9 ก.ค. เวลา 11:24 • สิ่งแวดล้อม

พลังงานทางเลือก การขุดเหมืองใต้ทะเล และเศรษฐกิจหมุนเวียน "5 Rs"

#Green โลกอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์จากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปเป็นพลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์ ลม และแหล่งอื่นๆ ภาวะโลกร้อนที่สร้างความตื่นตระหนกทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งหลักฐานที่แสดงถึงอันตรายที่ก่อให้เกิดกับผู้คนและสิ่งแวดล้อม
.
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีหลายอย่างที่โลกพึ่งพาในการเปลี่ยนแปลงพลังงานสะอาดนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า "แร่ธาตุสำคัญ" แล้วแร่ธาตสำคัญนี้มาจากไหน คำตอบนี้สำหรับบริษัทเหมืองแร่บางแห่ง คงต้องบอกว่า "มหาสมุทร"
.
การทำเหมืองแร่ในมหาสมุทรนั้น ต้องเข้าใจบางอย่างด้วยว่า เมื่อเราเริ่มขุดพื้นทะเลเพื่อหาแร่ธาตุที่สำคัญแล้ว การขุดจะไม่มีการหั้นกลับได้อีก
.
การขุดใต้ทะเลลึก การทำเหมืองใต้ทะเล เพื่อหาหินก้อนใหญ่ที่อุดมด้วยแร่ธาตุ นั่นก็คือ แมงกานีส โคบอลด์ นิกเกิล ลิเธียมและโลหะหายาก ซึ่งวิธีการที่ใช้ ถึงแม้ว่าได้ถูกคิดค้นในการลดความเสียหายต่อพื้นทะเล และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีการรับประกันว่า ทางเลือกเหล่านี้จะพิสูจน์ได้ว่าจะไม่สร้างผลกระทบอะไร
.
แต่อันที่จริง ความเสียหายนั่นหากเริ่มมีการขุด ความเสียหายย่อมเกิดขึ้น และส่งผลในระยะยาวต่อระบบนิเวศ เพราะถึงแม้ว่าอุปกรณ์การทำเหมืองที่ตั้งใจให้เกิดการรบกวนที่ต่ำที่สุดแล้วก็ตาม ก็ยังสามารถสร้างความเสียหายถาวรต่อแหล่งที่อยู่อาศัยของก้นทะเลได้ มีตัวอย่างของการวิจัยในเขต Clarion-Clipperton (CCZ) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกเส้นศูนย์สูตรทางตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบลึก อยู่ระหว่างฮาวายและเม็กซิโก ซึ่งเป็นพื้นที่โซนแตกหักของแคลเรียน "Clarion" และคลิปเปอร์ตัน "Clipperton"
.
การศึกษาพบที่ระดับความลึก 4,000-6,000 เมตร อุดมไปด้วยนิกเกิล แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โคบอลต์ และแร่ธาตุอื่นๆ ในปริมาณขนาดเท่ามันฝรั่งนับล้านล้าน อยู่บนก้นบ่อโคลน ซึ่งการจะนำออกมานั้น จำเป็นต้องใช้ยานพาหนะควบคุมระยะไกล (ROV) ที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะรวมทั้งขั้นตอนอื่นๆ อีกมากมายภายใต้เทคโนโลยีการขุดก้นทะเลโดยผู้เชี่ยวชาญ
.
อย่างไรก็ตาม ชุมชนวิทยาศาสตร์ทางทะเลหลายแห่งมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการรบกวนพื้นทะเลในลักษณะนี้ ซึ่งการค้นพบล่าสุดเกี่ยวกับระบบนิเวศใต้ทะเลของ CCZ ถึงแม้จะมีการถกเถียงกันถึงข้อดีและข้อเสียของการขุดในมหาสมุทรแล้วก็ตาม แต่อย่างไรเสีย การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพสุทธิที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
.
ในขณะที่ความเสียหายที่เกิดกับระบบนิเวศบนบก จากการขุดบนบกนั้นมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่แหล่งขุดใต้ทะเลลึกอาจดูเหมือน "อยู่นอกสายตาและอยู่นอกจิตใจ"
.
แล้วแร่ธาตุต่างๆ เหล่านี้นำไปทำอะไร และมีความจำเป็นอย่างไรถึงต้องใช้ในปริมาณที่มากจนต้องหาแหล่งแร่ธาตุ และขุดมันขึ้นมากันล่ะ..
.
เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และหันมาเพิ่งพลังงานไฟฟ้า สิ่งที่จำเป็นต้องการข้นส่งคือรถยนต์ ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้ โคบอลด์และนิกเกิลสำหรับแบตเตอรี่ การศึกษาในปี 2020 คาดการณ์ว่าโลกจะต้องขุดโคบอลต์และนิกเกิลถึงครึ่งหนึ่ง สำหรับแบตเตอรี่ EV ในช่วงเวลาระหว่างนั้นถึงปี 2050
หากผู้ผลิตเปลี่ยนจากการออกแบบแบตเตอรี่นิกเกิลและโคบอลต์หนักไปเป็นแบตเตอรี่ลิเธียมเหล็กฟอสเฟตที่ไม่ได้ใช้ โลหะเหล่านั้นได้เลย และอีกทั้งความจำเป็นในเรื่องของรีไซเคิลเชิงรุกนั้นยังไม่คืบหน้า ปริมาณธาตุที่ใช้ก็จะไม่มีทางลดจำนวนลงได้เลย
.
(แมงกานีส โคบอลต์ นิกเกิล ลิเธียมและโลหะหายากต่างๆ เหล่านี้เติบโตอยู่บนโลกใบนี้ด้วยระยะเวลา เพียงไม่กี่มิลลิเมตรต่อทุกๆล้านปี)
.
อย่างไรก็ตาม มนุษย์เป็นผู้ทำลาย หากแต่ก็ยังไม่ขาดมนุษย์ที่เป็นผู้ปกป้องอยู่เสมอ
.
ซึ่งมีการแนะนำแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สร้างขึ้นบน "5 RS" คือ การลด การใช้ซ้ำ การรีไซเคิล การสร้างจินตนาการใหม่ และการซ่อมแซมผลิตภัณฑ์ (reducing, reusing, recycling, reimagining and repairing products.)
.
ซึ่ง 5 Rs นี้ ยังรวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงรถยนต์ไฟฟ้า สามารถออกแบบใหม่ให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น และใช้วัสดุและพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นวัตกรรมอื่นๆ ในเทคโนโลยีพลังงานสะอาดอาจลดความต้องการแร่ธาตุบางชนิดลงโดยสิ้นเชิง
.
เมื่อรวมกับโครงการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพ สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency) ประมาณการว่ากลยุทธ์เหล่านี้สามารถลดความต้องการนิกเกิลที่ขุดใหม่ลงได้ 15% ในปี 2583 และมากกว่าสองเท่าสำหรับโคบอลต์ และทองแดง ซึ่งช่วยลดความท้าทายด้านการจัดหาในระยะสั้นในปีต่อๆ ไป ในขณะเดียวกันก็รับประกันว่าอุปกรณ์ในอนาคตไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยนัก วัสดุน้อยลง การขุดน้อยลง
.
Better Day
กำลังใจเติมให้กันได้ทุกวัน
โฆษณา