Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TOPIC Recent Thailand
•
ติดตาม
4 ก.ค. เวลา 00:38 • ประวัติศาสตร์
กรุงเทพมหานคร
4 ก.ค.ย้อนไป 180 ปี วันประวัติศาสตร์วงการสื่อสารมวลชนไทย นสพ.แบบตะวันตกฉบับแรกของไทย
ย้อนเหตุการณ์ไปเมื่อ 180 ปี ที่แล้ว ( 4 ก.ค.2387) เป็นวันที่มีการวางจำหน่ายหนังสือพิมพ์แบบตะวันตกฉบับแรกของไทย ในรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีชื่อว่า “บางกอกรีกอเดอ”
บางกอกรีกอเดอ (The Bangkok Recorder ทับศัพท์แบบปัจจุบัน บางกอกรีคอร์เดอร์) หรือชื่อไทย หนังสือจดหมายเหตุ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยเล่มแรก ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2387-2388 และอีกครั้งระหว่างปี พ.ศ. 2407-2411 เขียนและพิมพ์โดยหมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน ในระยะแรกเริ่มออกฉบับรายเดือน ต่อมาเปลี่ยนเป็นรายปักษ์หรือรายครึ่งเดือน ฉบับแรกเผยแพร่ครั้งแรกตรงกับวันชาติสหรัฐอเมริกา 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387
ก่อนหน้าที่จะมีบางกอกรีกอเดอ บาทหลวงกลุ่มหนึ่งเคยจัดตั้งโรงพิมพ์แถววัดซานตาครูส ตำบลกุฎีจีน ฝั่งธนบุรี และพิมพ์หนังสือชื่อว่า KH M-SÓN CHRISTANG (สะกดด้วยอักษรโรมันแต่อ่านออกเสียงเป็นภาษาไทยว่า คำสอนคริสตัง) ใน พ.ศ. 2339 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่เวลานั้นยังไม่มีการพิมพ์อักษรไทยขึ้น
หมอบรัดเลย์ ได้กราบทูลขอพระบรมราชานุญาตกับ รัชกาลที่ 3 เมื่อบรรดาอำมาตย์มุขมนตรีให้การสนับสนุนแล้ว จึงได้ออกหนังสือพิมพ์ขึ้น สำนักพิมพ์ของบางกอกรีคอร์เดอร์ ตั้งอยู่ที่บ้านของกลุ่มมิชชันนารีอเมริกัน ที่หน้าวัดเจ้าคุณพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ริมคลองหน้าวัดประยุรวงศ์ฯ หนังสือพิมพ์ซึ่งถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ ยังไม่มีใครรู้จัก จนบางคนคิดว่า มันเป็นเพียงจดหมายเหตุธรรมดา ถึงกับมีคนเรียกว่า จดหมายเหตุอย่างสั้น แต่ออกพิมพ์ได้ปีเดียวก็เลิกไป เพราะรัฐบาลไม่สนับสนุน
อันเนื่องมาจากการทำหนังสือพิมพ์แบบอเมริกัน ที่มีรูปแบบวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แต่เนื่องจากผู้อ่านหนังสือพิมพ์ก็คือรัฐบาลนั่นเอง และเมื่อประสบปัญหาจากรัฐบาล ประกอบกับหมอมีปัญหาส่วนตัวเกี่ยวกับการจัดระบบเผยแพร่คริสต์ศาสนาในเมืองไทยและปัญหาครอบครัว จึงเลิกออกหนังสือพิมพ์ไประยะหนึ่ง
ต่อมาใน สมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงเปิดกว้างต่อการเข้ามาของอารยธรรมตะวันตกมากขึ้น ทั้งยังทรงเคยเป็นสมาชิก บางกอกรีกอเดอ มาก่อน และเมื่อหมอบรัดเลย์ออกหนังสือพิมพ์อีก ก็ทรงบอกรับเป็นสมาชิกอีก ครั้นได้พบว่าหมอบรัดเลย์เขียนบทความโจมตีพุทธศาสนาก็ทรงเขียนบทความตอบโต้ โดยมิทรงลงพระมหาปรมาภิไธย แต่คนทั่วไปก็ทราบดีกว่าบทความเหล่านั้นคือใคร
แต่เนื่องจากหมอบรัดเลย์ยกศาสนาของตนและประเทศของตนข่มคนไทย จึงก่อให้เกิดความไม่พอใจกับคนไทยอย่างกว้างขวาง จึงทำให้การบอกรับสมาชิกไม่เพิ่มขึ้นทั้งสมาชิกเดิมก็ไม่จ่ายเงิน จึงยากที่จะยืนหยัดในสถานการณ์เช่นนี้
หมอบรัดเลย์ประกาศเลิกพิมพ์หนังสือพิมพ์บางกอกรีกอเดอ ไว้ในเล่มที่ 2 ใบที่ 24 (วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410) โดยให้เหตุผลว่า เพราะขาดทุนและรัฐบาลไทยไม่สนับสนุนอย่างแต่ก่อน
หลังจากนั้น ก็มีหนังสือพิมพ์ออกมาอีกหลายฉบับ ทั้งรายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายปี อาทิ บางกอกคาเลนดาร์ ต่อมาพัฒนาเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน เช่น บางกอก เดลี่ แอดเวอไทเซอ (อังกฤษ: Bangkok Daily Advertiser) และ สยาม เดลี่ แอดเวอไทเซอ (อังกฤษ: Siam Daily Advertiser)
ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นผู้จัดทำ หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ชื่อ ราชกิจจานุเบกษา เพื่อชี้แจงข่าวคลาดเคลื่อน ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ และเพื่อแจ้งข่าวการบริหารพระราชภารกิจทางการเมือง
1
ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก ที่เผยแพร่สู่ประชาชน ชื่อ ดรุโณวาท และมีหนังสือพิมพ์ที่ยอดจำหน่ายสูงมาก จนกระทั่งต้องมีระบบจัดส่งหนังสือ ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของกิจการไปรษณีย์ไทย คือ ข่าวราชการ (อังกฤษ: Court - ค็อต) ในยุคนี้ วงการหนังสือพิมพ์ตื่นตัวมาก โดยมีการออกหนังสือพิมพ์ถึง 59 ฉบับ
1
สมัยรัชกาลที่ 6 กิจการหนังสือพิมพ์ก้าวหน้ามาก หนังสือพิมพ์สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและเสนอแนะความคิดเห็นได้อย่างเสรีในเรื่องการบริหารประเทศด้านต่าง ๆ มีทั้งหนังสือพิมพ์ภาษาไทยเช่น จีนโนสยามวารศัพท์ กรุงเทพเดลิเมล์ หนังสือพิมพ์ไทย ฯลฯ หรือหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษเช่น The Bangkok Times ต่อเนื่องมาถึงรัชกาลที่ 7 มีหนังสือพิมพ์ 55 ฉบับ โดยฉบับที่มีชื่อเสียง และน่าเชื่อถือที่สุดคือ ประชาชาติรายวัน ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้อ่านอย่างสูง โดยเฉพาะปัญญาชน ที่ตื่นตัวทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
สมัยรัชกาลที่ 8 ต่อเนื่องถึงรัชกาลที่ 9 หนังสือพิมพ์เริ่มถูกควบคุมโดยรัฐบาล และเมื่อปี พ.ศ. 2501 เกิดรัฐประหาร นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หนังสือพิมพ์ตกไปอยู่ภายใต้การควบคุมของประกาศคณะปฏิวัติ ในยุคนี้มีหนังสือพิมพ์ 33 ฉบับ เช่น เกียรติศักดิ์ (2495-2513), เดลินิวส์ (2507-ปัจจุบัน),เดลิเมล์ (2493-2501), ไทยรัฐ (2492-ปัจจุบัน), เสียงอ่างทอง (2500-2507), ไทยเดลี่ (2512-),
1
แนวหน้า (2495-ปัจจุบัน), ประชาธิปไตย (2502-2519), พิมพ์ไทย (2489-2561), สยามนิกร (2481-2512), สารเสรี (2497-2508), สยามรัฐ (2493-ปัจจุบัน), อาณาจักรไทย (2501-2504), ผู้จัดการรายวัน 360 องศา (2551-ปัจจุบัน), ผู้จัดการรายวัน (2533-2551), มติชน (2521-ปัจจุบัน), คมชัดลึก (2544-2563) เป็นต้น.
ข่าว
ข่าวรอบโลก
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย