2 ก.ค. เวลา 02:12 • ความคิดเห็น

ผ่านไปครึ่งปี เศรษฐกิจเป็นยังไง ?

ต้องยอมรับว่า ตอนนี้ เศรษฐกิจเราไม่ดีค่ะ
เศรษฐกิจเราโตต่ำมาก และมากกว่าคาด อย่างต่อเนื่อง !!!
 
ครึ่งปีเราโต ไม่ถึง 2% ตัวเลขที่เก็บมา อยู่ที่ราวๆ 1.6% ทั้งๆที่ปีนี้เราหวังกันไว้ที่ระดับ 3% ++
( ซึ่งอาจจะหมดหวัง )
แม้ไม่ต้องกางตัวเลข เคทก็เชื่อว่าหลายๆคนรับรู้ได้ เพราะเจอผลกระทบกันไปหมดแบบจุกๆ บางคนก็ไปต่อไม่ได้ ที่ไปได้ก็สภาพเหมือนผ่านสงครามโลกมา หรือ อาจกลายเป็นซอมบี้
มันเกิดอะไรขึ้น ......
สิ่งแรกที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ความล่าช้าของ การผ่านร่างงบประมาณ ทำให้เราชะงักไปพอสมควรจากการลงทุนของภาครัฐ และการเบิกจ่ายต่างๆ ซึ่งมีผลสำคัญต่อตัวเลข GDP
แต่...นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่เราไม่ได้ประเมินหรือรับรู้มาก่อน
สิ่งที่เคทมองปัญหาตอนนี้ก็คือ เราขาดความเชื่อมั่น (อย่างแรง)
ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ คือ สภาวะเงินฝืด ที่เกิดกับเศรษฐกิจ โดยเฉพาะระดับฐานล่าง ประชาชน ภาคครัวเรือน ตลอดรวมถึงภาคเอกชน ไม่กล้าใช้ตังค์ และ ไม่ค่อยมีตังค์
ไม่กล้าใช้ตังค์ > เพราะขาดความเชื่อมั่น
ไม่ค่อยมีตังค์ > เพราะรายได้และสินทรัพย์ในกระเป๋าลด
แน่นอนว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อเนื่อง มาจาก 5 เหตุหลัก คือ หนี้ครัวเรือน ดอกเบี้ยขาขึ้น ทุนขาวทุนเทาจากต่างชาติ การเมืองภายใน และ ปัญหาเรื้อรังจากสงครามที่ส่งผลกระทบด้านภูมิรัฐศาสตร์
แต่ที่ซ้ำร้ายที่สุด ยิ่งกว่าดาบ 2 ดาบ 3 คือ ภาคอสังหาชะลอตัวรุนแรง และภาคอุตรสาหกรรมที่เคยเป็นกำลังสำคัญของเรา อย่าง ภาคอุตรสาหกรรมยานตร์ และ ปิโตรเคมี อยู่ในช่วงถดถอย โดยเฉพาะ ยานยนตร์ เราเจอกับสภาวะเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีที่สำคัญ
1
ยอดการผลิตรถยนตร์ลดลง ยอดขายก็ลดลง
 
