4 ก.ค. เวลา 06:35 • ความคิดเห็น
วัฒนธรรมต่างกันและเป็นการมองในมุมเดียวไม่พิจารณาให้รอบด้านคือมองความไม่ดีของคนอื่นแต่ไม่เห็นความไม่ดีของตนเอง
1
แม้แต่ประเทศที่คิดว่าเจริญแล้วมีมาตรฐานความสะอาดสูงอย่างตะวันตกพอเข้าไปดูหลังร้านบางแห่งก็ไม่ได้สะอาดเหมือนกันทุกร้าน ขนาดรายการดังของ กอร์ดอน แรมซี่ ที่เป็นรายการฟื้นฟูร้านอาหารก็เคยเปิดเผยถึงความสกปรกในครัวออกรายการทีวีมาแล้ว
แต่…แต่…แต่สิ่งที่เราต้องยอมรับคือผู้ประกอบการไทยเองก็มีความเข้าใจมาตรฐานสาธารณสุขน้อยมากด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น
1.เพราะมองว่าเป็นการเพิ่มต้นทุน
2.ขาดการวางแผนคิดจะขายก็ทำเลย
3.ขาดความรู้ ความใส่ใจ จิตสำนึก
4.หน่วยงานรัฐไม่ใส่ใจ ไม่เข้มงวด
5.ชอบทำอะไรง่ายๆ ไม่ชอบยุ่งยาก หรือมักง่ายนั่นเอง
เรื่องหน่วยงานไม่เข้มงวดเป็นสิ่งที่ผมเจอมากับตัว เนื่องจากเคยเสนอหน่วยงานนึงในจังหวัดทำโครงการให้ความรู้และสร้างมาตรฐานรถเร่ขายสินค้าหรือที่เรียกว่ารถพุ่มพวงให้สะอาด ปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโควิด คำตอบที่ได้คือ ”ปล่อยเค้าไปเถอะอย่าไปยุ่งเดี๋ยวจะหาว่ารังแกชาวบ้าน“ 😅
ผมเคยเห็นร้านรถเข็นขายลูกชิ้นปิ้งในทีวีใช้ฝาครอบแสตนเลสปิดเตาเวลาปิ้งเพื่อป้องกันฝุ่น และรักษาความสะอาดดีมากๆ กลายเป็นอาหารริมทางที่สะอาดปลอดภัยได้มาตรฐานควรเป็นตัวอย่างให้ร้านค้าอื่นๆ
เพราะร้านค้าเหล่านี้ถือเป็นสตรีทฟู้ด soft power แบบไทยที่มีพลังดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ดีมาก และในสื่อออนไลน์มีการรีวิวร้านค้าเหล่านี้จำนวนมากถึงขนาดมีรายการตามรอยจากเกาหลีมาถ่ายทำที่ไทย จึงควรสนับสนุนให้ดำเนินการอย่างมีมาตรฐานโดยรักษาเอกลักษณ์สตรีทฟู้ดไว้เพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการรายย่อย
1
ตัวอย่างแผงลอยแบบญี่ปุ่น
Soft power อันยิ่งใหญ่
ควรมีมาตรฐานอันใหญ่ยิ่ง
คำคมจากไอ้แมงวันตัวนึง
โฆษณา