Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Siam Friendly Starndard
•
ติดตาม
8 ก.ค. เวลา 05:59 • ธุรกิจ
ความเป็นไปได้ในการพัฒนา Muslim Friendly Certificate (MFC) โดยภาคเอกชนเสริมพลังท่องเที่ยวไทย
บทความโดย เยาฮารี แหละตี
องค์กรเอกชนวิจัยร่วม CresentRatint และ Mastercard ยืนยันว่าตลาดนักท่องเที่ยว มุสลิม กำลังจะเติบโต ถึง 225 ล้านคน ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง งานวิจัยชี้ว่า ไทยเป็นประเทศที่จะเติบโตในตลาดนี้ ได้ โดยต้องเร่งเพิ่มความรู้ให้ผู้ประกอบการ ในขณะเดียวกันเราเป็นปลายทางการแต่งงานอิสลาม ที่มาแต่งงานที่ประเทศไทยและ ท่องเที่ยวต่อเนื่อง โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นในทุกๆปี
Global Muslim Travel index report
อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลลุกค้ามุสลิมมีจำนวนจำกัด การเปลี่ยนบริการเพื่อรองรับฮาลาลเต็มรูปแบบ เสี่ยงสูญเสียรายได้และไม่แน่นอน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไม่มีเครื่องมือในการ เพิ่มตลาดมุสลิมที่เหมาะสม ปัจจุบันมีองค์กรศาสนาเดียวใน การออกใบรับรองทั่วประเทศ มีบุคคลากรไม่เพียงพอที่จะรองรับทั้งประเทศ และมีค่าใช้จ่ายสูงในการเข้าสู่ระบบ
นอกจากนี้มาตราฐาน Muslim Friendly ประเทศอื่นๆ อาจไม่เหมาะกับบริบททางความเป็นพหุวัฒนธรรมของประเทศไทย ทางเลือกที่ภาคเอกชนทั่วไปจะสร้างมาตราฐานที่เหมาะสมให้กับผู้ประกอบการจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ อย่างไรก็ดีมีความเป็นได้จริงมากแค่ไหน?
ประเทศมาเลเซีย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีบริษัทเอกชน เป็นผู้นำทางด้าน MFC มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 บริษัทเอกชน Tripfez Travel เป็นให้บริการจัดเรตติ้งโรงแรมและสถานที่พักที่ Muslim Friendly และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่เป็นมิตรต่อมุสลิม และพัฒนาเป็น ในชื่อ SALAM STANDARD
1
ในปี ค.ศ. 2015 เมื่อบริษัทเติบโตเป็นที่รู้จัก มาตรฐาน SALAM STANDARD ได้รับการยอมรับและ ได้ รับการสนับสนุนจาก กระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมมาเลเซียและศูนย์การท่องเที่ยวอิสลาม และนำเสนอต่อ COMCEC องค์กรความร่วมมืออิสลาม (OIC) ในปี ค.ศ. 2017 โรงแรมมากกว่า 55,000 แห่งได้รับการรับรอง
กลุ่มโรงแรมที่เข้าร่วมมาตราฐาน Salam Standard ที่พัฒนาโดยบริษัทเอกชน Tripfez Travel
บริษัทเอกชน CrescentRating ก่อตั้งในปี 2008 เป็นบริษัทเอกชนที่จัดตั้งในสิงค์โปร์ พัฒนาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวฮาลาล และ Muslim Friendly โดยในปี 2015 ได้ร่วมมือกับ MasterCard จัดสร้าง Global Muslim Travel Index ซึงเป็นตัวชี้วัดที่ได้รับความเชื่อถือทั่วโลก มีการร่วมมือกับประเทศต่างๆเช่น กรมการท่องเที่ยวฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และ อินโดนีเซีย เป็นต้น โดยในปี 2024 ได้พัฒนา RIDA FRAMEWORK สำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยว ที่ต้องการรองรับนักท่องเที่ยวมุสลิม
1
