5 ก.ค. เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

กองทุน Active vs Passive แตกต่างกันอย่างไร ?

หากต้องการเริ่มต้นลงทุนในกองทุนรวม นอกเหนือจากการรู้ว่ากองทุนที่เราหมายปองลงทุนในสินทรัพย์อะไรบ้างแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนควรให้ความสำคัญ คือกลยุทธ์ที่ผู้จัดการกองทุนใช้ในการบริหารกองทุน ซึ่งมีหลัก ๆ ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่
1. กองทุนเชิงรุก (Active Fund) มีจุดมุ่งหมายการลงทุนในการสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าดัชนีอ้างอิง (Benchmark) ทั้งนี้ Active Fund ดำเนินการโดยพึ่งพาหลักคิดของทีมการลงทุนเป็นหลัก เน้นวิเคราะห์พื้นฐานเศรษฐกิจ และใช้วิธีคัดกรองข้อมูลธุรกิจเพื่อคัดเลือกหุ้นลงทุน โดยมุ่งหมายให้ได้ผลตอบแทนที่สามารถเอาชนะตลาดได้ กองทุนประเภทนี้จะช่วยให้พอร์ตมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงถ้าเป็นตามที่ทีมการลงทุนคาดการณ์ อย่างไรก็ตามค่าธรรมเนียมของกองทุนประเภทนี้ก็มักจะจัดเก็บในอัตราค่อนข้างสูง
2. กองทุนเชิงรับ (Passive Fund) มีจุดมุ่งหมายการลงทุนในการสร้างผลตอบแทนเท่ากับหรือใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง โดยผู้จัดการกองทุนมักจะเลือกลงทุนในตราสารลงทุนที่มีความเคลื่อนไหวสอดคล้องไปกับดัชนีอ้างอิง โดยไม่ได้มีการคัดกรองหุ้นลงทุน ทำให้พอร์ตการลงทุนมีความหลากหลาย มีการกระจายความเสี่ยงโดยอัตโนมัติตามดัชนีอ้างอิง ดังนั้นกองทุนประเภทนี้มักจะถูกเลือกลงทุนในพอร์ตที่มองภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเป็นหลัก ที่สำคัญเนื่องด้วยกระบวนการลงทุนไม่ได้ซับซ้อนทำให้ค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บมักจะถูกกว่า
แล้วควรเลือกลงทุนประเภทไหนดี? คำถามนี้อาจไม่สามารถเลือกตอบว่าต้องเลือกลงทุนกองทุนประเภทนั้น ๆ เพราะข้อดีของกองทุนทั้งสองประเภทต่างกัน การลงทุนจึงอาจต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการลงทุน เช่น ถ้าการลงทุนนั้น ๆ เน้นการให้ได้มาซึ่งผลตอบแทน กองทุนประเภท Active Fund ก็จะเหมาะสม
แต่ถ้ามองหาการลงทุนเพื่อการจัดพอร์ต โดยต้องการให้พอร์ตมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สอดคล้องกับมุมมองภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ หรือปรับสัดส่วนให้พอดีกับโอกาสลงทุน Passive Fund ก็จะดูเหมาะสมกว่าด้วยค่าใช้จ่ายการจัดการที่สมเหตุสมผล
สำหรับนักลงทุนที่สนใจกองทุนรวมแบบ Passive Fund เตรียมพบกันเร็วๆ นี้กับ 3 กองทุน Passive Fund น้องใหม่จาก BBLAM ได้แก่ B-USPASSIVE, B-EUPASSIVE และ B-JPPASSIVE ครอบคลุมตลาดสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น (ตามลำดับ) โดยแต่ละกองทุนมีจุดมุ่งหมายการลงทุนในการสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงมากที่สุด
เริ่มต้นกันที่ กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นยูเอสพาสซีฟ หรือ B-USPASSIVE ที่มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของ SPDR S&P 500 ETF Trust ซึ่งเป็นกองทุนรวม ETF กองแรกของโลก กองทุนดัชนีที่ลงทุนใน S&P 500 ครอบคลุมการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี การเงิน สุขภาพ และสินค้าอุปโภคบริโภค ทำให้มีการกระจายความเสี่ยงที่น่าสนใจ
และยังได้รับประโยชน์จากทิศทางการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น นอกจากนี้ หุ้นกลุ่ม Magnificent 7 ที่อยู่ในดัชนี S&P 500 แม้ว่าจะเติบโตขึ้นมากแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสไปต่อได้อีกจากแรงหนุนของ AI อีกด้วย
ถัดมาคือ กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นยุโรปพาสซีฟ หรือ B-EUPASSIVE ที่มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของ iShares STOXX Europe 600 UCITS ETF (DE) กองทุน ETF ที่มีดัชนีอ้างอิงคือ STOXX Europe 600 ซึ่งเป็นดัชนีที่รวมหุ้นขนาดใหญ่ 600 ตัว จาก 17 ประเทศในยุโรป ครอบคลุมการลงทุนในอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยี การผลิต พลังงาน การเงิน สุขภาพ สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น เรียกได้ว่ามีครบทั้งหุ้นกลุ่ม Value และ Growth ที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง ซึ่งในช่วงเวลานี้ตลาดหุ้นยุโรปกำลังมีมูลค่าที่น่าสนใจ โดยราคาหุ้นยังไม่ถือว่าแพงเกินไป
ปิดท้ายกันที่ กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นญี่ปุ่นพาสซีฟ หรือ B-JPPASSIVE ที่มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของ NEXT FUNDS Nikkei 225 Exchange Traded Fund กองทุน ETF ที่มีดัชนีอ้างอิงคือ Nikkei 225 Stock Average ที่สะท้อนการเคลื่อนไหวราคาหุ้นของบริษัทมหาชนญี่ปุ่น 225 แห่ง ซึ่งถูกคัดเลือกมาจากอุตสาหกรรมทั้งหมด 36 กลุ่ม ทำให้มีการกระจายความเสี่ยงที่น่าสนใจ
สำหรับตลาดหุ้นญี่ปุ่นในช่วงเวลานี้กำลังมีปัจจัยหนุนการเติบโตหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มการปรับขึ้นค่าจ้าง ซึ่งเป็นผลบวกต่อกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค นโยบายการปรับโครงสร้างธุรกิจโดยตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ซึ่งช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้ถือหุ้นและนักลงทุน รวมถึงการท่องเที่ยวที่กำลังเฟื่องฟูอย่างมาก
โดยนอกจากจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว Tourist Spending หรือการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2024 อยู่ที่ 1.8 ล้านล้านเยน หรือคิดเป็น 210,000 เยนต่อคนต่อทริป ก็ถือเป็นตัวเลขสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน
1
สำหรับผู้ที่สนใจกองทุนรวม Passive Fund ทั้ง 3 กองทุน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ BBLAM http://m.me/bblam.Fanpage
หรือดูข้อมูลที่เว็บไซต์ www.bblam.co.th
คำเตือน : การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / กองทุนรวมดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาคำขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมจากสำนักงาน ก.ล.ต.
 
#BBLAM #กองทุนบัวหลวง #BFFundTrading #MobileBanking #ธนาคารกรุงเทพ #IPO #PassiveFund #BUSPASSIVE #BEUPASSIVE #BJPPASSIVE
โฆษณา