10 ก.ค. เวลา 00:00 • หนังสือ

เกลียดงาน แต่ไม่กล้าเปลี่ยนงาน

มนุษย์จำนวนนับพันล้านคนในโลกไม่กล้าเปลี่ยนงาน ทนทำงานเก่าไปด้วยสองเหตุผลหลัก หนึ่ง กลัวล้มเหลว สอง เสียดายความรู้ที่เรียนมา
1
จุดน่ากลัวที่ทำให้หลายคนไม่กล้าเปลี่ยนงานคือ มีภาระทางครอบครัว เช่น มีลูกเมียต้องรับผิดชอบ หากเปลี่ยนงานแล้วไม่สำเร็จ ครอบครัวอาจเดือดร้อน ทำให้หลายคนไม่กล้าเสี่ยง
3
ความกลัวความล้มเหลวเป็นด่านใหญ่ที่สุด และมักลงท้ายด้วยการจมอยู่ที่เดิม อาจหาเหตุผลมารองรับการอยู่ที่เดิมว่า “ทำงานที่ไหนก็เหมือนกัน”
นี่ไม่ใช่เรื่องผิดหรือถูก สัญชาตญาณแสวงหาความปลอดภัยฝังในยีนของทุกคน รอบคอบไว้ก่อนเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ต้องระวังอย่าข้ามจากความรอบคอบเป็นความกลัวความล้มเหลวมากเกินไป จนขยับตัวไม่ได้
อย่างไรก็ตาม คนที่ไม่กล้าเปลี่ยนงานเพราะกลัวล้มเหลวนั้น อาจต้องทำความเข้าใจคำว่า ‘ล้มเหลว’ ใหม่
งานทุกงานมีความเสี่ยงทั้งนั้น ต่อให้บริษัทมั่นคงเพียงไร ก็มีความเสี่ยง
ทุกธุรกิจมีความเสี่ยง มากหรือน้อยเท่านั้น ทุกคนจึงควรรู้จักประเมินความเสี่ยงเป็นระยะ ๆ แม้จะทำงานในองค์กรมั่นคงหรือดำรงตำแหน่งสูงเพียงไร
ตำแหน่งที่ได้มาถูกขอคืนได้ทุกเมื่อเสมอ แม้แต่ตำแหน่งซีอีโอต่อให้ธุรกิจไปได้ดีเยี่ยม วันหนึ่งเมื่อตื่นเช้า ก็อาจพบว่าฟ้าถล่มลงมาแล้ว วิกฤติเศรษฐกิจบ้านเราในปี พ.ศ. 2540 เป็นตัวอย่างว่า ฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ง่ายกว่าที่คิด
ในชั่วพริบตา สิ่งที่มั่นคงที่สุดกลายเป็นความไม่มั่นคง
คนที่คิดจะเริ่มธุรกิจใหม่ หรือเริ่มต้นทางสายใหม่ที่ไม่เคยทำ ย่อมรู้สึกหวาดเสียว เพราะจากสถิติ ธุรกิจเปิดใหม่กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าวางแผนดี รอบคอบ ก็ลดความเสี่ยงลง
ส่วนการไม่กล้าเปลี่ยนงานเพราะเสียดายความรู้ที่เรียนมา เป็นกับดักใหญ่ของคนจำนวนมากเช่นกัน เรียนจบวิศวกรรมศาสตร์มาก็ไม่กล้าเปลี่ยนไปเป็นหมอ เรียนหมอมาก็ไม่กล้าเปลี่ยนเป็นนักร้อง ฯลฯ
บ่อยครั้งแรงกดดันมาจากครอบครัวหรือเพื่อน เช่น บอกที่บ้านว่าจะเปลี่ยนอาชีพเป็นคนละสาย ก็อาจได้รับคำตอบว่า “เปลี่ยนทำไม อาชีพนี้ก็ดีอยู่แล้ว” หรือ “เสียดายวิชาความรู้ที่เรียนมาหลายปี” หรือ “เสียของ” โดยเฉพาะเมื่ออาชีพนั้นกำลังให้รายได้ดี
แต่ชีวิตคือความเปลี่ยนแปลงและความเปลี่ยนแปลงเป็นองค์ประกอบของชีวิต
2
‘ความล้มเหลว’ ไม่ได้หมายถึงรายได้น้อยลง เพราะหากมีความสุขกับการทำงาน ก็คือความสำเร็จแล้ว
คนเราควรแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ตลอดเวลา และถ้าเราสนุกกับความรู้ใหม่ ๆ นั้นจนอยากใช้มันประกอบอาชีพ ก็ย่อมดีกว่าทนทำงานเดิมที่ตัวเองไม่ค่อยชอบไปจนตาย
2
ประเด็นจึงไม่ใช่เสียดายความรู้ แต่คือเราอยากเปลี่ยนแปลงจริงหรือเปล่า อยากเดินตามฝันมากพอหรือเปล่า
1
คนจำนวนมากไม่ได้เกิดในทางสายใหม่ ก็เพราะอยากไม่มากพอ
2
แต่นี่ไม่ใช่เรื่องผิดหรือถูกเช่นกัน มันเป็นแค่การเลือกของเรา
ท่อนหนึ่งจาก กอดหนาม / วินทร์ เลียววาริณ
โปรโมชั่นพิเศษ ซื้อทางเว็บ https://www.winbookclub.com/.../%28S11%29%20%E0%B8%81%E0...
โฆษณา