อย่างยอดผลิตขายกระบะ ที่เป็นตัวสะท้อนภาคการผลิต หดตัวลงรุนแรง ยอดผลิตลดระดับ 50% แน่นอนว่า EV โตขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนได้ เข้าใจว่ามูลค่าการส่งออกของอุตรสาหกรรมยานยนตร์เราอยู่ที่ ล้านล้าน หรือ ราว 7% ของ GDP (ถ้าตัวเลขผิด แจ้งได้นะคะ)
ต้องบอกตามตรงว่า อันตรายมากค่ะ
เพราะนี่คือ 1 ในอุตรสาหกรรมที่เราพึ่งพิงหลัก
อธิบายให้เห็นภาพชัดๆ สมมุติ อุตรสาหกรรมรถยนตร์ มีมูลค่ารวม ราว 2 ล้านๆ
ยอดมูลค่าหายไป 25% เท่ากับ เงินหายไปจากระบบ 5 แสนล้าน !!!
กระทบไปหมด แม้แต่คนที่ถือครอง สินทรัพย์ รถยนตร์ ราคาก็ตกลง 30% ภาวะนี้ หน้ามืดค่ะ คุณจะผ่องถ่ายสินทรัพย์แปรเป็นเงิน ก็ลำบากค่ะ จนลงแบบทำไรไม่ได้
แล้ว อนาคตเราแข่งขันได้ไหม ?
เหมือนจะช้าไปมากเลยค่ะ แบบต้องลุ้นหนักมาก
เช่น เรื่องของ economy of scale (ต้นทุนต่อการผลิต) ที่เราไม่สามารถสู้จีนได้เลย
อุตรสาหกรรมยานยนตร์เราอิงกับญี่ปุ่นแบบเต็มขั้น เราต้องพึ่งญี่ปุ่นหายใจ ซึ่งตอนนี้ญี่ปุ่นเองก็ ล่อแล่ ค่ะ (ความหวังเราต้องลุ้นให้ ญี่ปุ่นกลับมาเป็นผู้นำตลาดอีกครั้ง)
แถมอนาคตก็ยังไม่รู้ว่า พวกชิ้นส่วนเขาจะยังซื้อกับเราไหม เพราะอย่างที่บอก ต้นทุนสินค้าจากจีน ราคาต่ำมาก เราแข่งขันไม่ได้
หลายๆคนอาจเคยมองว่า ในอนาคต ต้นทุนจีน ย่อมสูงขึ้น เพราะการเติบโตของแรงงานเริ่มถดถอย
แต่....เขาแก้ปัญหาตรงนี้ไว้นานแล้ว โดยการพัฒนา เครื่องจักร และกลไก รวมถึง ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งประเทศแนวหน้าเขาขยับไปหลายก้าวแล้วค่ะ
คนที่เคยมองว่า อีกนานกว่า เครื่องจักรจะแทนคน เคท
บอกเลยว่า มันจะมาไวกว่าที่คิด และถึงตอนนั้น เชื่อว่าเราต้องออกเป็นกฏหมายให้ช่วยพยุงแรงงานคนในระบบเลยแหล่ะ
แล้วตอนนี้เรามีทางทำอะไรได้บ้าง
เพื่อให้เกิดกระตุ้นเศรษฐกิจ มันก็ต้องกลับมาคุยกันเรื่องเดิมๆ เกี่ยวกับ นโยบาย การเงินการคลัง
เรื่อง ดอกเบี้ย เรื่องสินเชื่อ เรื่องการกู้ยืม
ยังไงในระบบเศรษฐกิจ ดอกเบี้ยมันมีผลโดยนัยสำคัญอยู่แล้ว
(ใครสนใจเรื่องนี้เพิ่มเติม อยากเข้าใจมากขึ้น เดี๋ยวแปะลิ้งค์เพิ่มเติมให้นะคะ)
อย่างตอนนี้ เรายังอยู่ในภาวะดอกเบี้ยสูง
ดอกเบี้ย เพิ่ม คือ หนี้เพิ่มนะ
หนี้เพิ่ม ภาระเพิ่ม คุณจะไม่สามารถแบ่งผลประกอบการย้อนคืนกลับมาในระบบเศรษฐกิจได้เลย เช่น พนักงานไม่ได้ขึ้นเงินเดือน เงินไม่ขึ้น ส่งผลให้กำลังจับจ่ายลดลง เงินไม่ถูกส่งออกไปจากกระเป๋าพ่อค้า แม่ค้า หรือ ระบบเศรษฐกิจ
แถมดอกเบี้ยสูง ไม่ใช่แค่ว่า เราจะจ่ายแค่ดอกแพงนะคะ แต่...ในความเป็นจริงที่เกิดคือ แบงค์ไม่ค่อยอยากปล่อยสินเชื่อค่ะ เพราะเขาได้ดอกเยอะอยู่แล้วไงคะ มันเลยทำให้ระบบฝืด ( ปีนี้ยอดรีเจกต์เรต สูงมาก และลามในวงกว้างทุกระดับ ) แต่ถ้าดอกลดเนี่ย เขาก็ต้องพยายามปล่อยดอก ปล่อยสินเชื่อ
ดอกเบี้ยสูง มันก็ไปกดให้เงินเฟ้อต่ำ ซึ่งก็เข้าใจได้ แต่ถ้า พอเงินเฟ้อมันต่ำกว่าเป้าหมายมากเกินไป มันก็จะเกิดภาวะเงินฝืด
เราจะเห็นแม่ค้าพ่อค้า บ่นกันระงมเลยใช่ไหมคะ
ส่วนหนึ่งก็ เพราะว่า.....
 
