12 ก.ค. เวลา 03:58 • ปรัชญา
ตอบตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ หน้า๔๐๒ รจนาโดยพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) สงสัยอะไรก็ถามไปได้คำตอบที่ชัดเจนตรงประเด็นทุกครั้งค่ะ
คำว่า “ สมาธิ หมายถึงความมีใจตั้งมั่น ความตั้งมั่นแห่งจิต การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน ภาวะที่จิตตั้งเรียบแน่วอยู่ในอารมณ์คือสิ่งอันหนึ่งอันเดียว ”
สำหรับครูเองภาคปฏิบัติ คือธรรมชาติของจิต จะมี๑.อาหารของจิตคือปัญหาและ
๒.การปรุงแต่งคือเพิ่มรสชาติอาหาร เติมไป ปรุงมาให้ถูกจริตคือตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะของเรา
๓.ปรุงจนจิตพอใจ คือถูกจริต ถูกกิเลส อึม เออ อ้อ เอา บางคนจิตปราศจากการฝึก การควบคุม ก็ไปเรื่อยเปื่อย ผิดศีล จิตนี้ขาดพลังที่ดีในการควบคุม จิตอ่อนแอ ฟุ้งซ่าน เจ๊กลากไป ไทยลากมา ไม่เป็นตัวของตัวเอง
๔.เราจึงต้องฝึกจิต การรวมจิตมาให้เป็นหนึ่งอยู่ในอารมณ์เดียว เรียกว่าจิตมีสมาธิ มีวิธีการคือ
๑.ให้จิตทำงานจดจ่ออยู่กับคำภาวนา
๒.การทำงาน
๓.เราจะใช้ข้อนี้มากที่สุดเพราะทำให้เกิดปัญญา คือ การพิจารณา ใคร่ครวญกับปัญหา วิธีแก้ปัญหาคือหาทางออกจากปัญหา ไม่ใช่หนีปัญหา
๔.เมื่อเราฝึกเช่นนี้บ่อยๆ ประจำ จิตจะรู้งานของเขาเอง
๕.ทั้งหมดนี้คือการมองจิตเห็นจิต จิตจะมี เกิดสมาธิอยู่ในธรรมชาติของตนเอง ไม่ใช่เรื่องง่าย จะเกิดสติ จิตจะเห็นจิต เหมือนเตรียมพร้อม ทำได้เราจะนิ่ง
ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ เริ่มต้นดีก็มีชัยไปแล้วครึ่งหนึ่ง ของท่านอาจารย์พุทธทาสดีมากค่ะ
โฆษณา