9 ก.ค. เวลา 07:13 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ฝากคนยังไม่รู้❗“ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีเปิดเผยข้อมูลหุ้นที่ถูกนำไปค้ำประกัน”

จากคดีหุ้น YGG, EA ที่ได้สร้างความอกสั่นขวัญแขวนให้กับนักลงทุนทั่วทั้งประเทศ เพราะคงไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีรายใหญ่ที่นำเอาหุ้นตัวเองไปค้ำประกันและเกิดความเสี่ยงแบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหุ้นขนาดใหญ่ที่อยู่ใน SET50 มาเป็นเวลานาน จนสุดท้ายกลายเป็นเหตุให้หุ้นถูกทุบลงแรงสร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ที่แค่อยากฝากความหวังกับหุ้นที่ไว้ใจไปตาม ๆ กัน
และแน่นอนมันจึงทำให้ทุกคนเกิดความคิดที่ว่า “คงไม่ได้มีแค่เพียงบริษัทเดียวหรือสองบริษัทที่ทำแบบนี้” ดังนั้น เราจึงเก็บข้อมูลในเรื่องนี้และนำมันมาฝากทุกท่าน
รูปแสดงรายงานหลักทรัพย์ของไทยที่วางเป็นประกันเ ณ สิ้นดือน พ.ค. 2024
ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีการเปิดเผยข้อมูลหุ้นที่ถูกนำไปวางประกัน
ก่อนอื่นก็ต้องขอชื่นชมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ได้ทำข้อมูลส่วนนี้มาเปิดเผย กับตัวเลขจำนวนหุ้นของแต่ละบริษัทที่ถูกนำไปค้ำประกันการชำระหนี้ในบัญชี Margin โดยที่ตัวเลข %เมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นทั้งที่ออกจำหน่าย (ช่องที่ 2) ยิ่งสูงแค่ไหน ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงกับการถูก “Force Sell” บังคับขายและทำให้หุ้นปรับตัวลดลงแรง
อย่างกรณีของ YGG ที่ค่อนข้างชัดเจน เพราะถ้าทุกคนสังเกตจะเห็นว่ารายงานในรูปนี้เป็นของเดือน พ.ค. 67 โดย YGG มีสัดส่วน %การนำหุ้นไปวางประกันสูงเป็นอันดับ 1 ของตลาดหุ้นไทย ที่ 54.23% จากนั้นในเดือนช่วงต้น มิ.ย. 67 หรือไม่กี่วันผ่านมาหุ้นก็ได้เริ่มโดนทุบและโดน Force Sell กลายเป็นการ Panic ลงแรงถึงกว่า 70% ในช่วงต้นเดือน ก.ค. หรือเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ดังนั้นแล้ว ทุกท่านสามารถใช้รายงานฉบับนี้ในการพิจารณาความเสี่ยงของหุ้นที่ตัวเองซื้อ/ถือ โดยหากมี %นำไปวางประกันสูง ให้รู้ว่าเมื่อราคาปรับตัวลดลงจะมีความเสี่ยงโดนบังคับขายตามมาสูงไปด้วย ยิ่งถ้าหุ้นตัวนั้นมี % การถือโดยรายย่อย (%Free Float) น้อย ยิ่งอันตรายเพราะแปลว่าสภาพคล่องในตลาดต่ำ ทำให้ไม่มี Bid รองรับเพียงพอและราคาจะลงแรงกว่ากรณี %Free Float สูง
*รายงานของเดือน พ.ค. ฉบับนี้เป็นรายงานฉบับล่าสุดที่ Update ณ วันที่เราทำบทความ (7 ก.ค. 67) ซึ่งนั้นหมายถึงข้อมูลที่ Delay พอสมควร โดยเราก็ไม่ทราบว่าเหตผลอาจเป็นเพราะว่าข้อมูลนี้มีการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างน้อยหรือไม่ แต่เชื่อว่าทุกท่านก็คงอยากเห็นการอัพเดทที่เร็วที่สุด รวมถึงข้อมูลเพิ่มเติม เช่น การเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น/ลดลงที่ผิดปกติ ,ตัวเลขความเสี่ยงในการโดน Force Sell ของหุ้นในแง่มุมต่าง ๆ เป็นต้น หากใครที่เห็นกระทู้หรือโพสนี้รบกวนช่วยแชร์ต่อเพื่อให้ถึงหูคนที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาต่อด้วยนะครับ
แต่กรณี EA นั้นแตกต่างกันออกไป
โดยเราลองเชคข้อมูลในตารางแล้วพบว่าหุ้น EA อยู่ในลำดับที่ลึกถึง 200 โดยมี %การนำไปวางประกันเพียงแค่ 4% เมื่อเทียบกับหุ้นทั้งหมด แล้วทำไมถึงเกิดการ Force Sell ? ตรงนี้ต้องยอมรับว่า การนำหุ้นไปใช้ประโยชน์หรือค้ำประกัน มันไม่ได้มีแค่การใช้ในบัญชี Margin ที่ประกาศทางการอย่างที่เห็น
เพราะยังสามารถนำไปใช้เป็น Collateral ในการกู้ยืมเงินได้อีกด้วย ซึ่งตัวเลขพวกนี้บางทีเขาทำกันเองระหว่างผู้ถือหุ้นกับสถาบัน จึงทำให้เราไม่มีสิทธิรู้ รวมถึงกับ Product ทางการเงินอื่น ๆ เช่น Block Trade ในตลาด TFEX ที่มีสมญานามว่า Super Margin (ตรงส่วนนี้ในฐานะของคนที่เคยเจอ Case Force Sell ใน Block Trade มาเยอะ จะมาแชร์ให้ฟังภายหลัง)
ดังนั้น วิธีการป้องกันตัวที่ปลอดภัยที่สุด คือ เมื่อเวลาหุ้นปรับตัวลดลงแรงผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตและไม่ดีดกลับภายในวันนั้น ให้ถอยออกมาดูสถานการณ์ก่อน เพื่อรอทุกอย่างชัดเจน, รอพวกมาร์จิ้นหาเงินมาเติม, พวกโดน Force ถูกปิดจนหมด แล้วค่อยพิจารณาเข้าอีกครั้ง โดยบางครั้งถ้าไม่มีอะไรจริง ๆ ตอนซื้อกลับอาจได้ราคาที่แพงกว่าที่ขายไปก็ต้องยอม เพราะให้รู้ว่าถ้าครั้งไหนมันมีอะไรแอบแฝงจริง ๆ และเราไม่ออกมาจะเสียหายหนักยิ่งกว่าหลายเท่า
รูปแสดง Performance โครงการ “Live Trade” และการนำกำไรไปบริจาค
สุดท้ายเราเองก็ขอเป็นหนึ่งในคนที่พยายามหาวิธีเอาชนะตลาดการลงทุนของไทย และคิดว่าการใช้ TFEX เป็นเครื่องมืออาจเหมาะที่สุดกับตลาดช่วงนี้ โดยในสัปดาห์แรกของการ Live Trade เราได้กำไรก้อนใหญ่แบบคาดไม่ถึงมาจากการเล่น “Gold Online” ที่อ้างอิงจากราคาทองที่ไม่เกี่ยวกับตลาดหุ้นไทย
จึงขอแบ่งกำไรไปบริจาคให้กับ “มูลนิธิคนตาบอดแห่งประเทศไทย” และหวังว่าเราจะสามารถประคองและทำกำไรได้ต่อ เพื่อนำไปปันสู่สังคมในภายภาคหน้า และถ้ามันประสบความสำเร็จในระยะยาวก็จะนำความรู้ที่ใช้มาเปิดเผยให้กับทุกคนที่ติดตามได้ไปต่อยอด ยังไงฝากเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ และเราจะหาข้อมูลที่คิดว่าเป็นประโยชน์มาฝากกันต่อ ขอบคุณครับ
📍[สัมมนาออนไลน์] 👉แบไต๋ Live สดทำกำไร TFEX กับโครงการ Live Trade For Future ลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่
โฆษณา