5 ก.ค. 2024 เวลา 00:17 • การเกษตร

#สรรณ์ทัศนะ

ช่างทอ ผ้าไหมตำบลตะเคียนราม
วันนี้ มีโอกาส ไปพูดคุยกับ ช่างทอผ้าไหมตำบลตะเคียนราม 2 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านกระโดน และบ้านระเบ๊าะ ทั้ง 2 หมู่บ้านนี้ ผลิตผ้าไหมทอมือ ยังใช้เส้นไหมที่ชุมชนผลิตเอง ณ วันนี้ ที่บ้านกระโดน มีคนปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน 30 ครัวเรือน ส่วนบ้านระเบ๊าะ มีคนปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน 40 ครัวเรือน
วงคุย วงเรียนรู้
จริง ๆทั้ง 2 บ้านนี้ มีฝีมือการทอผ้า ที่ปรานีตสวยงาม สิ่งที่ยังเป็นปัญหาคือ เรื่องกำลังกายผลิต ที่ผลิตผ้าไหมได้น้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด แต่ละครัวเรือนผลิตผ้าไหม เฉลี่ยปีละ 10-15 ผืน จำหน่ายผืนละ ประมาณ 2,000 บาท สร้างรายได้ปีละ 20,000 -30,000 บาท ต่อครัวเรือน
เนื่องด้วยบริบทชุมชน ที่มีพื้นฐานทำเกษตรกรรม ทั้งทำนา ซึ่งทำทั้งนาปี และนาปรัง มันสำปะหลังนาปี และมันฯ ปรัง เรียกได้ว่า มีงานให้ทำตลอดทั้งปี #อาชีพทอผ้าไหมจึงเป็นอาชีพเสริม เท่านั้น
การยกระดับงานทอผ้าไหม ให้มีกำลังการผลิตมากๆ จึงยังเป็นปัญหา เพราะชีวิตคนทั้ง 2 หมู่บ้านทำเป็นวิถี วิถีชีวิตที่งดงาม ที่ทำหลายๆ อย่างมีเกิดรายได้ #การทอผ้าไหมเป็นวิถีชีวิตขิงผู้คนที่นี่
แม้ชุมชนอื่นๆ จะบอกเลิกอาชีพทอผ้าไหม ไปแล้ว แต่ที่ยัง ยืนยันยืนหยัด ท่ามกลางกระแสโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โลกหมุนไวขึ้น วิถีผู้คนก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตามชุมชนที่นี่ ก็คงอยู่ในกระแสความเปลี่ยนแปลง ด้วยเช่นกัน
ข้อกังวลหนึ่ง ของการสนทนากันวันนี้ #พวกเราอาจเป็นช่างทอผ้าชุดสุดท้ายในหมู่บ้าน ก็เป็นได้ เพราะคนรุ่นใหม่ ไม่มีใครสนใจภูมิปัญญาการทอผ้าไหม แม้พ่อแม่มีอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แต่ลูกหลาน ก็มิได้สืบสาน ต่อยอด รักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาชาวบ้าน นี้ ไว้
วันนี้ ผมให้โจทย์ หลายเรื่องราว เรื่องการยกระดับกลุ่ม ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งด้านการบริหารจัดการองค์กร ด้วยหลัก 5 ก และใช้หลัก 5 P ในการบริหารกลุ่ม เพื่อให้เกิดการกระตุ้น และต่อยอด สู่ความสำเร็จต่อไป
จริง ๆ การพัฒนาผ้าไหม ยังคงมีลูกเล่นในการพัฒนาที่หลากหลายช่องทาง แต่ต้องพยายาม ลงลึก ลงไปทำงานกับชุมชน รวมทั้งค้นหาคนรุ่นใหม่ ที่จะมาสืบสานต่อยอด งานของชุมชน สู่ความยั่งยืน ต่อไป
นายสรรณ์ญา กระสังข์ พัฒนาการอำเภอภูสิงห์
โฆษณา