6 ก.ค. เวลา 03:00 • ธุรกิจ

คู่แข่งที่ “น่ากลัวที่สุด” คือ คู่แข่งที่มองไม่เห็น

คนที่ทำอาชีพขี่ม้ารับจ้างในอดีต ไม่ได้ตกงาน เพราะมีคู่แข่งที่ขี่ม้าได้ดีกว่า
แต่เพราะเจอคู่แข่ง ที่สร้าง “รถยนต์” มาวิ่งแข่งกับ “ม้า” ต่างหาก..
12
ธุรกิจ คือเรื่องของการแข่งขัน
แข่งขันกับคู่แข่ง เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่ดีกว่า
แข่งขันกับคู่แข่ง เพื่อลดต้นทุนให้ต่ำกว่า จะได้ทำกำไรได้มากกว่า
แข่งขันกับคู่แข่ง เพื่อครองส่วนแบ่งตลาดให้สูงที่สุด และเป็นเจ้าตลาด
แข่งขันกับคู่แข่ง เพื่อสร้างความยั่งยืน และทำให้ธุรกิจอยู่ได้นานที่สุด
2
จึงไม่แปลกใจ ที่เกือบทุกบริษัท มักจะติดตามความเคลื่อนไหวของคู่แข่งตัวเอง อยู่ตลอดเวลา
ว่ากำลังทำอะไร วางแผนอะไร หรือคิดอะไรอยู่
เพื่อจะได้เตรียมพร้อมรับมือ และโต้ตอบคู่แข่งได้อย่างทันท่วงที
1
แต่จริง ๆ แล้ว คู่แข่งทั่วไป ที่บริษัทเคยแข่งด้วยมานาน หรือเห็นได้ชัด ๆ ว่า แข่งกับบริษัทโดยตรง
อาจไม่ได้สร้างความเสียหาย หรือรับมือยากที่สุดในยุคนี้
3
แล้วคู่แข่งแบบไหน ที่บริษัทรับมือด้วยยากที่สุด ?
คำตอบคือ “คู่แข่งที่มองไม่เห็น”
1
แล้วคู่แข่งที่มองไม่เห็น หน้าตาเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
คุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เคยให้คำจำกัดความของคู่แข่งทางธุรกิจเอาไว้ว่า ในโลกธุรกิจ จะมีคู่แข่งอยู่ 3 ประเภท คือ
2
1. คู่แข่งที่รู้กัน (Known Known Competitor)
ก็คือ คู่แข่งที่บริษัทระบุได้ชัดเจนว่า เป็นคู่แข่ง เพราะทำธุรกิจแบบเดียวกันโดยตรง หรือมีผลิตภัณฑ์และบริการที่คล้ายกัน
อย่างเช่น ถ้าบริษัททำธุรกิจสมาร์ตโฟน คู่แข่งก็คือ Apple, Samsung, Xiaomi และ OPPO
ธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า ก็คือ BYD, Tesla และค่ายรถยนต์ดั้งเดิม
หรือถ้าทำธุรกิจฟูดดิลิเวอรี คู่แข่งก็คือ Grab และ LINE MAN นั่นเอง
1
2. คู่แข่งที่รู้ว่าจะเข้ามาแข่ง แต่ไม่รู้ว่า เมื่อไรจะเข้ามาแข่งขันกับบริษัท (Know Unknown Competitor)
ซึ่งหมายถึง คู่แข่งที่เดิมที อยู่ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใกล้เคียงกัน เกี่ยวข้องกัน
ถึงแม้คู่แข่งจะไม่ได้ออกสินค้าและบริการ มาขายแข่งกันในตอนนี้
แต่คาดว่าต่อไป คู่แข่งรายนี้อาจจะเข้ามาแข่งขัน เพื่อแย่งชิงลูกค้าจากบริษัท
โดยการนำทรัพยากร องค์ความรู้ ในธุรกิจเดิม มาต่อยอด รวมถึงประสบการณ์ที่กำลังสั่งสมอยู่
จนสามารถสร้างสินค้าและบริการ มาแข่งกับบริษัทได้ในที่สุด
1
อย่างเช่น กรณีของ HONDA ที่มีจุดเริ่มต้นธุรกิจ มาจากการเป็นผู้ผลิตอะไหล่เครื่องยนต์ให้กับ TOYOTA
ก่อนจะผันตัวมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์เต็มตัว และแข่งกับ TOYOTA โดยตรง
3
Samsung ที่ตอนแรกรับจ้างผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ให้กับแบรนด์ญี่ปุ่น ก่อนเรียนรู้เบื้องหลังเทคโนโลยี และต่อยอดเป็นสินค้าแบรนด์ของตัวเอง
1
หรือบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่ขยับเข้ามาแข่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
3. คู่แข่ง ที่ไม่รู้ว่าจะมาเป็นคู่แข่ง (Unknown Unknown Competitor)
และนี่ก็คือ คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุด และอาจสร้างความเสียหายให้กับบริษัทได้มากที่สุด
เพราะเป็นคู่แข่งที่อยู่นอกเรดาร์ของบริษัท ซึ่งจู่ ๆ ก็โผล่มาแบบไม่คาดคิด ในสมรภูมิรบ
3
และทำให้บริษัทไม่สามารถตั้งตัวเพื่อเตรียมรับมือได้ทัน
หรือไม่รู้ว่า จะรับมือและจัดการกับ คู่แข่งรายนี้ อย่างไรดี..
เช่น กรณีของ ธุรกิจโรงแรม ที่ถูกแพลตฟอร์มแบ่งปันที่พักอย่าง Airbnb มาแบ่งฐานลูกค้าไป
1
ธุรกิจค้าปลีก ที่ถูกแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee และ Lazada มาแย่งเม็ดเงินการจับจ่ายใช้สอยไป
3
ซึ่งเมื่อ 5 ปีก่อน Shopee และ Lazada ก็คงไม่คิดว่า ตอนนี้จะมีแพลตฟอร์มคลิปสั้นอย่าง TikTok ที่เน้นเต้น ๆ เข้าร่วมวงด้วยผ่าน TikTok Shop..
6
ธุรกิจบันเทิงและโรงภาพยนตร์ ที่ถูกแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิงอย่าง Netflix รวมไปถึง TikTok และ YouTube มาแย่งเวลาไป
3
ธุรกิจกระดาษและเครื่องเขียน ที่ถูกสินค้าไอที เช่น iPad ของ Apple มาลดความต้องการใช้กระดาษและอุปกรณ์เครื่องเขียนไป
1
ซึ่งนอกจาก คู่แข่ง ประเภทนี้จะมาแบบไม่ทันตั้งตัวแล้ว
ความน่ากลัวกว่านั้นคือ ยังมากับ โมเดลธุรกิจ หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ
ที่สร้างความได้เปรียบเหนือบริษัท และผู้เล่นเดิมในตลาดอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็น สินค้าและบริการ ที่ตอบโจทย์ Pain Point ของผู้บริโภคได้ตรงจุดมากกว่า
การสเกลธุรกิจและขยายธุรกิจ ที่รวดเร็วกว่า ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า
เพราะส่วนใหญ่มักเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับดิจิทัล หรือแพลตฟอร์ม ซึ่งไม่ต้องลงทุนขยายสาขา ขยายโรงงาน เหมือนธุรกิจแบบดั้งเดิม ในการขยายกิจการ
 
รวมถึงสามารถเข้าถึง จัดเก็บ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้ามหาศาลได้
เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาสินค้า บริการ และประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น
3
ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดความได้เปรียบ และทิ้งห่างคู่แข่ง ที่ทำธุรกิจแบบเดิม ๆ ในตลาดเข้าไปอีก..