เงินฝืด เวลาคุณขายสินค้า มันเข้าทาง คนถือเงิน(ส่วนน้อย) มันไปกดให้คนในระบบส่วนมาก ต้องลดราคาสินค้า ยิ่งแข่งขันไม่ได้(อันนี้สำคัญสุด) กำไรคุณน้อยอยู่แล้ว ก็ยิ่งน้อยลงไปอีก คุณเห็นโฟลว์ที่มัน หายไปรึยัง ?
คำถามที่สำคัญคือ เงินเฟ้อมันอยู่ในระดับไหน สอดคล้องไหม ?
เงินฝืดดีกว่า เงินเฟ้อ รึไม่ อันนี้ต้องดูบริบทตามสภาวะการณ์
แต่ข้อดีของ เงินเฟ้อ ไม่ใช่ไม่มี สิ่งแรก และสิ่งสำคัญคือ มูลค่าหนี้สินจะต่ำลงเมื่อ X กับเวลา
เคทจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายที่สุด คือ การซื้อบ้าน ถ้าในระบบเงินเฟ้อต่ำ เข้าไปสู่เงินฝืด คุณจะต้องผ่อน 30ปี โดยไม่มีเงินเก็บ เพราะรายได้คุณไม่ขึ้น นึกออกไหมคะ เพราะคุณเงินเดือนคงที่ มูลค่าหนี้ไม่ได้ด้อยลง แต่ ในขณะเดียวกัน มูลค่าสินทรัพย์ก็ยังถูกกดด้วย เงินฝืดอยู่ดี
เงินเฟ้อ เงินฝืด มันจึงมีทั้งข้อดีข้อเสีย เราถึงต้องเลือกไง ระบบการเงิน ระบบเศรษฐกิจ มันคือ การเลือก เลือกผลักดันให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่เราต้องการ
ดังนั้นเราต้องเข้าใจระบบเศรษฐกิจในภาพใหญ่ ระบบการเงิน ระบบเครดิตจริงๆนะคะ
มันมีข้อคิดเห็นที่แตกต่างเสมอ
ว่าเราจะเลือก ลดค่าครองชีพ หรือ เพิ่ม GDP เพื่อให้ตัวหนี้มันลด
ลดค่าครองชีพ ก็ดี อาจทำให้เราเงินเหลือ แต่ ก็ต้องแลกมาด้วยการลดการจัดเก็บเงินเข้าคลัง ซึ่งมีผลในการลดศักยภาพของการพัฒนา พอพัฒนาไม่ได้ พัฒนาช้า มันก็ตามมาด้วยการแข่งขันไม่ได้
ถ้าจะเพิ่ม GDP เพื่อให้เกิดโฟลว์รอบใหม่ในระบบได้ ก็ต้องมาจาก การเกิดกิจกรรมทางเศรษบกิจขนาดใหญ่ หรือ เกิดการนำเข้าเม็ดเงินขนาดใหญ่เข้าสู่ระบบ ตอนนั้น ระบบเครดิตจะสตาร์ท จะทำงานรอบใหม่ ภาวะนี้จะถูกสะท้อนล่วงหน้าผ่านตลาดหุ้น
แต่....เราก็ต้องเข้าใจและยอมรับกันก่อนว่า ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ๆ หรือ เงินใหม่ๆต่างๆนั้นที่เข้ามาในระบบ ล้วนมีความเสี่ยงทั้งนั้น ไม่มีอะไรการันตรีได้ ว่ามันจะเวิร์ค หรือจะยั่งยืน ต่อให้มันเวิร์ค แต่สิ่งที่เราต้องเข้าใจก็คือ ทุกอย่างก็มีวงรอบของมันค่ะ มีวัฏจักร ก็ขึ้นกับว่าจะรักษามันได้นานไหม อย่าลืมว่า เราอยู่ในระบบทุนนิยม ที่มันออกแบบมาให้เราเป็นผู้เล่นตามเกมของระบบอยู่แล้ว
ในการผลักดันโครงสร้าง เคทยังมองว่า มันก็มีตัวเลือกที่ เราควรผลักดันในอุตรสาหกรรมที่เรายังแข่งขันได้ เช่น สุขภาพรวมถึงความงาม ธุรกิจบันเทิง ท่องเที่ยวการบริการ อาหารและเครื่องดื่ม พวกนี้เรายังอยู่ในตำแหน่งที่ดี
ส่วน พวกที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อย่างอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า พวกนี้ต้องยอมรับว่า แข่งเดือดและเราตามเขายากมากค่ะ
วัตถุดิบ ก็สู้แทบไม่ได้ ทรัพยากรมนุษย์ ก็สู้ไม่ไหว การศึกษารั้งท้ายแบบนี้ เหนื่อยค่ะ
ถ้าต้องเลือกสักอย่าง ที่ระยะยาวๆ หลังจากตกผลึก
นอกจากเรื่องการพัฒนาการศึกษา เคทกลับมองถึงภาคการเกษตร ที่เป็นหัวใจหลัก เคทว่าเราสู้ได้ อนาคตมูลค่าสินค้าเกษตรมีแนวโน้มแต่จะสูงขึ้น จากผลกระทบของเอลนีโญ ลานีญา
แต่...เราไม่เคยพัฒนาให้เกิดศักยภาพ หรือ เราพัฒนาช้ามาก ที่ผ่านมาเราเน้นเฉพาะหน้าระยะสั้นมากไป เน้นอุดหนุนราคา มากกว่าพัฒนาผลผลิต ทั้งที่ต้นทุนทรัพยากรเราดี แต่เราผลิตได้น้อยกว่าในจำนวนคนที่เท่ากัน โดยใช้ทรัพยากรต่างๆเยอะกว่า ตรงนี้เป็นจุดอ่อน ต้องมีเทคโนโลยี อุดหนุนเทคโนโลยีและองค์ความรู้แบบบูรณาการให้ได้
พอมาถึงตรงนี้ เราก็เหมือนพูดกันเรื่องเดิมๆใช่ไหมคะ ก็แบบนั้นแหล่ะค่ะ
เพื่อนๆพี่ๆ มีความคิดเห็นอย่างไร แชร์แลกเปลี่ยนกันได้นะคะ
มิ้วติ้ววนไป
โฆษณา