11 ก.ค. เวลา 09:26 • ปรัชญา

พระอิศวร สันสกฤตแปลว่า ผู้เป็นใหญ่ หมายถึง พระเป็นเจ้า ไม่ได้เจาะจงเพียงพระศิวะ

บาลี อิสฺสร :
(1) ผู้เป็นเจ้า, ผู้ปกครอง, ผู้เป็นนาย, หัวหน้า (lord, ruler, master, chief)
(2) พระเจ้าผู้สร้างโลก, พระพรหม (creative deity, Brahmā)
คำว่า ”อิศวร“ ในพระไตรปิฎกจึงไม่ได้หมายถึงพระศิวะ แต่หมายถึง พระเจ้า ที่เจ้าลัทธินั้นๆนับถือ ยุคนั้นน่าจะเป็นช่วงคัมภีร์อุปนิษัทที่เกิดใกล้เคียงกัน ช่วงพระพรหมสูงกว่าพระอินทร์
อิศวรในพระไตรปิฏกจึงหมายถึง พระเจ้าในลัทธิ อิสสรนิมมานเหตุวาท เชื่อว่าพระเจ้า(อิศวร) ดลบันดาลทุกอย่าง และลิขิตทุกอย่าง ยังไม่ได้มีแนวคิดพระตรีมูรติ
มีในเรื่องสักกปัญหาที่ท้าวสักกะคนปัจจุบันฟังธรรมแล้วบรรลุพระโสดาบันพร้อมเทวดา 80000 องค์ ถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะแทนพระพรหมธาดา ในยุคที่นับถือพระพรหมในสถานะ “อิศวร”
ส่วน พระนามที่คนฮินดูชอบเรียกพระศิวะ ส่วนมากคือ พระปรเมศวร,มเหศวร , มหาเทพ มากกว่าเรียก อิศวร แต่ก็เป็นพระนามหนึ่งของทั้งพระศิวะ และ พระนารายณ์เหมือนกัน แล้วแต่ว่านิกายไหนอวยใคร
อ้างอิง: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
โฆษณา