Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
9 ก.ค. 2024 เวลา 03:00 • สิ่งแวดล้อม
อุทยานแห่งชาติ เขาหลัก-ลำรู่
จักจั่นงวงหนามปลายจาง อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงา
จักจั่นงวงหนามปลายจาง 𝙕𝙖𝙣𝙣𝙖 𝙩𝙚𝙧𝙢𝙞𝙣𝙖𝙡𝙞𝙨 เป็นแมลงที่มีสีสันโดดเด่นชนิดหนึ่ง ปีกมีลักษณะเป็นเยื่อบางบาง หลายชนิดมีงวงยื่นออกมาจากส่วนหัวคล้ายงวงแต่บางชนิดไม่มีลักษณะดังกล่าวเลย
ลักษณะเด่นของแมลงในวงศ์ Fulgoridae คือ ปีกมีลักษณะเป็นเยื่อ มีลวดลาย สีสัน และเส้นขวางปีกจำนวนมาก มีฐานหนวดขนาดเล็กอยู่ใต้ตา ปกติมีส่วนยื่นออกมาจากส่วนหัว การจำแนก ใช้ สีสันและลวดลายของส่วนปีกเป็นสำคัญ
จักจั่นงวงหนามปลายจาง มีขาแบบเดิน (walking leg) ขาคู่หลังมีลักษณะพิเศษที่ช่วยให้เอาตัวรอดจากการคุกคามของศัตรู มันสามารถดีดตัวออกจากที่มันเกาะอยู่ เมื่อถูกรบกวน แต่หากถูกจับส่วนใหญ่จะแกล้งตาย เมื่อศัตรูเผลอจะดีดตัวและบินหนี ขณะบินสีสันที่โดดเด่นทำให้มองเห็นคล้ายผีเสื้อ
จักจั่นงวงขณะเกาะ จะหุบปีกแนบกับลำตัว ปากมีลักษณะเป็นแบบเจาะดูด กินน้ำเลี้ยงของพืชเป็นอาหาร จักจั่นงวงมีขนาดตั้งแต่ 2 – 8 เซนติเมตร เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์จักจั่นงวง ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย การผสมพันธุ์และการวางไข่ ส่วนใหญ่จะพบบริเวณพืชอาหาร หลังฟักจากไข่ ตัวอ่อนจะทิ้งตัวร่วงลงสู่พื้นดิน และขุดลงไปอาศัยอยู่ใต้ดิน เพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากพืชเป็นอาหาร
ทั่วโลกพบแล้วกว่า 670 ชนิด เอเชียและออสเตรเลียพบแล้วกว่า 236 ชนิด ในประเทศไทย พบจักจั่นงวง 7 สกุล 30 ชนิด จากการสำรวจธรรมชาติ ยังพบว่าจักจั่นงวงมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น แมลงสาบ หรือแม้แต่จิ้งจก ซึ่งจะมากินของเสียที่จักจั่นงวงขับถ่ายออกมา
ที่มา : อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงา
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)
#จักจั่นงวงหนามปลายจาง #อุทยานแห่งชาติเขาหลักลำรู่ #พังงา #กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติ
ธรรมชาติ
บันทึก
6
3
6
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย