10 ก.ค. เวลา 08:00 • ครอบครัว & เด็ก

Thailand as the Longevity Society: ประเทศไทยกับสังคมสูงวัย

[#LongevitySociety]: เมื่อประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่มีผู้สูงวัยมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลกในช่วงปี 2035 การปรับสู่สังคมผู้สูงวัยของไทยเป็นไปอย่างไรบ้าง ที่นี่มีคำตอบ
จากการที่จำนวนประชากรสูงวัยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะเพิ่มสูงขึ้นอีกกว่าร้อยละ 30 ซึ่งทำให้ไทยเปลี่ยนจากลำดับที่ 10 ในปี 2015 ไปสู่ลำดับที่ 6 ของโลกในปี 2035 โดยที่จำนวนประชากรสูงวัยมากกว่า 60 ปี เพิ่มขึ้นมากถึง 23 ล้านคน เนื่องด้วยประเด็นประชากรสูงวัยและอัตราการพึ่งพาตนเองที่ลดลงนั้น จะส่งผลต่อระบบเงินบำนาญโดยภาครัฐ อีกนัยหนึ่ง และภายในปี 2040 ประเทศไทยจะมีอัตราส่วนคนในวัยทำงาน 2 คนต่อผู้สูงวัย 1 คน
ด้วยเหตุนี้นโยบายภาครัฐที่ออกมา จึงเน้นการให้ความช่วยเหลือเพื่อลดความท้าทายที่เกิดจากปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้สูงวัย จากกรณีประเทศญี่ปุ่น ได้มีการปรับอายุเกษียณจาก 62 ไปเป็น 65 ปี ในขณะที่สิงคโปร์เลื่อนการเกษียณอายุจาก 65 ปีไปเป็น 67 ปี หรือแม้กระทั่งประเทศไทยที่เสนอให้มีการปรับอายุเกษียณจาก 55 เป็น 63 ปีเช่นกัน
และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการขยายการเกษียณอายุ รัฐบาลทั้งสามประเทศได้มีการสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการปรับทักษะการทำงานสำหรับกลุ่มสูงวัย หรือทักษะสู่โลกอนาคต รวมทั้งการเพิ่มแรงจูงใจผ่านการลดหย่อนภาษีและเครดิตพิเศษสำหรับการจัดจ้างผู้สูงวัยเข้าทำงาน
นัยยะสำคัญต่ออนาคต:
- การออกแบบพื้นที่การทำงานและนโยบายขององค์การด้านทรัพยากรบุคคล อาจต้องมีการพิจารณาให้มีความเหมาะสมต่อการทำงานหลากหลายช่วงวัยในที่ทำงานเดียวกัน
- ทักษะที่สำคัญต่อการทำงานในโลกอนาคตต้องเกี่ยวข้องกับการประสาน และเติมเต็มในการสร้างความสมดุลระหว่างคนหลากหลายเจนเนอเรชัน ทั้งภูมิปัญญาประสบการณ์จากคนรุ่นสูงวัยและการพัฒนาของเทคโนโลยีของคนรุ่นใหม่
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก www.futuretaleslab.com หรือติดตามที่ https://www.blockdit.com/futuretaleslab
#FutureTalesLAB #FutureofPossible #สังคมสูงวัย #Wellbeing #MQDC
โฆษณา