การให้การรับรองด้าน Muslim Friendly โดยบริษัทเอกชน เกิดขึ้นเป็นปกติในหลากหลายภูมิภาคทั่วโลก ญี่ปุ่น การตรวจสอบและการออกใบรับรองฮาลาลในญี่ปุ่นดำเนินการโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร บริษัทศาสนา บริษัทมหาชน บริษัทเจ้าของคนเดียว ฯลฯ ค่ารับรองฮาลาลในประเทศญี่ปุ่นสูง 300,000 เยน ถึง 2 ล้านเยน ผู้ประกอบการบริการในประเทศญี่ปุ่นเจอปัญหาต้นทุนการขอฮาลาล และการสูญเสียลูกค้าที่ไม่ใช่มุสลิมเมื่อเปลี่ยนมาเข้าสู่ระบบบริการฮาลาลเต็มรูปแบบเช่นเดียวกับผู้ประกอบการไทย
บรรยากาศร้านอาหาร Muslim Friendly และ Halal Restaurant ที่คึกคักในประเทศญี่ปุ่น ,fun-japan.jp , 2015
ผู้ประกอบการญี่ปุ่นจำนวนมากจึงเลือกปรับธุรกิจเข้าสู่การเป็น “Muslim Friendly” แม้ว่าจะไม่ได้รับรองฮาลาล แต่เป็นการแสดงความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อจัดหาอาหาร สินค้า และบริการที่ตอบสนองความต้องการของมุสลิม โดยการออก “แผ่นนโยบาย” ที่ระบุว่าพวกเขาสามารถตอบสนองความต้องการฮาลาลได้แค่ไหน หากคุณไปเยี่ยมชมร้านอาหารที่เป็นมิตรกับมุสลิม คุณสามารถดูแผ่นนโยบายได้บนโต๊ะ
สำหรับตัวชี้วัด สำหรับ Muslim Friendly นั้นมีความเรียบง่าย เช่นกรณีของ Salam Standard นั้น เงื่อนไขแรกในการได้ มาตราฐานระดับ Bronze สำหรับโรงแรม คือ การมีพรมละหมาด เมื่อมีลูกค้าร้องขอ การมีทิศทางบอก ทิศการละหมาดในห้องนอน และ ห้องทุกห้องมีห้องน้ำในตัว ซึ่งถ้ามีการจัดการให้ความรู้ จะมีโรงแรมจำนวนมากที่ ผ่านมาตราฐานเบื้องต้นนี้ และได้รับ Muslim Friendly Certificate ทั่วประเทศไทย โดยไม่ต้องมีโครงสร้างที่ซับซ้อน การตรวจงานโดยนักการศาสนาที่ชำนาญการแต่อย่างใด
เงื่อนไขการรับรอง Salam Standard ที่มีตัวชี้วัดเรียบง่าย ที่พัฒนาโดยบริษัทเอกชนมาเลเซีย
จึงมีความเป็นได้อย่างมากที่ประเทศไทย โดยบริษัทเอกชน ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมจะพัฒนา กรอบ Muslim Friednly ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง มีมาตราฐานและใช้งานได้จริง ถ้าได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม จากภาครัฐ และภาคการศาสนาอิสลามของประเทศไทย เพราะ เป็นกิจกรรมที่ ประเทศไทย สังคม ผู้ประกอบการ ผู้ปฏิบัติ ภาคการศาสนาอิสลาม ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ดี ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผู้นับถือศาสนาส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธที่อยู่ร่วมกันด้วยดีกับสังคมทุกศาสนา รวมทั้งศาสนาอิสลาม ถ้ามีการพัฒนาโมเดล Muslim Friendly ขึ้น ควรอย่างยิ่งที่ กรอบนี้จะต้อง จะสร้างประโยชน์ให้ ผู้ประกอบการรวมทั้งผู้ปฏิบัติงานทุกศาสนาโดยไม่แบ่งแยก เพิ่มศักยภาพของประเทศไทยในการรองรับตลาดมุสลิมในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม
บริษัทอารยาจัดอบรมและออกใบรับรอง ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่มุสลิม ในการดูแลลูกค้ามุสลิมในบรรยากาศที่เป็นพหุวัฒนธรรม และ รักษาขนบเดิมของพื้นที่
ตัวชี้วัดที่เรียบง่าย และมีมาตราฐาน มีค่าใช้จ่ายในการเข้าสู่ระบบเหมาะสม ในแง่ศาสนาอิสลามนั้น กรอบนี้ควรเพิ่มความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่าง ทุกศาสนาในประเทศไทยต่อศาสนาอิสลาม และ ประเทศได้รับการจัดอันดับที่ดี ในระดับโลกต่อไป
ที่มา
https://www.arayaweddingplanner.com/muslim-friendly-certificate-thailand-mfct/
เศรษฐกิจ
ท่องเที่ยว
ธุรกิจ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย