8 ก.ค. เวลา 07:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

4 ทางออกกู้ร่วม เมื่อรักถึงทางตัน ไม่ให้แตกแยกหนักกว่าเดิม

ผ่านแล้ว พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉลองเดือนแห่ง Pride Month ซึ่งช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นว่า หลายธนาคารออกสินเชื่อเกี่ยวกับคู่รัก LGBTQ+ โดยเฉพาะสินเชื่อบ้าน
แต่ความรักไม่ได้สวยงามเสมอไป ไม่ว่าจะเป็นคู่รักแบบไหน วันหนึ่งเมื่อรักสะดุดลง การเคลียร์ปัญหาสำหรับคู่รักที่กู้ซื้อบ้านถ้าไม่ลงตัวก็อาจยิ่งสร้างความแยกแตกให้หนักขึ้น Money Trick กับอิ๊งค์ กชพรรณ เลยจะแนะนำทางออกเมื่อจากรักต้องกลายเป็นเลิกลา
ธนาคารไทยพาณิชย์ แนะนำไว้ 4 วิธี
วิธีแรก ตกลงหาทางออกร่วมกัน หลังความสัมพันธ์มาถึงทางตัน และตกลงแยกย้าย บอกลาสถานะคนรัก หรือสามีภรรยากันแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การพูดคุยหาทางออกร่วมกันว่าจะทำอย่างไร
4 ทางออกกู้ร่วมซื้อบ้าน
บ้านหลังนี้จะเก็บไว้หรือผ่อนต่อ ถ้าผ่อนต่อฝ่ายไหนจะรับภาระนี้ ฝ่ายที่อยากเก็บบ้านหลังนี้ไว้ก็ต้องรับภาระนี้ไป แล้วมีความสามารถผ่อนไหวหรือไม่ แต่ถ้าไม่มีใครอยากได้บ้านไว้สุดท้ายก็อาจจะต้อง “ขายบ้าน” แล้วนำเงินมาโปะหนี้แทน
กรณีที่ 2 ถอดชื่อผู้กู้ร่วม หากตกลงกันแล้วว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะผ่อนบ้านหลังนี้ต่อให้ไปติดต่อธนาคาร เพื่อขอถอดชื่อผู้กู้ร่วมออก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
  • จดทะเบียนสมรสกัน เอาใบหย่าไป ทำสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างอดีตสามี ภรรยาเพื่อนำไปขอสินเชื่อใหม่สำหรับฝ่ายที่จะผ่อนต่อ และเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หลังจากนั้นไปที่ดินเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากร และภาษีธุรกิจเฉพาะจะได้รับการยกเว้น เพราะเป็นการกู้ร่วมซื้อบ้านหลังจดทะเบียนสมรสแล้ว บ้านหลังนี้จึงถือเป็นสินสมรส
  • ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทั้งสองฝ่ายต้องตกลงกันว่าจะให้ใครเป็นคนถือกรรมสิทธิ์ต่อในฐานะผู้กู้คนเดียวและแจ้งขอถอดชื่อผู้กู้ร่วมอีกคนออกเนื่องจากการเลิกรากัน จากนั้นธนาคารจะประเมินความสามารถในการผ่อนชำระว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะผ่อนต่อคนเดียว หากไม่สามารถผ่อนต่อคนเดียวได้ จะต้องหาผู้กู้ร่วมใหม่ที่เป็นเครือญาติของผู้กู้ แต่หากประเมินแล้วว่าสามารถผ่อนต่อคนเดียวไหว ขั้นต่อไป คือ ทำสัญญาจะซื้อจะขาย และโอนกรรมสิทธิ์ให้เป็นของอีกฝ่าย ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 5% ของราคาบ้านและที่ดิน
3. รีไฟแนนซ์บ้าน วิธีนี้จะเป็นทางออกกรณีที่ขอถอดชื่อผู้กู้ร่วมไม่สำเร็จ เพราะธนาคารประเมินแล้วว่าความสามารถในการผ่อนคนเดียวอาจเป็นไปไม่ได้ การยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อกู้เงินจากธนาคารใหม่ จะช่วยนำไปปลดภาระจากธนาคารเดิม เปลี่ยนสัญญาจากผู้กู้ร่วมเป็นผู้กู้คนเดียว
ช่วยลดภาระการผ่อนต่อเดือนให้น้อยลง มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเดิม โดยจะต้องพิจารณารายได้ของผู้กู้ ภาระหนี้ต่อเดือนของผู้กู้ ประวัติเครดิตบูโร และอื่น ๆ ตามเกณฑ์ของธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งหากรีไฟแนนซ์ผ่าน ก็จะมีขั้นตอนการจดจำนองใหม่ มีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย
ทางออกสุดท้าย ทางออกที่ 4 ขายบ้านจบปัญหา หากตกลงกันทั้งสองฝ่ายแล้วว่า จะไม่เก็บบ้านหลังนี้ไว้ การขายบ้านเพื่อจบปัญหาก็ดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ดีกับทุกฝ่าย เพราะไม่ต้องเป็นภาระในการผ่อนต่อของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เอาเงินไปเคลียร์ยอดหนี้กับธนาคารได้ โดยการขายบ้านอาจต้องใช้เวลา และมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ กรณีการโอนกรรมสิทธิ์เมื่อขายบ้านได้แล้ว เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน
ทั้งหมดคือทางออกที่ Money Trick นำมาฝากกัน ซึ่งถ้าเป็นไปได้ ไม่อยากให้ไปถึงจุดของการเลิกราเลยค่ะ แต่ถ้าประคับประคองแล้วสุดทางจริงๆ ก็สามารถนำ 4 วิธีนี้ไปพูดคุยตกลงหาทางออกได้
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTV บันเทิง : https://www.facebook.com/PPTVHD36Entertainment
โฆษณา