12 ก.ค. เวลา 10:33

ประเพณีตักบาตรดอกไม้ หนึ่งเดียวในไทย จังหวัดสระบุรี

#Culture ทำบุญตักบาตร หนึ่งในประเพณีของชาวพุทธที่ปฏิบัติกันมาแต่สมัยพุทธกาล ตักบาตรเป็นการถวายกำลังแก่พระภิกษุในการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาในหนทางหนึ่ง และในอีกทางยังเป็นกิจกรรมสร้างความอบอุ่น ปลูกฝังศีลธรรมแก่ครอบครัว
.
ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ที่จัดขึ้นทุกปี ณ จังหวัดสระบุรี แห่งเดียวในประเทศไทย โดยการตักบาตรดอกไม้พื้นบ้าน ที่ชาวสระบุรีเรียกว่า "ดอกเข้าพรรษา" เป็นดอกไม้ป่า ซึ่งดอกจะบานเฉพาะช่วงเทศกาล เข้าพรรษา
.
ตำนานสมัยพุทธกาล เล่าว่า นายสุมนมาลาการ เป็นชาวเมืองราชคฤห์ เขามีหน้าที่นำดอกมะลิไปถวายพระเจ้าพิมพิสารวันละ 8 ทะนาน ทุกวัน และจะได้ทรัพย์วันละ 8 กหาปณะ ต่อมาเช้าวันหนึ่ง ขณะที่เขากำลังถือดอกไม้จะเข้าประตูเมือง เป็นเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกบิณฑบาตพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เขาเห็นพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงถวายดอกไม้
.
ด้วยดอกไม้ที่จะนำไปถวายพระราชาโดยมีความคิดว่า แม้จะต้องตายด้วยโทษประหารก็ยอม ชาวเมืองทราบดังนั้นจึงพาการโห่ร้องสรรเสริญเป็นอันมาก มีเพียงภรรยาของเขาที่ไม่พอใจ ภรรยาจึงนำความนั้นไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร แต่พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน นอกจากจะไม่โกรธแล้ว ยังนำความนี้กราบทูลพระพุทธเจ้าอีกที
.
พระพุทธเจ้าได้กล่าวสรรเสริญนายสุมนมาลาการ ทำให้นายสุมนมาลาการได้รับของพระราชทานจากพระเจ้าพิมพิสารถึง 8 ชนิด คือช้าง ม้า ทาส ทาสี เครื่องประดับ นารี อย่างละแปด ทรัพย์อีก 8 พันกหาปณะ และบ้านส่วยอีก 8 ตำบล ครั้นกลับถึงวัด พระอานนท์ได้กราบทูลผลบุญที่นายสุมนมาลาการจะพึงได้รับ พระพุทธองค์ตรัสว่า นายสุมนมาลาการได้สละชีวิตบูชาพระองค์ในครั้งนี้จักไม่ได้ไปเกิดในนรกตลอดแสนกัลป์
.
ที่จังหวัดสระบุรี ได้มีการค้นพบรอยพระพุทธบาท ที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร (อ.พระพุทธบาท) ซึ่งถูกค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย อีกทั้งในพงศาวดารยังบันทึกไว้ว่าพระมหากษัตริย์เกือบทุกพระองค์ตั้งแต่มีการค้นพบรอยพระพุทธบาทนี้ ได้เสด็จมานมัสการรอยพระพุทธบาทที่สระบุรีทุกปี
.
ในช่วงฤดูฝนและเข้าพรรษาซึ่งจะอยู่ในช่วงฤดูนี้ ดอกไม้ท้องถิ่นคล้ายกระชาย หรือว่านขมิ้น ซึ่งสีสันนั้นจะมีทั้งเหลือง สีขาว และบางต้นจะมีสีเงินม่วง ขึ้นตามไหล่ภูเขาโพธิลังกา หรือเขาสุพรรณบรรพต เทือกเขาวง และภูเขาต่าง ๆ ในเขตอำเภอพระพุทธบาท และจะออกดอกในช่วงเวลานี้ ชาวบ้านพบเห็นดอกไม้จึงเก็บมาถวายพระสงฆ์ และได้เรียกชื่อกดอกไม้ว่า "ดอกเข้าพรรษา" และนำมาสักการะรอยพระพุทธบาท เป็นประจำทุกปี จึงกลายเป็นประเพณี "ตักบาตรดอกไม้"
.
การจัดงาน ตักบาตดอกไม้ ประเพณีที่สืบต่อกันมาทุกปี ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ กิจกรรมจะเริ่มมีขึ้นก่อนวันเข้าพรรษา โดยในงานจะประกอบไปด้วยการตักบาตรพระสงฆ์ 3,000 รูป การถวายเทียนพรรษา ขบวนแห่งทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านของชาวสระบุรี ขบวนจำลองพยุหยาตราของสมเด็จ
พระเจ้าทรงธรรมเสด็จมานมัสการรอยพระพุทธบาท รวมไปถึงการประกวดไม้ดอกไม้ประดิษฐ์
.
ประเพณีแต่โบราณกาลที่มีการยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา ล้วนทรงคุ้นค่า เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม
ขอขอบคุณข้อมูล
.
Better Day
กำลังใจเติมให้กันได้ทุกวัน
#betterday
โฆษณา