10 ก.ค. 2024 เวลา 05:30 • สุขภาพ

“แคลเซียม” ช่วยเรื่องกระดูกได้จริงหรือไม่? เปิดข้อมูลการแพทย์

“แคลเซียม” ช่วยเรื่องกระดูกได้จริงหรือไม่? เปิดข้อมูลการแพทย์
ก่อนจะไปดูเรื่องแคลเซียม อยากให้รู้ก่อนว่า กระดูกไม่ได้หยุดการเจริญเติบโตแค่ในช่วงวัยรุ่น แม้ว่าขนาดของกระดูกจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ “มวลกระดูก” จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามตัวเลขอายุ และกระดูกจะมีมวลสูงสุด เมื่ออายุ 25-30 ปี และคงที่ไปจนถึงอายุประมาณ 40 ปี หลังจากนั้นมวลกระดูกจึงค่อยๆ ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยประมาณ 0.3-0.5% ต่อปีเลยทีเดียว นั้นคือสาเหตุของโรคภัยกระดูกในผู้สูงอายุ
ออกกำลังกายเพิ่มแคลเซียม
กินแคลเซียมช่วยเสริมกระดูกได้จริงหรอ?
ถ้าพูดถึงการเสริมกระดูกเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน แน่นอนว่าเราจะนึกถึงอาหารเสริม อย่าง แคลเซียม(Calcium) ส่วนจะเสริมสร้างแคลเซียมกระดูกหรือไม่? คำตอบคือขึ้นอยู่กับปริมาณแคลเซียมที่คุณได้รับจากอาหารในแต่ละวัน โดยปริมาณที่ควรได้รับคือประมาณ800-1,000 มก. ต่อวัน
ทั้งนี้ทั้งนั้น การทานแคลเซียมให้เพียงพอควรทำต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงอายุยังไม่มาก เพราะเมื่อมวลกระดูกลดลงในช่วงอายุมากขึ้น เราก็ไม่สามารถทำให้มวลกระดูกกลับมาหนาแน่นเท่าเดิมได้ แต่สิ่งที่เราทำได้ คือ การดูแลให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงอย่างช้าที่สุดนั่นเอง
ทานแคลเซียมมากไปก็เสี่ยงโรคได้ ?
อะไรที่น้อยไปและมากไปย่อมไม่ส่งผลดี การทานแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นก็ทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วในไต มะเร็งต่อมลูกหมาก ท้องผูก การดูดซึมธาตุเหล็กและสังกะสีในร่างกายบกพร่อง หรือภาวะแคลเซียมเกาะตามผนังหลอดเลือด ดังนั้นการวางแผนในการทานอาหารเพื่อควบคุมปริมาณแคลเซียมให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
5 เคล็ดลับรักษามวลกระดูก
  • ออกกำลังกาย อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที ประมาณสัปดาห์ละ 3 ครั้งขึ้นไปจะทำให้กระดูกแข็งแรง
  • ทานแคลเซียมให้เพียงพอ โดยตามคำแนะนำของกรมอนามัย ระบุไว้ว่าผู้ที่อายุน้อยกว่า 50 ปี ควรทานแคลเซียมให้ได้ประมาณ 800 มิลลิกรัมต่อวัน ในขณะที่ผู้ที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป ควรทานแคลเซียมให้ได้ประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เลือกผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม ในกรณีที่ไม่สามารถทานแคลเซียมให้ได้ปริมาณตามที่กล่าวไปข้างต้น การทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินนะคะ
  • เติมวิตามินดีให้ร่างกายด้วยการรับแสงแดดยามเช้า เพราะวิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เราจึงควรออกไปรับแสงแดดในช่วงเวลาประมาณ 00-10.00 น. เป็นเวลา 30 นาทีจะช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้มากถึง 200 ยูนิตเลยทีเดียว
  • ลดพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย4
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTV บันเทิง : https://www.facebook.com/PPTVHD36Entertainment
โฆษณา