7 ก.ค. 2024 เวลา 06:00 • ธุรกิจ

ซีเค เจิง: (อดีต) แบงเกอร์นิวยอร์ก ที่ลาออกมาเป็น ‘คนไร้เงินเดือน’ ในไทย

"คอลัมน์ The Thought Leaders ผู้นำทางความคิด" ชวนพูดคุยกับ ซีเค เจิง ผู้ก่อตั้งฟาสต์เวิร์ก สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มจ้างงานฟรีแลนซ์สัญชาติไทย เพื่อทำความเข้าใจวิธีคิด พื้นเพชีวิต และทัศนคติในการบริหารองค์กรแบบฉบับอดีตนายแบงก์จากนิวยอร์กที่ผันตัวมาเป็นเจ้าของกิจการ
ด้วยวิธีการพูดที่ฉะฉานและตรงเผงแบบฉบับหนุ่มลูกครึ่งไทย-จีนที่ไปเติบโตภายใต้วัฒนธรรมอเมริกัน ทำให้ “ซีเค เจิง” ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ ฟาสต์เวิร์ก สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มจ้างงานฟรีแลนซ์สัญชาติไทย เป็นที่พูดถึงอย่างมากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทั้งในมุมมองที่ชื่นชมในทัศนคติเชิงบวกและมุมที่เห็นต่าง
เพื่อทำความเข้าใจวิธีคิด พื้นเพชีวิต และทัศนคติในการบริหารองค์กรแบบฉบับอดีตนายแบงก์จากนิวยอร์กที่ผันตัวมาเป็นเจ้าของกิจการ วันนี้ "คอลัมน์ The Thought Leaders ผู้นำทางความคิด" ชวนซีเคมาพูดคุยในประเด็นดังกล่าวแบบเอ็กซ์คลูซีฟ เพื่อสัมผัส “ตัวตน” ของเขาให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
📌 จุดเริ่มต้นในการ ‘หาเงิน’
ซีเคเริ่มเล่าให้ฟังว่า ชีวิตในวันเด็กค่อนข้างเลือนรางแต่เริ่มจำเรื่องราวได้ชัดเจนมากขึ้นหลังจากที่พ่อแม่แยกทางกันตอนอายุได้ 13 ปี ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ถูกส่งไปอยู่กับโฮส แฟมิลี่ (Host Family) ที่สหรัฐอเมริกา และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาต้องหัดทำทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตด้วยตัวเอง ทั้งซักผ้า ล้างจาน ทำอาหาร รวมไปถึงการเริ่มต้นหารายได้ด้วยตัวเองในวันเพียงสิบกว่าขวบ
“ตอนนั้น อยากไปหาเพื่อน แต่โฮส แฟมิลี่ไม่พาผมไป เพราะเขามีหน้าที่แค่ไปรับไปส่งที่โรงเรียน ไม่ได้มีหน้าที่พาผมไปดูหนังหรือพาไปหาเพื่อน ดังนั้นถ้าผมอยากไป เขาไม่ห้าม แต่ต้องเรียกแท็กซี่ไปเอง ซึ่งก็ประมาณ 30 ดอลลาร์ต่อเที่ยว นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ผมต้องหาเงินเอง”
“ตอนนั้นผมหาเงินจากการรับจ้างพาสุนัขไปเดินเล่น ตัดหญ้าให้เพื่อนบ้าน หรือเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ผมจำได้ว่าผมผูกสุนัขสองตัวเข้ากับจักรยานแล้วพามันเดินเล่น ตอนนั้นผมได้เงินบ้านละ 20-30 ดอลลาร์ ในขณะที่เป็นพี่เลี้ยงเด็กรับน้อย อาจจะแค่ 1 บ้าน แต่ถ้าเขาใจดีก็ได้มากถึง 40 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง”
📌 อยากเป็น ‘แบงเกอร์’ ในนิวยอร์ก
เขานั่งคิดทบทวนชีวิตของตัวเองตลอดหลายปีที่ผ่านมาสักพักหนึ่ง ก่อนที่จะเล่าต่อว่า “หลายอย่างก็ไม่ได้คาดคิดว่าจะมาถึงจุดนี้ ตอนอยู่ที่อเมริกา คำว่าฟรีแลนซ์ (Freelance) ไม่เคยอยู่ในหัวเลย ตั้งแต่เด็กจนโตผมอยากเป็นแค่แบงเกอร์ เพราะตอนที่ผมอายุ 13 ตอนที่พ่อแม่บอกว่าผมต้องไปอเมริกา ผมนึกถึงแค่ฉากเดียวในหนังสไปเดอร์แมน (Spiderman) คือฉากของมหานครนิวยอร์ก (New York) แต่ในความเป็นจริง ผมไปอยู่แค่เมืองไอดาโฮ (Idaho) เมืองเกษตรกรของอเมริกา ซึ่งไม่ได้ใกล้เคียงนิวยอร์กเลย มีแต่วัว”
