Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PURE59
•
ติดตาม
2 ก.ค. เวลา 06:59 • การเกษตร
แหนแดง พืชน้ำมหัศจรรย์ ธาตุอาหารพืชและอาหารสัตว์ ช่วยลดต้นทุน ให้ผลผลิตสูง
แหนแดง เป็นพืชตระกูลเฟิร์น เจริญเติบโตบนผิวน้ำ เลี้ยงได้ในบ่อตื้น หากปล่อยลงบ่อในฤดูฝนจะใช้เวลาเติบโตเต็มบ่อ 5 ตารางเมตร ในระยะเวลาเพียง 10-15 วันเท่านั้น
แหนแดง มีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ ประมาณ 7 สายพันธุ์ แต่ที่เหมาะสำหรับประเทศไทยมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์อะซอลล่า พินนาต้า (Azolla pinnata) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมในประเทศไทย กับสายพันธุ์อะซอลล่า ไมโครฟิลล่า (Azolla microphylla) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรนำเข้ามาเพื่อคัดพันธุ์ แล้วแต่ละสายพันธุ์แตกต่างกันอย่างไร ไปดูกันเลย...
สายพันธุ์อะซอลล่า พินนาต้า (Azolla pinnata)
●
สายพันธุ์ท้องถิ่น
●
มีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน อินเดีย และออสเตรเลีย
●
ลักษณะ ใบบนและล่างมีขนาดใกล้เคียงกัน ใบล่างค่อนข้างโปร่งใส มีคลอโรฟิลล์น้อยมาก ใบบนเป็นสีเขียวมีคลอโรฟิลล์
สายพันธุ์ไมโครฟิลล่า (Azolla microphylla)
●
ปรับปรุงพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร
●
มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่บริเวณเขตร้อนของอเมริกา และหมู่เกาะเวสต์อินดีส
●
ลักษณะ ใบบนด้านหลังมีโพรงใบ และมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง
●
จุดเด่น มีขนาดใหญ่ เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ตรึงไนโตรเจนได้มากกว่าสายพันธุ์ท้องถิ่น และให้ผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์พื้นเมืองถึง 10 เท่า
อุปกรณ์ในการเพาะเลี้ยง
1. บ่อซีเมนต์ขนาด 80 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร เจาะรูเหนือก้นบ่อ 15 เซนติเมตร
2. ดินนา หรือดินเหนียว
3. ปุ๋ยคอก 1 กิโลกรัม
4. แม่พันธุ์แหนแดง 50 กรัม
การเพาะเลี้ยง
1. ใส่ดินนา หรือดินเหนียว สูงจากก้นบ่อ 10 เซนติเมตร
2. เติมปุ๋ยคอก 1 กิโลกรัม
3. เติมน้ำให้สูงจากระดับดิน 10 เซนติเมตร
4. ใส่แหนแดงลงในบ่อแม่พันธุ์ 50 กรัม
ระยะเวลาในการเพาะเลี้ยง
บ่อแม่พันธุ์ : หลัง 14 วัน แหนแดงจะเจริญเต็มบ่อ สามารถนำไปขยายต่อได้
บ่อขยาย : นำแหนแดงจากบ่อแม่พันธุ์ไปเลี้ยงในบ่อขยายประมาณ 3-4 สัปดาห์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การเลี้ยงแหนแดง 1 ไร่จะได้ผลผลิตมากถึง 3,000 กิโลกรัม ซึ่งแหนแดงแห้ง 1 กิโลกรัมใช้ในพื้นที่ปลูกได้ 2 ตารางเมตร และที่สำคัญธาตุอาหารที่ได้จากแหนแดงแห้ง 6 กิโลกรัม เทียบเท่ากับที่ได้จากปุ๋ยยูเรียประมาณ 10-12 กิโลกรัมเลยทีเดียว
ใช้แหนแดงแห้งในการปลูกผัก ใช้อัตราส่วน 20 กรัมต่อวัสดุเพาะ 1 กิโลกรัม นอกจากนี้ ยังใช้แหนแดงเป็นอาหารสัตว์ได้ด้วย สามารถผลิตเองได้ในครัวเรือน ต้นทุนน้อย ได้ผลผลิตเร็วและดี เมื่อแหนแดงย่อยสลายก็จะเริ่มปลดปล่อยไนโตรเจนออกมา
💡ประโยชน์ของตัวแหนแดงที่โดดเด่น คือ ไนโตรเจนค่อนข้างสูง เหมาะกับพืชทานใบทุกชนิด เช่น คะน้า ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง เป็นต้น โดยไม่ต้องใส่มูลสัตว์เพิ่มเติมหรือจะช้อนแหนเพื่อตากแห้งเก็บไว้ใช้ หรือ นำไปผสมดินปลูก ดินเพาะกล้าได้ผลที่ดี
ผสมดินปลูก ช่วยลดต้นทุนปุ๋ยไนโตรเจน และธาตุอาหารชนิดอื่น เช่น โพแทสเซียมได้
สามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์ได้ เพราะมีแหล่งโปรตีนสูงถึง 30% นำมาเลี้ยงเป็ด ไก่ จิ้งหรีด และปลาได้
ลดการเจริญเติบโตของวัชพืชในนาข้าว
มีไนโตรเจนมากกว่าพืชตระกูลถั่ว แหนแดงมีไนโตรเจนสูงถึง 4.6% ซึ่งพืชตระกูลถั่วมีอยู่ประมาณ 3%
ต้นทุนต่ำ แต่ให้ผลผลิตสูง โดยเฉพาะพันธุ์ไมโครฟิลล่าที่ให้ผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์พื้นเมืองถึง 10 เท่า
ใช้ได้ทันที ไม่ต้องทำเป็นปุ๋ยหมัก เพราะมีคาร์บอนต่อไนโตรเจนต่ำ จึงย่อยสลายเป็นธาตุอาหารได้เร็ว
การลงทุน
เศรษฐกิจ
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย