของคนเมื่อ 5 ปีที่แล้วบอกไว้ แต่กลับกันในปัจจุบันการมีเพียง 3 ทักษะเหล่านี้อาจไม่เพียงพออีกต่อไป
4
จากการวิจัยของ McKinsey กล่าวว่า
📌 Soft Skills ที่ควรมีของคนทำงานสายเทค คือ
1.High Cognitive ต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญ เชี่ยวชาญในเรื่องของตัวเลข เพราะว่าต่อไปเราอาจจะต้องทำงานกับ Data เป็นหลัก
2.Social and Emotional มีทักษะในการเข้าสังคม มีทักษะในการใช้อารมณ์ ทักษะนี้เป็นทักษะที่จำเป็น เพราะว่าการทำงานต่อไปในอนาคตทุกอย่างจะเชื่อมต่อกันหมด ถ้าเราไม่มีทักษะการเข้าสังคมก็อาจจะทำให้ไม่รู้ถึงความก้าวหน้าของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกได้
3.Technological Skills หรือทักษะทางด้านเทคนิค ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามาเร็วมาก เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็น
📌 Hard Skill ที่สำคัญสำหรับคนทำงานสายเทค คือ
1.AI กับ Machine Learning ทักษะการใช้เทคโนโลยี หรือเครื่องมือ AI
2.Cyber Security หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์ ในอีก 5 ปีข้างหน้าทักษะนี้จะเป็นทักษะที่สำคัญและมาแรงมากในอนาคต
3.Cloud Computing คือบริการที่ให้ใช้หรือเช่าใช้บริการ Software และ Application ผ่านอินเทอร์เน็ต อุตสาหกรรมนี้จะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และใครที่มีทักษะนี้ติดตัวก็จะเป็นผู้ที่อยู่รอดจาก AI ได้ จนถึงปี 2030 อีกเช่นกัน
📌 วิธีการแก้ปัญหาของเด็กจบใหม่
 
ในฐานะของเด็กจบใหม่ อยากให้โฟกัสที่เรซูเม่ของเราเป็นอันดับแรกก่อน อย่าเพิ่งไปสนใจว่าเราจะสู้กับเทคโนโลยีได้อย่างไร หรือ AI จะแย่งงานเราไหม
อย่างแรกอยากให้รู้ก่อนว่าในวงการ HR มีเครื่องมือที่ชื่อว่า ATS หรือ Applicant Tracking System ในการตรวจจับเรซูเม่ บางคนจึงมีคำถามว่าทำไมส่งโปรไฟล์ดี ๆ ไปสมัครงานกี่ครั้งก็ยังไม่โดนเรียกสักที นั่นเป็นเพราะว่าในเซรูเม่ของเราอาจไม่มี Keyword สำคัญที่ระบบ ATS ต้องการ
2
สมมติว่ามีบริษัทเปิดรับสมัครพนักงาน เขาก็จะเขียนอยู่แล้วว่าเขาต้องการคนแบบไหน มีคุณสมบัติอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นคนที่ทำเรซูเม่เป็น จะรู้แล้วว่าเขาต้องเอา Keyword ที่องค์กรต้องการมาใส่ไว้ในเรซูเม่ของตัวเอง หลังจากนั้นระบบ ATS จะทำการสแกนเรซูเม่ แล้วระบบก็จะขึ้น Ranking ทันทีว่าใครมี Keyword แบบที่องค์กรต้องการ ถ้าหากว่าสมัครมา 100 คน มีเพียง 10 คนเท่านั้นที่มี Keyword ที่องค์กรต้องการ 10 คนนั้นก็จะถูกเรียกสัมภาษณ์
ส่วนคนที่เหลืออีก 90 คนก็จะหมดโอกาสในการเรียกสัมภาษณ์ทันที เพราะฉะนั้นต่อไปเวลาเขียนเรซูเม่เราต้องศึกษาด้วยว่า ระบบ ATS ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร หรือชอบฟอนต์แบบไหน รูปแบบการเขียนแบบไหน เพื่อให้เรามีโอกาสในการทำงานมากขึ้น
โฆษณา