“ดังนั้นตั้งแต่เด็กก็เลยใฝ่ฝันว่าอยากไปนิวยอร์กซึ่งงานที่นั้นรับส่วนใหญ่ก็อยู่ในอุตสาหกรรมธนาคาร ผมเลยทำทุกอย่างเพื่อเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ ไม่เคยคิดเรื่องฟรีแลนซ์ ไม่เคยคิดเรื่องเริ่มธุรกิจเป็นของตัวเองเลย ผมเลยคิดว่าทุกอย่างที่มีในวันนี้เกินคาด”
3
อย่างไรก็ตาม หลังจากทำตามความฝันในการเป็นนายธนาคารได้สำเร็จในวันยี่สิบกว่า ทว่าซีเคเล่าให้ฟังว่า ชีวิตการทำงานจริงๆ กลับแตกต่างจากเสียงเรียกร้องในใจ “จุดเปลี่ยนของชีวิตผมคือลองทำและเกลียดครับ ลองทำแล้วไม่ชอบ เพราะว่าหน้าที่ของแบงเกอร์ หน้าที่ของที่ปรึกษาคือทำให้คนรวย รวยขึ้น ไม่ได้ทำให้คนชั้นกลางมีความมั่งคั่งมากขึ้น”
3
“ผมทำงานอยู่คอนเซ้าติ้ง กรุ๊ปหนึ่งในนิวยอร์ก งานของผมคือการตีมูลค่าบริษัทให้กับคนอื่น พอตีมูลค่าเสร็จแล้ว บริษัทเอ ซื้อบริษัทบีเรียบร้อยแล้ว เขาก็จะไล่พนักงานออกครึ่งบริษัท เพราะสิ่งที่เขาอยากได้จริงๆ คือแบรนด์ อยากได้องค์กร ไม่ได้อยากได้พนักงาน”
3
“ทั้งหมดเป็นเพราะคนรวยอยากได้สตอรี่ไปปั่นหุ้นต่อ แต่จริงๆ คนที่ซัฟเฟอร์คือคนชั้นกลาง ซึ่งมันคือหน้าที่ของผมเลย หน้าที่ในการทำให้พวกเขาซัฟเฟอร์ ตั้งแต่นั้นมาผมเลยคิดว่าจริงๆ สิ่งที่เกิดขึ้นใน นิวยอร์กมันคือการที่ทำให้คนรวยสามารถหาเงินได้มากขึ้น”
1
“กระบวนการของนิวยอร์ก กระบวนการของตลาดหุ้น มันไม่ได้ต้องการ Democratize Income (ทำให้ทุกคนมีเงินอย่างเท่าเทียมกัน) แต่มันคือทำให้คนมีเงิน รวยมากยิ่งขึ้น ผมก็เลยคิดว่า ไม่อยากจะเป็นเครื่องมือของคนรวย”
1
ซีเคย้ำให้ฟังว่า “ผมก็เรียนหนัก ผมทำงานหนัก ผมทำงานถึงตีสี่ตีห้า ผมเสียสละตั้งหลายสิ่ง ตั้งหลายอย่างในชีวิตเพื่อมาเป็นแค่เครื่องมือของคนรวย ก็เลยแอบสับสนในชีวิต ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของการตัดสินใจกลับมาประเทศไทย เพื่อสร้างอะไรที่เป็นของตัวเอง”
2
📌 ตั๋วเครื่องบินขาเดียวกลับมา ‘ประเทศไทย’
เมื่อถามต่อถึงเรื่องการตัดสินใจกลับมาประเทศไทย เขาเล่าด้วยใบหน้าเปื้อนน้ำตาว่า “ผมอยากขอบคุณตัวเองที่ตัดสินใจซื้อตั๋วเครื่องบินขาเดียวกลับไทย วันที่ผมยอมทิ้งทุกอย่างที่ผมสร้างมาที่อเมริกา ขอบคุณที่ผมมีความกล้าพอที่จะทำสิ่งนั้น จากคนที่มีเงินเดือนและชีวิตที่มั่นคง มาประเทศโลกที่สาม ประเทศที่ผมไม่มีเงินเดือนมาสองสามปีแล้ว แต่มันเป็นครั้งแรกที่ผมเปิดโอกาสให้ตัวเองให้ไม่ได้ทำงานเพื่อเงิน แต่ทำงานเพื่อตัวเองจริงๆ”
1
“ผมบ้ามากจริงๆ แต่ความบ้าเหล่านั้นก็ตามมาพร้อมอุปสรรคเยอะมาก พ่อแม่ผมกังวลจนโทรมาบอกว่า อย่ากลับมา อีกปีหนึ่งก็ได้สัญชาติอเมริกาแล้ว แต่สุดท้ายผมก็ทิ้งมัน คุณต้องเข้าใจตอนนั้น มันบ้ามาก สิ่งที่ผมทำ ถ้ามันย้อนกลับไป ไม่น่ามีใครกล้าทำ ผมไม่ได้มาด้วยเหตุผลนะ แต่มาเพราะสัญชาตญาณผมบอกแบบนั้น”
3
📌 ทำงานเก้าโมงเลิกห้าโมงเย็น (9-5) ไม่ใช่เรื่องผิด?
