2 ก.ค. เวลา 10:45 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ย้อนรอย วิกฤตต้มยำกุ้ง 27 ปี ฟองสบู่แตก ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท

ย้อนไป 27 ปีก่อนหน้านี้ 2 ก.ค. ในปี 2540 ประเทศไทยเจอกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือที่เรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง และลุกลามไปในภูมิภาคอาเซียนและอีกหลายประเทศในเอเชียจนเป็นวิกฤตทางการเงินในที่สุด
ย้อนไป 27 ปีก่อนหน้านี้ 2 ก.ค. ในปี 2540 ประเทศไทยเจอกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือที่เรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นวันที่มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท และต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) นับเป็นวิกฤตเศรษฐกิจที่สร้างความเสียหายและผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมาก และลุกลามไปในภูมิภาคอาเซียนและอีกหลายประเทศในเอเชียจนเป็นวิกฤตทางการเงินในที่สุด
วิกฤตต้มยำกุ้ง
สาเหตุของวิกฤต
สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจที่นำไปสู่การประกาศยกเลิกอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ และปล่อยค่าเงินบาทลอยตัวในปี 2540 มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง
ตั้งแต่ปี 2530-2539 คือ ช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจนทำในช่วงก่อนวิกฤตตัวเลขขาดดุลสูงถึง 14,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกที่หดตัวลงอย่างรุนแรงในปี 2539
(ในปี 2539 การส่งออกขยายตัวเพียงแค่ 1.9% เท่านั้น จากที่เคยขยายตัวสูงถึง 24.82% ในปีก่อนหน้า และเป็นการหดตัวอย่างรุนแรงครั้งแรก ตั้งแต่ประเทศไทยปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตเพื่อการส่งออกตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 2510)
ปัญหาหนี้ต่างประเทศ
ช่วงปี 2532-2537 ประเทศไทยเปิดเสรีทางการเงินทำให้สามารถพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศได้สะดวก โดยไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากค่าเงินกำหนดไว้ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ผู้กู้ยืมสามารถยืมเงินและคืนเงินกู้ในสกุลเงินตราต่างประเทศได้ในอัตราดังกล่าว ซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศไทยประกาศรับพันธะสัญญาข้อที่ 8 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศในปี 2533
เพื่อเปิดระบบการเงินของประเทศไทยสู่สากล และในเดือนเมษายน 2534 ประกาศผ่อนคลายการปริวรรตเงินตราต่างประเทศ ในที่สุดเดือนกันยายน 2535 รัฐบาลอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจไทย (Bangkok International Banking Facilities : BIBF)
ต่อมามีธนาคารพาณิชย์ 46 แห่งได้รับมอบใบอนุญาตให้ดำเนินการได้เมื่อเดือนมีนาคม 2536 ทำให้เกิดการขยายตัวของระบบการเงินของประเทศที่ส่งผลต่อการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) ขึ้นมากในสถาบันการเงินและการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศเพื่อปล่อยกู้ให้กับธุรกิจในเมืองไทย ณ ปลายปี 2540 หนี้ต่างประเทศของไทยปรับเพิ่มขึ้นสูงถึง 109,276 ล้านดอลลาร์ สรอ.
โดยเฉพาะหนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่มีสัดส่วนถึง 65% ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด และสัดส่วนเงินสำรองต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ในระดับต่ำเพียง 70.40% ขณะที่สถาบันการเงินส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีการบริหารความเสี่ยงต่ออัตราแลกเปลี่ยน
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTV บันเทิง : https://www.facebook.com/PPTVHD36Entertainment
โฆษณา