11 ก.ค. เวลา 07:54 • ความคิดเห็น

หลายวันนี้ผมได้ยินเหตุผลที่คนต่อต้านการปิดป่าทับลานยกมา

นั่นคือ "ชาวบ้านเดือดร้อนไม่มีที่ทำกิน" และ "ป่ามันเสื่อมแล้ว"
2
และชี้นิ้วคนที่ต้องการปกป้องป่าว่า "โลกสวย" และ "เขียวตกขอบ"
2
นี่ทำให้นึกถึงหลักวิชาการคิดที่เน้นเรื่องหนึ่งคือตรรกะวิบัติ (fallacy) จับเรื่องหนึ่งไปโยงอีกเรื่องหนึ่ง แล้วสรุปคำตอบ
2
หลักคิดที่ถูกคือต้องไร้ preconceived idea (ความคิดปรุงแต่งล่วงหน้า) คิดรอบๆ คิดกว้างๆ คิดไกลๆ มองทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าจะมองไม่เห็น แต่ต้องขบคิด
ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าผมบอกว่า ปัญหาป่าทับลานเกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุข หรือการไอของลูกคุณ หลายคนก็บอกว่าไม่เห็นเกี่ยวกันตรงไหน
1
ยกอุปมาให้เข้าใจดีกว่า
ทุกวันตามถนนสายต่างๆ ที่มีคนพลุกพล่าน มีพ่อค้าแม่ค้าเข็นรถขายอาหารไปตั้งบนทางเท้า บ่อยครั้งก็กีดขวางทางจราจร แต่เราก็อยู่กันมาแบบอะลุ่มอล่วย เพราะเห็นใจกัน ทุกคนต้องทำมาหากิน
1
แต่สมมุติว่าจำนวนรถเข็นเพิ่มขึ้นจนล้นทางเท้า พ่อค้าแม่ค้ารวมตัวกันขอให้รัฐเปลี่ยนถนนหนึ่งเลนเป็นทางเท้าขายของ น่าเห็นใจ "เพราะพวกเขาเดือดร้อน"
มิเพียงเท่านั้นหากมันทำได้ ไม่ช้านานถนนสายอื่นๆ ก็ต้องสละทางให้คนขายของ
ดังนั้น "เพราะพวกเขาเดือดร้อน" จึงเป็นตรรกะวิบัติ ใช้เป็นเหตุผลที่จะทุบถนนไม่ได้ เพราะหากเราแก้ปัญหาโดยเปลี่ยนพื้นถนนเป็นทางเท้า คนใช้ถนนก็เดือดร้อน หากชาวบ้านที่อาศัยในสลัมขอไปเจียดพื้นที่บ้านนายกฯมาหน่อย นายกฯก็เดือดร้อน
7
ป่าทับลานและป่าอื่นๆ ก็เช่นกัน จะเปลี่ยนมันเป็นพื้นที่ทำกินเพราะชาวบ้านเดือดร้อนไม่ได้ เพราะจะมีคนทั้งประเทศที่เดือดร้อนจากการทำลายป่า ก็คือเราทุกคน
มองให้ทะลุปัญหา สิ่งที่เรียกว่าปัญหาทับลานไม่ใช่ปัญหาชาวบ้านไม่มีที่ทำกิน แต่เป็นปัญหาการปกป้องป่าทั้งประเทศ
7
ป่าเป็นต้นกำเนิดชีวิต อาหาร อากาศ เป็นเครื่องปรับอากาศให้ทั้งประเทศ การทำลายป่าแม้ตารางนิ้วเดียว ณ เวลานี้ไม่พึงกระทำ
2
เราทุกคนร้องเพลงชาติไทย รู้ไหมว่าประโยค "เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่" นี้รวมป่าด้วย
1
สมัยผมเป็นเด็ก ประเทศมีป่าไม้ราวสามในสี่ของพื้นที่ประเทศ แต่ด้วยตรรกะวิบัติที่เรียกว่า 'ความเจริญ' เราทำลายบ้านตัวเอง จนตอนนี้สภาพอากาศแปรปรวน
4
อุทกภัย คนป่วย (ทีนี้เข้าใจแล้วยังว่า ป่าทับลานเกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุขอย่างไร)
รู้ไหมว่าถ้าป่าหาย สัตว์หาย แมลงหาย น้ำผึ้งก็หายไปด้วย
เอาละ ก็มาถึงข้ออ้างที่ถูกนำมาใช้ "ชาวบ้านเดือดร้อนไม่มีที่ทำกิน" เราจะไม่สนใจชาวบ้านที่เดือดร้อนหรือ?
แน่นอน เราต้องสนใจและต้องแก้ปัญหา แต่การแก้ปัญหาที่ทำกินของชาวบ้าน ไม่ได้มีทางเลือกเดียวคือตัดป่า ก็คิดเอาสิ
1
ถ้าคิดได้แค่ตัดป่า วันหนึ่งราคาที่เราคนไทยทั้งประเทศจ่าย จะสูงกว่าพื้นที่ป่าที่เราคิดเฉือนทิ้งในวันนี้ล้านล้านล้านเท่า เฉพาะค่ายารักษาโรคทางเดินหายใจที่ตามมาหลังป่าหมด คูณจำนวนปีของอายุประเทศไทยที่เหลือ ก็คิดเป็นตัวเลขไม่พอใส่แผ่นกระดาษ
3
มันก็คือตรรกะเดียวกับเมื่อเด็กไทยอ่านไม่ออก คิดไม่เป็น เราก็แจกแท็บเล็ต
สำหรับข้ออ้าง "ป่ามันเสื่อมแล้ว" แปลว่าอะไรที่เสื่อมก็ยกให้คนอื่นงั้นหรือ? มันปลูกใหม่ไม่ได้เพราะมันมีสารกัมมันตภาพรังสี? หรือมีพิษ? หรือมีผีสิง? หรือพ่อมดมันตรัยสาปไว้? หรืออะไร?
2
ทางแก้ปัญหามีมากมาย ถ้าใช้สมองคิด และข้อห้ามแรกของการคิดแก้ปัญหาคือ การมีคำตอบเรียบร้อยก่อนแล้ว
2
ใครกันแน่ที่โลกสวย?
2
โฆษณา