Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นักเรียนหมอความ - Juris Doctor Student
•
ติดตาม
1 ก.ค. เวลา 08:15 • ข่าวรอบโลก
กฎหมายห้ามฟ้องบุพการี?
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 บัญญติไว้ว่า "ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้"
คดีที่ลูกฟ้องบุพการีเราเรียกว่า "คดีอุทลุม" ซึ่งบนโลกใบนี้ไม่มีประเทศไหนที่ห้ามฟ้องบุพการีอีกแล้ว มีเพียงที่ประเทศไทย ซึ่งหลักกฎหมายนี้วางหลักห้ามไม่ให้ลูกฟ้องบุพการีสืบสายโลหิตทั้ง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ขึ้นไปเลย หากจะฟ้อง ต้องให้อัยการฟ้องแทน แล้วอะไรคือเหตุผลของหลักกฎหมายนี้?
หลักกฎหมายที่เราใช้อยู่มันมีหลายที่มาครับ มีทั้งแบบที่เรารับมาจากประเทศอื่น และแบบที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิมครับ ซึ่งหลักกฎหมายนี้มันเป็นหลักกฎหมายดั้งเดิมที่เราไม่ได้รับมาจากประเทศไหนเลยครับ เป็นหลักกฎหมายของเราเอง เนื่องจากค่านิยมและวัฒนธรรมไทยที่ให้ความเคารพบุพการีอย่างมาก หลายคนโตมากับพ่อแม่ไม่ก็ปู่ย่าตายาย ต่างจากต่างประเทศที่พ่อแม่อยู่กับลูกแค่ตอนลูกยังเด็ก พอลูกโตก็แยกย้ายไปมีครอบครัวเป็นของตัวเองและห่างเหินกับพ่อแม่ครับ
เพราะฉะนั้น กฎหมายจึงมองว่าการที่จะให้ลูกฟ้องบุพการีผู้ที่มีบุญคุณกับเราเป็นอย่างมากอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควรนักครับ หากจะทำ ให้อัยการเป็นตัวแทนฟ้องให้จะดูโสภากว่า ในสมัยก่อนที่กฎหมายตราสามดวงยังบังคับใช้อยู่นี่นอกจากศาลจะไม่รับฟ้องแล้ว คนที่ฟ้องบุพการีตัวเองจะต้องโดนเฆี่ยนด้วยครับ พอมาสมัยนี้จึงมีการผ่อนปรนและอนุญาตให้มีการฟ้องร้องบุพการีได้แล้วโดยให้ผ่านทางอัยการ
เราจึงสรุปได้ว่า กฎหมายไม่ได้ห้ามไม่ให้ลูกฟ้องบุพการีนะครับ เพียงหากจะฟ้อง ต้องให้อัยการฟ้องให้เท่านั้น เนื่องจากหากให้ลูกขึ้นโรงขึ้นศาลมีคดีกับบุพการีตัวเองอาจจะเป็นสิ่งที่ดูไม่ดีเท่าไหร่ครับ
กฎหมาย
เรื่องเล่า
ข่าวรอบโลก
บันทึก
1
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย