21 ก.ค. เวลา 00:00 • หนังสือ

หินใหญ่ในใจ | The Zen Moment

อาจารย์ฝะเหยี่ยนเหวินอี้ได้ยินพระทั้งสี่รูปถกเถียงกันหน้าดำหน้าแดงเรื่องอัตวิสัยกับวัตถุวิสัย
อาจารย์เอ่ยว่า "มีหินใหญ่ก้อนหนึ่ง พวกเจ้าคิดว่ามันอยู่ภายในหรือภายนอกจิตของพวกเจ้า?"
พระรูปหนึ่งตอบว่า "ในมุมมองของชาวพุทธ ทุกสิ่งเกิดมาจากการที่จิตก่อให้เกิดเป็น 'วัตถุ' ขึ้นมา ดังนั้นอาตมาขอบอกว่า หินอยู่ภายในจิต"
อาจารย์ฝะเหยี่ยนเหวินอี้กล่าวว่า "หัวของเจ้าคงรู้สึกหนักน่าดู ถ้าเจ้าแบกหินใหญ่ขนาดนั้นไว้ในใจ"
พระรูปหนึ่งถามอาจารย์ฝะเหยี่ยนเหวินอี้ "เราควรทำอย่างไรดีกับกระจกเงาที่สว่างใส?"
"จงทำลายมันให้แตกเป็นพันเสี่ยง"
ทำลายกระจกเงาให้แตกเป็นพันเสี่ยง แต่ละเสี่ยงก็ยังคงความเป็นกระจกเงา สะท้อนได้ เศษแต่ละชิ้นก็คือกระจกเงา สะท้อนสิ่งที่มันอยู่ใกล้
กระจกเงาสะท้อนได้ทั้งจักรวาล!
สามร้อยกว่าปีหลังจากนั้น อาจารย์โดเง็นก็พูดเรื่องเดียวกัน โดยเปรียบถึงหยดน้ำค้างบนใบหญ้าที่สามารถสะท้อนท้องฟ้าได้ทั้งมวล
หมายเหตุ อัตวิสัย (Subjectivity) การถือความคิดหรือความเข้าใจของตนเองเป็นหลัก ภววิสัย หรือ วัตถุวิสัย​ (Objectivity) การถือความคิดหรือความเข้าใจตามภาวะที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ โดยไม่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดของตนเอง เป็นสภาพที่เป็นไปเช่นนั้นเอง โดยไม่อยู่ใต้จิตสำนึกหรือเจตนารมณ์ของผู้ใด
จาก มังกรเซน (หนังสือเซนที่ต้องค่อยๆ ละเลียด) และ Mini Zen (เซนฉบับการ์ตูน)
มังกรเซน Shopee คลิก https://shope.ee/2VUCymbmSh?share_channel_code=6
โฆษณา