Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTVHD36
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
9 ก.ค. เวลา 05:30 • สุขภาพ
วิจัยพบ มลพิษทางอากาศลดโอกาสทำเด็กหลอดแก้วสำเร็จลง 38%
การศึกษาใหม่พบ มลพิษทางอากาศทำให้โอกาสที่ “เด็กหลอดแก้ว” จะเกิดลดลงไปกว่า 1 ใน 3
เป็นที่ทราบกันว่า “มลพิษ” ทางอากาศเป็นโทษต่อร่างกายของเราในหลายระบบ ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหมุนเวียนเลือด (หัวใจและหลอดเลือด) ไปจนถึงระบบสมองและการเรียนรู้
แต่นอกจากระบบที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว อากาศที่เป็นพิษยังมีผลกระทบต่อสุขภาพในด้านภาวะการเจริญพันธุ์ด้วย โดยก่อนหน้านีเคยมีการค้นพบว่า มลพิษเพิ่มความเสี่ยงอัตราการแท้งบุตรและการคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากมลพิษระดับจุลภาคเดินทางผ่านกระแสเลือดไปยังรังไข่และรก
โรงไฟฟ้าถ่านหินปล่อยมลพิษ (แฟ้มภาพ)
แต่ล่าสุดมีการวิจัยใหม่ที่พบว่า มลพิษทางอากาศยังลดความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ด้วย โดยลดโอกาสที่เด็กจะเกิด
การศึกษาใหม่นี้วิเคราะห์ภาวะเจริญพันธุ์ในเมืองเพิร์ทตลอดระยะเวลา 8 ปี ซึ่งรวมถึงการย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง 3,659 รายจากผู้ป่วย 1,836 ราย และติดตามว่ากลุ่มตัวอย่างได้รับผลกระทบที่เชื่อมโยงกับระดับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 หรือไม่
อัตราการเกิดของเด็กหลอดแก้วโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 28% ต่อการถ่ายโอน อย่างไรก็ตาม อัตราความสำเร็จแตกต่างกันไปตามการสัมผัสกับมลพิษในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนการเก็บไข่ โดยโอกาสที่เด็กหลอดแก้วจะเกิดลดลง 38% ในกลุ่มที่ได้รับมลพิษสูงสุด
ดร.เซบาสเตียน เลเธอร์สิช ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะเจริญพันธุ์และนรีแพทย์จากเมืองเพิร์ท กล่าวว่า “เราสังเกตเห็นว่า โอกาสที่จะมีลูกหลังจากการย้ายตัวอ่อนแช่แข็งนั้นลดลงมากกว่า 1 ใน 3 สำหรับผู้หญิงที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศที่มีระดับอนุภาคสูงสุดก่อนการเก็บไข่ เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่สัมผัสกับมลพิษระดับต่ำสุด”
เขาเสริมว่า “มลพิษทางอากาศเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์เกือบทุกด้าน และไม่น่าแปลกใจที่สุขภาพการเจริญพันธุ์จะได้รับผลกระทบเช่นกัน ... ผมหวังว่าการค้นพบนี้จะช่วยเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนของสถานการณ์ที่ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อให้เกิดภัยคุกคามร้ายแรงและทันทีต่อสุขภาพการเจริญพันธุ์ของมนุษย์ แม้จะเรียกว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยก็ตาม”
เลเธอร์สิชบอกอีกว่า “การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่า มลพิษส่งผลเสียต่อคุณภาพของไข่ ไม่ใช่แค่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นความแตกต่างที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อน”
ผลการวิจัยดังกล่าวเกิดขึ้นแม้ช่วงเวลาระหว่างการศึกษาเมืองเพิร์ทจะมีคุณภาพอากาศโดยรวมที่ดีเยี่ยมก็ตาม โดยระดับ PM10 และ PM2.5 เกินหลักเกณฑ์ของ WHO เพียง 0.4% และ 4.5% เท่านั้นของวันที่ทำการศึกษา
ออสเตรเลียเป็น 1 ใน 7 ประเทศที่ปฏิบัติตามแนวทางของ WHO ในปี 2023 และการศึกษานี้เป็นการศึกษาล่าสุดที่แสดงให้เห็นหลักฐานของอันตรายจากมลพิษทางอากาศแม้จะมีระดับมลพิษที่ค่อนข้างต่ำก็ตาม
เรียบเรียงจาก The Guardian
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTV Wealth :
https://www.facebook.com/PPTVWealth/
YouTube Wealth :
www.youtube.com/@PPTVWealth
Facebook PPTVHD36 :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
Facebook Video :
https://www.facebook.com/PPTVHD36/videos
Facebook PPTV Sports :
https://www.facebook.com/PPTVSports
Facebook PPTV บันเทิง :
https://www.facebook.com/PPTVHD36Entertainment
Facebook PPTV Health :
https://www.facebook.com/PPTVHealth
YouTube :
www.youtube.com/@PPTVHD36
Twitter :
https://twitter.com/PPTVHD36
Instagram :
https://www.instagram.com/pptvhd36/
LINE VOOM :
https://pptv36.tv/174l
TikTok :
https://www.tiktok.com/@pptv.thailand
สุขภาพ
มลพิษ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย