9 ก.ค. เวลา 17:14 • ศิลปะ & ออกแบบ
โดยย่อที่สุด คงเป็น..
ภาพลวงตา
กระมั้งครับ ;)
1
หลังปลงผมและหนวด นุ่งผ้าย้อมฝาด ดำรงอาชีพขอทาน มีสติถือบาตรรับข้าวอยู่
ได้ปลีกวิเวกอยู่ ในราวป่าสนโปร่ง ข้างแม่น้ำใหญ่ ใกล้ที่พักร้อนของคนเลี้ยงโค.. (เกือบโดนควายขวิดตาย)
ใช้เวลาส่วนมาก ศึกษาปริยัติจากพระไตรปิฎก พร้อมสมถะ วิปัสสนาควบคู่กันไป และได้ ทบทวน พิจารณา อภิสัจจะ 2 อย่างในหมวดอภิธรรม คือ สมมติสัจจะ และ ปรมัตถ์สัจจะ โดยหยั่งลงไปในความจริงของระบบความมีอยู่ เป็นอยู่ (ไม่ติดในตัวอักษร และ ตำรา)
ก็ สมมติสัจจะ และ ปรมัตถ์สัจจะ นั้นคืออะไร?
  • สมมติสัจจะ (สิ่งทั้งปวงที่มนุษย์ บัญญัติตัวตนไว้ เมื่อบัญญัติดับ สิ่งนั้นก็ดับไป) ::
อย่างเช่น ระบบภาษา ระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ กฎหมาย ระบบ ระบอบทั้งปวง เป็นต้น
ในเชิงแห่งการนิยามที่จะนิยม ในโลกของสุนทรียภาพ แท้จริงแล้ว
งาม อาจจะ งามก็ได้
งาม อาจจะ น่าเกลียดก็ได้
น่าเกลียด อาจจะ น่าเกลียดก็ได้
น่าเกลียด อาจจะ งามก็ได้
2
งามเป็นงาม : ไม่ว่าจะ ชายหล่อ หญิงงาม ภาพงานศิลปะที่สุนทรีย์ จะความงามใดๆก็ตาม… ให้มองด้วยตายังไงก็งดงาม
งามเป็นน่าเกลียด : ลองผ่าร่างออกเป็น 2 ท่อนเสียสิ ไม่ว่าใครก็แย่พอกัน หรือ เมื่องานศิลปะนั้นเสื่อมสลายหายไป ความงามจะคงอยู่หรือ
น่าเกลียดเป็นน่าเกลียด : ไม่ว่าจะเขี่ยหาส่วนที่ดีตรงไหน ในซากศพเหล่านั้น.. ให้มองด้วยตายังไงก็น่าเกลียด
น่าเกลียดเป็นงดงาม : ก็ดอกบัวที่งดงามนี้เอง ย่อมเกิดขึ้น ย่อมเจริญ ก็ด้วย โคลนตม ซากพืชซากสัตว์ที่น่าเกลียดทั้งปวงนี้ ฉันใด ลึกเข้าไปภายในร่างกายที่ไม่น่าดูไม่น่าชมนี้ ก็อาจจะมี จิตใจที่งดงามซ่อนอยู่ภายใน ฉันนั้น เหมือนกัน
แท้จริงแล้ว งามและไม่งาม ไม่ใช่สาระสำคัญโดยตัวมันเอง มันจึงอยู่ด้วยกัน ซ้อนกันอยู่ และ พิศูจน์ให้เห็นทั้งสองอย่างได้ในเวลาเดียวกัน เสมอมา และ เสมอไป
1
จะมองศิลปะ(การบัญญัติว่างาม)นี้ งดงามก็ได้ เพราะ มันตั้งอยู่
จะมองศิลปะ(การบัญญัติว่างาม)นี้ น่าเกลียดก็ได้ เพราะ มันดับไป
ตาเฒ่าหัวฟูที่เป็นสัญลักษณ์ของความฉลาดทางโลกจึงเคยกล่าวว่า
Everything we see is nothing, but just illusion.
( ทุกสิ่งที่เราเห็นไม่ใช่อะไรเลย เป็นแค่ภาพลวงตา)
Albert Eistein
2
นั้นคือในเชิงของ รูปธรรม(อนุภาค และิพลังงาน) เท่านั้น และ ขอกล่าวเสริม ตาลุง ให้อีกหน่อยว่า
Everything we feel is nothing, but just illusion.
( สรรพสิ่งที่เรารู้สึก ไม่ใช่อะไรเลย เป็นเพียงมายาลวงใจ เท่านั้น )
[ ]
3
ดั่ง ความสุข ที่เกิดจาก ลาภ ยศ สรรเสริญ หรือ ภาพลักษณ์นี้เอง เป็นศิลปะแห่งใจ ที่แปรปรวนไร้แก่นสาร โดยตัวมันเอง แต่ มหาชนกลับชมชอบอยู่
1
  • ปรมัตถ์สัจจะ (ความจริงแห่งธรรมชาติจริงๆ ถ้าจะหาบุคคลตัวตนในระดับนี้ จะหาไม่เจอ เพราะในระดับนี้ไม่มีการบัญญัติตัวตน โดยมนุษย์ ขึ้นเลย มีแค่สภาวะธรรม แค่สังขารการปรุงประกอบ นึงๆ ตามเหตุปัจจัยในธรรมชาติที่ เปลี่ยนมา แล้ว เปลี่ยนไป เท่านั้น)
ได้แก่ รูป(อนุภาค และ พลังงาน), จิต ,เจตสิก(ใจ) และ นิพพาน
เมื่อเราลอง คลี่ และ ไล่สาย ปฏิจจสมุปบาท(สายเหตุและผล ของการเกิดสิ่งทั้งปวง) ตามพุทธพจน์ จะพบว่า ต้นเหตุของการสร้างสรรค์ทั้งปวงนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจาก
อวิชชา(ความไม่รู้ในอริยสัจ 4)
ก็อวิชชานี้เอง คือยอดนักสร้างสรรค์ ที่สรรสร้างชีวิตทั้งปวงขึ้นมา ให้เข้าใจว่ามีตัวตน บุคคล เรา เขาขึ้น
แต่ว่าอนิจจา… สถาวะธรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น เป็นการยินดีในอาลัย(สิ่งที่ดับได้) และ อาลัยในยินดี(สิ่งที่ล่วงไปแล้ว) ในขณะเดียวกัน แม้จะสร้างสรรค์สรรพชีวิตได้ขนาดไหน สุดท้ายก็เป็นแค่ “นักสร้างสรรค์ที่ห่วยแตก” เท่านั้นเอง เพราะมัน ดับได้
ทัังหมดทั้งปวงในธรรมชาติ มันจึงเป็นภาพลวงตาโดยตัวมันเองตลอดมา และ ตลอดไป
1
ท้ายที่สุด ยอดแห่งศิลปะนั้น กลับเรียบง่าย และ ไม่มีอะไรน่าพิศมัย และ ธรรมดาอย่างยิ่ง
แท้จริง ก็ความ ที่ใช้คุณประโยชน์ของศิลปะให้สุดกู่ กระนั้นก็ไม่ติดอยู่ พร้อมวางลงได้แห่งศิลปะทั้งปวงนี้เอง (ความเป็นอิสระเสรีจากศิลปะ) คือยอดแห่งศิลปะ
1
เพราะเหตุนั้น ก็ความคลายลง ความวางลงได้ ความสลัดคืน ซึ่ง ศิลปะ(ภาพลวงตา) หรือ ก็คือ
- ความงามและน่าเกลียดทั้งปวง(สมมติสัจจะ ที่เกิด และ ดับได้)
- พร้อมทั้งการสร้างสรรค์ปรุงประกอบสังขารทั้งปวง (ปรมัตถ์สัจจะ มี อวิชชา และ ตัณหา ที่ทำให้เกิดชาติ) นี้เอง
คือ ยอดแห่งความงามในศิลปะอย่างแท้จริง (ไม่ปรากฎความเกิด)
ชาติวุสิตัง พรัหมะจะริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติปะชานาตีติ
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
พระพุทธบรมครูเจ้า
คือ นิพพาน
ดังนี้เอง
โฆษณา