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงมุมมองต่อการทำงานประจำ อย่างการเข้างานเก้าโมงเช้าและเลิกงานห้าโมงเย็น ซีเคตอบทันทีว่า ทุกคนมีกระบวนการและหนทางของตัวเอง “ไม่ใช่ผมไม่เชื่อการทำงานแบบนี้นะครับ ผมว่าทุกคนมีกระบวนการของตัวเอง แต่คุณต้องรู้ก่อนว่าเป้าของคุณในระยะสั้นและระยะยาวคืออะไร วันนี้คุณทำงาน 9-5 เพื่ออะไร คุณต้องถามคำถามนี้นะครับ
1
ยกตัวอย่างเช่น ผมอาจจะทำเพื่อให้มีเงินเพียงพอในการสร้างธุรกิจ ผมต้องการเก็บเงินให้ถึงห้าแสน จะได้เริ่มธุรกิจเป็นร้านไอศกรีมเจลาโต้ที่ผมได้ไอเดียมาจากอิตาลี ทำงานเก็บเงินเพื่อปีที่ห้าจะได้ทำ แบบนี้ดี”
3
“แต่หลายคนทำงาน 9-5 แบบไม่มีเป้าหมาย ไม่รู้ทำเพื่ออะไร ไม่รู้ตื่นนอนเพื่ออะไร คุณรู้ไหมครับว่า ความรู้สึกนี้มันเหมือนอะไร มันเหมือนการขับรถแบบไม่มีเป้าหมายไหม ลองจินตนาการดูนะ น่ากลัวไหม ผมว่าน่ากลัวมากเลยนะ ไอ้เป้าที่เราตั้งไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบก็ได้ แต่ต้องมีเป้า เราต้องถามตัวเองว่า ที่เหนื่อยทุกวันไปเพื่ออะไร ตื่นเช้า ยอมรถติดสองชั่วโมงเพื่อเข้าทำงานเพื่ออะไร ไม่มีใครตอบแทนคุณได้ ผมตอบแทนคุณไม่ได้ คุณต้องตอบตัวเอง”
1
📌 หน้าที่ของผู้นำคือฟังให้มากและ ‘พูดคนสุดท้าย’
1
เมื่อถามถึงบทบาทของการเป็นซีอีโอฟาสต์เวิร์ก เขาอธิบายว่า “ถ้าคุณเป็นผู้นำ คุณต้องพูดคนสุดท้าย ต้องรับฟังมากกว่าพูด รับฟังเพื่อเข้าใจ ไม่ได้รับฟังเพื่อตอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก และผมพยายามฝึกตลอดเวลา หน้าที่ของผู้นำไม่ใช่คนที่เก่งที่สุดในองค์กร แต่คือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่คนที่เก่งที่สุดอยากมาอยู่กับเรา มาทำงานกับเรา ไม่ได้ทำงานให้เรา”
5
“ในองค์กรไม่สามารถมีคนเก่งแค่คนเดียวได้ เหมือนกับทีมฟุตบอล ไม่ใช่มีแค่โด้ (โรนัลโด) ก็สามารถเก่งได้ มันไม่เป็นอย่างนั้น เราต้องหาคนที่เก่งไม่เหมือนกัน เก่งในด้านที่เราไม่เก่ง แล้วทำงานด้วยกัน นี่คือฟันเฟืองสำคัญ”
3
โดยเขาทิ้งท้ายว่า “ในฐานะผู้นำ เราต้องสร้างสิ่งแวดล้อมให้คนที่เก่งอยากจะเข้าหาเรา อยากที่จะจอยเรา อยากที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงไปกับเรา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตำแหน่งซีอีโอไม่สำคัญ แต่ไอเดียที่ดีที่สุด มีคุณภาพที่สุด ต้องชนะ ไม่ใช่ไอเดียของซีอีโอ ไม่ใช่ไอเดียของผู้จัดการ แต่มันคือไอเดียที่ดีที่สุดต้องชนะให้ได้ เราต้องตามหาว่า What Is The Best Idea แล้วก็ Press Your Bet On The Best Idea ซึ่งไม่ง่าย เพราะเราต้องเอาอีโก้เราลงมา”
4
โฆษณา