 
โดยหนึ่งในปัจจัย ที่ทำให้คู่แข่งหน้าใหม่นี้ สามารถสร้างโมเดลธุรกิจ หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้
แม้จะไม่มีประสบการณ์ หรือความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้น ๆ มาก่อน
1
คือการไม่มีมุมมอง ที่ยึดติดกับบรรทัดฐาน วิธีปฏิบัติ หรือรูปแบบการทำธุรกิจแบบเดิม ๆ นั่นเอง
1
ทำให้ธุรกิจเหล่านี้ มีความคิดสร้างสรรค์ มีมุมมองที่กว้างขึ้นและสดใหม่ หรือมีแนวคิดในการแก้ปัญหาที่แปลกใหม่
ตัวอย่างเช่น Square (Block, Inc.) ผู้ให้บริการโซลูชัน เพื่อให้ร้านค้ารายย่อย สามารถรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตได้ เพียงแค่เอาอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ ของ Square เสียบเข้ากับสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต
รวมถึงมีบริการปล่อยสินเชื่อ ให้แก่ร้านค้ารายย่อยด้วย
Square นับเป็นหนึ่งในบริษัทที่เข้ามาดิสรัปต์ หรือปฏิวัติวงการการเงินการธนาคาร เลยทีเดียว
2
โดยผู้ก่อตั้ง Square คือ Jack Dorsey (CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter) และ Jim McKelvey
ซึ่งทั้งสองคน ไม่ได้จบและทำงานสายการเงินมาก่อน
เลยทำให้พวกเขาไม่รู้ว่าอะไรทำได้ และอะไรทำไม่ได้ ในวงการนี้
11
พวกเขาจึงไม่ถูกจำกัดมุมมอง ในการหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาตอบโจทย์ Pain Point ของผู้คน และสามารถให้กำเนิด Square ได้ในที่สุด
1
จะเห็นได้ว่า คู่แข่งที่น่ากลัว น่าเกรงขาม มากที่สุด
ไม่ใช่คู่แข่งที่บริษัทเคยรบกันในสมรภูมิมาก่อน
แต่เป็นคู่แข่งที่คาดไม่ถึง ซึ่งได้เข้ามาเปลี่ยนเกมในสนามรบ แบบล้มกระดาน..
และยิ่งในตอนนี้ ที่เทรนด์ AI มาแรง และมีความก้าวหน้า ยิ่งกว่าคำว่าก้าวกระโดด
มีบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ทั่วโลก ต่างกำลังทุ่มงบหลายหมื่นล้าน หลายแสนล้านบาท ในแต่ละปีเพื่อมัน
ซึ่งก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดคู่แข่งแบบ Unknown Unknown ที่น่ากลัวขึ้นไปอีก ด้วยการใช้เทคโนโลยี AI อันทรงพลัง เป็นอาวุธ
และก็ไม่แน่ว่า ภาพในอนาคต
หลาย ๆ อุตสาหกรรม อาจมีการเปลี่ยนตัวผู้นำ
จากผู้นำในธุรกิจเดิม ที่เชี่ยวชาญและครองตลาดมานาน
มาเป็นบริษัทเทค ที่ครอง AI ที่ฉลาดที่สุดแทน..
“เพราะอะไรก็เกิดขึ้น และเป็นไปได้ทั้งนั้น”
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่บริษัทสามารถทำได้ เพื่อจัดการกับความเสี่ยงนี้ให้ได้มากที่สุด
คือการประเมินความเสี่ยง หรือ Worst-case Scenario โดยคำนึงถึงกรณีบริษัทต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่คาดไม่ถึง รวมเข้าไปด้วย
ว่าหากเกิดสถานการณ์นั้นจริง บริษัทจะรับมืออย่างไร และพร้อมรับมือมากแค่ไหน
เพราะในโลกธุรกิจ
ไม่มีกฎกติกาเขียนไว้ตายตัวว่า เกมธุรกิจ ต้องเล่นเฉพาะรูปแบบเดิม ๆ
หรือห้ามคู่แข่งที่มองไม่เห็น เข้าร่วมการแข่งขัน..
2
โฆษณา