13 ก.ค. เวลา 01:51 • การเมือง

มติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติว่าด้วยเรื่อง เรียกร้องให้รัสเซีย

“ถอนกำลังทหารออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซีย” และ “ถอนทหารทั้งหมดออกจากดินแดนยูเครน”
2
ผลโหวตในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 11 กรกฎาคม 2024 ตามเวลาในท้องถิ่น เกี่ยวกับการเรียกร้องและต่อต้านรัสเซีย “ภัยต่อความปลอดภัยด้านเทคนิคและทางกายภาพของโรงงานนิวเคลียร์ในยูเครน รวมถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซีย” ได้รับการเผยแพร่โดยฝ่ายข่าวประชาสัมพันธ์ของยูเอ็น
แน่นอนว่ามติดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก 50 ประเทศหลักฝ่ายตะวันตกบวกประเทศโปรตะวันตก แต่ที่น่าสังเกตคือ “ฮังการี” “สโลวาเกีย” และ “ตุรกี” ทั้งสามประเทศซึ่งมีความใกล้ชิดและถูกมองว่าโปรรัสเซียได้โหวต “สนับสนุนมติ (ต่อต้านรัสเซีย)” ดังกล่าวด้วย นี่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า “คนกลางที่จะช่วยเจรจาสานความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับตะวันตก คงหายากขึ้นทุกที”
วิกเตอร์ ออร์บาน (ซ้าย) นายกรัฐมนตรีฮังการี / โรเบิร์ต ฟิโก (ขวา) นายกรัฐมนตรีสโลวาเกีย เครดิตภาพ: AFP via Getty Images
การลงมติมีเป้าหมายอย่างน้อยสองประการ คือ เพื่อแสดงบนเวทีระหว่างประเทศในการบอกให้ชาวโลกรับรู้อีกครั้งว่า “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซียที่ตกอยู่ในมือของรัสเซียเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของโลก” และในขณะเดียวกันก็ต่อยอดผลลัพธ์ของ “การประชุมสันติภาพที่สวิตเซอร์แลนด์ (ที่ผ่านมา)” เห็นว่าจะมีการจัดการประชุมสันติภาพ (อีกแล้ว) ในรูปแบบคล้ายกันภายในปีนี้ (ก่อนเลือกตั้งสหรัฐฯ ปลายปี) เพื่อเดินหน้า โดยพยายามชวนรัสเซียมาร่วมด้วย (ลบคำครหาจากครั้งก่อน)
มติดังกล่าวเรียกร้องให้รัสเซีย “ถอนกำลังทหารและบุคลากรที่ไม่ได้รับอนุญาตอื่นๆ อย่างเร่งด่วน” ออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซีย นอกจากนี้ยูเอ็นยังเรียกร้องให้รัสเซียถอนทหารทั้งหมดออกจากดินแดนยูเครนโดยกำหนดไว้ “ภายในเขตแดนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล”
1
เครดิตภาพ: AP
จากจำนวนสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ มี “99 ประเทศสนับสนุนมติ” มี “9 ประเทศโหวตไม่เห็นด้วย” “งดออกเสียง 60 ประเทศ” และ 25 ประเทศไม่ได้มีส่วนร่วมในการโหวต ผลโหวตเห็นว่าประเทศที่ลงเสียงสนับสนุนมีเกินครึ่งหนึ่งมาเพียงเล็กน้อย
1
  • ฝั่งที่โหวตสนับสนุนเห็นด้วยที่น่าสนใจ เช่น ฮังการี สโลวาเกีย ตุรกี เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์
  • ฝั่งโหวตไม่เห็นด้วย (ก็น่าจะเดาได้) คือ เบลารุส บุรุนดี เกาหลีเหนือ คิวบา มาลี นิการากัว รัสเซีย ซีเรีย และเอริเทรีย
  • ฝั่งที่โหวตงดออกเสียง ซึ่งรวมถึง “ไทย” และประเทศที่อยู่ในภูมิภาคอาเซียนส่วนใหญ่ ยกเว้น “เมียนมาร์” “ฟิลิปปินส์” กับ “สิงคโปร์” ที่ลงเสียงสนับสนุนให้รัสเซียถอนกำลังออกจากยูเครน นั่นคืออยู่ฝั่งตะวันตก และประเทศที่มีบทบาทสำคัญอื่นๆ ที่ไม่ร่วมโหวต ได้แก่ จีน บราซิล อินเดีย แอฟริกาใต้ เอธิโอเปีย อิหร่าน ยูเออี อียิปต์ (กลุ่ม BRICS) ซาอุดิอาระเบีย ปากีสถาน กลุ่มประเทศเอเชียกลาง (ชื่อลงท้ายด้วยสถาน) ไนจีเรีย เป็นต้น
1
Rafael Mariano Grossi ผู้อำนวยการ IAEA เครดิตภาพ: UN Photo/Loey Felipe
จะเห็นว่าไทยเราวางตัวต่อมติสหประชาชาตินี้เป็นกลาง ไม่สนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ พยายามรักษาความสัมพันธ์ฝั่งตะวันตก และไม่ต่อต้านฝั่งรัสเซีย คล้ายกับหลายประเทศในอาเซียน ยกเว้นบางประเทศที่กล่าวไปข้างต้น
เรียบเรียงโดย Right Style
13th July 2024
  • แหล่งข่าวและข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: UN News>
โฆษณา