Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
14 ก.ค. เวลา 14:56 • ไลฟ์สไตล์
เมื่อสายพันธุ์ของกาแฟรอบตัวเรา ไม่ได้มีแค่ Arabica และ Robusta ☕🍒
ส่วนใหญ่ที่เราคุ้นเคยกันก็จะมีแค่ 2 สายพันธุ์หลัก ๆ กันเนอะ
แต่เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า ยังมีกาแฟหลากหลายสายพันธุ์ที่ยังรอให้เราได้ชิมกันอยู่นะ (ถึงแม้จะไม่ค่อยเห็นหน้าค่าตาน้องเท่าไร…)
ถ้ากาแฟสายพันธุ์หลัก ๆ มีอยู่แค่ Arabica และ Robusta ส่วนสายพันธุ์อื่น ๆ เป็นการพัฒนาต่อยอดออกมาเรื่อย ๆ
เอ ว่าแต่…ทำไมถึงมีกาแฟหลากหลายสายพันธุ์ขนาดนี้ด้วยละ ?
🤓จากที่เราไปค้นหามา ก็พบคำตอบคร่าว ๆ ว่าแบบนี้นะ
- เพื่อการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น
- ทนทานต่อโรคและแมลง
- หลายสายพันธุ์ อาจเกี่ยวข้องจากปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับแหล่งที่ปลูก เช่น สภาพอากาศ ดินที่ปลูก ภูมิประเทศ เป็นต้น
- เอาใจผู้บริโภคที่ต้องการลองกาแฟใหม่ ๆ
- เพิ่มคุณภาพให้กับผลผลิตของกาแฟสายพันธุ์เดิม (อันนี้สารภาพว่า ยังไม่เข้าใจดีมากเท่าไร แต่พวกเราคิดว่าน่าจะเป็นการพัฒนาสายพันธุ์เดิม ให้ดียิ่งขึ้น ปลูกง่าย ผลผลิตดีมากขึ้น)
[ 🤩 เรื่องราวสั้น ๆ ของกาแฟสายพันธุ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ ]
1. สายพันธุ์ Bourbon 🇪🇹🇫🇷
กาแฟสายพันธุ์ Bourbon มีต้นกำเนิดจากเกาะเรอูนียง (Réunion) ซึ่งเดิมชื่อเกาะบูร์บอง (Île Bourbon) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อนั่นเองคร้าบ แต่ต้นกำเนิดจากกาแฟสายพันธุ์นี้ แท้จริงแล้วมาจากชาวเอธิโอเปียที่นำไปเพาะปลูกที่เยเมน ก่อนที่ชาวฝรั่งเศสจะนำไปพัฒนาที่เกาะ Réunion
กาแฟสายพันธุ์ Bourbon จะนิยมปลูกในพื้นที่สูง มีสภาพภูมิอากาศที่เย็นและมีฝนตกสม่ำเสมอ พื้นที่ปลูกที่โดดเด่น สำหรับเจ้าสายพันธุ์ เช่น ประเทศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ (บราซิล โคลอมเบีย เอลซัลวาดอร์ และกัวเตมาลา)
2.สายพันธุ์ Geisha หรือ Gesha 🇪🇹🇵🇦
🇪🇹 เห็นชื่อนี้ หลายคนคงนึกถึงเกอิชา สาวงามของญี่ปุ่น แต่…แอ้ดแอ้ด ผิดนะคร้าบ ไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยเด้อ
แต่ว่าเกอิชาในที่นี้ จะหมายถึงกาแฟสายพันธุ์เกอิชาหรือเกชา ซึ่งชื่อนั้นมาจากป่า Gori Gesha forest ในประเทศเอธิโอเปีย นั่นเอง
🇰🇪 กาแฟสายพันธุ์ Geisha ถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในช่วงทศวรรษที่ 1930 ในขณะที่กำลังสำรวจพื้นที่ป่าของเอธิโอเปีย ก่อนที่นักพฤกษศาสตร์ท่านนี้จะนำตัวอย่างของผลเบอร์รี (ผลกาแฟ นะแหละ) ส่งไปยังห้องแล็ปในประเทศแทนซาเนียและเคนยา เพื่อค้นหาสายพันธุ์กาแฟที่ทนทานต่อโรค
🇵🇦 ค.ศ.1960 กาแฟสายพันธุ์ Geisha T2722 ถูกนำมาปลูกที่ปานามา ซึ่งวัตถุประสงค์หลักที่นำมาปลูกคือต้องการต้นกาแฟที่ทนทานต่อโรคราสนิม
🇵🇦 จนต่อมาเนี่ย กาแฟสายพันธุ์ Geisha ที่ปลูกในปานามามีคุณภาพสูงมากและได้รับการยกย่องอย่างมากในวงการกาแฟระดับโลก ในปี 2004 กาแฟ Geisha จากฟาร์ม Hacienda La Esmeralda ได้รับรางวัล Best of Panama ซึ่งเป็นการประกวดกาแฟที่มีชื่อเสียง ทำให้กาแฟ Geisha เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมทั่วโลก
เรียกได้ว่า มามีชื่อเสียงจากสายพันธุ์ที่โตจากประเทศปานามานั่นเอง (เอ้า เฉยเลย..😄)
3.สายพันธุ์ Excelsa 🇨🇫
มาถึงสายพันธุ์ที่หลายคนอาจไม่คุ้นหู แต่ถ้าเราเสิร์ชคำว่า เมล็ดกาแฟ หรือ ประเภทของเมล็ดกาแฟไปเนี่ย เราจะเจอกับตัวอย่างของเมล็ดกาแฟสายพันธุ์เอ็กซ์เซลซ่าเยอะพอสมควร (พอ ๆ กับ สายพันธุ์ Liberica)
เจ้าตัวนี้ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา โดยลักษณะของเมล็ดนั้นจะคล้ายกับกาแฟโรบัสต้า กาแฟเอ็กซ์เซลซ่านี้ได้รับความนิยมในแอฟริกา แต่สำหรับในประเทศอื่นๆ ยังคงได้รับความนิยมไม่มากเท่าที่ควร เนื่องจากมีความเข้มข้นในเรื่องของรสชาติที่มากจนถึงขมพร่าเลยทีเดียว แต่ว่ากันว่าชาวแอฟริกันสามารถดื่มกาแฟชนิดนี้ได้ตลอดทั้งวัน 🇨🇫
(ซึ่งถ้ามันคล้ายกับสายพันธุ์โรบัสต้านี้ เราคิดว่าคาเฟอีนจุกๆไปเลยละนะ 😲)
แม้จะดูหายากถ้าพูดถึงภาพใหญ่แบบทั่วโลกก็จริง หากแต่ว่าในภูมิภาคบ้านเราอย่าง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เนี่ย หาพบได้ไม่ยากนะ แถมนิยมปลุกกันอีกตะหากละ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม โดยนิยมปลูกในประเทศเวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
4.สายพันธุ์ Liberica 🇱🇷
เมล็ดกาแฟลิเบอริก้ามีถิ่นกำเนิดในไลบีเรีย จึงได้รับชื่อว่า Liberica ตามประเทศต้นกำเนิดนั่นเอง
โดยถูกค้นพบประมาณปี 1890 โดยการพัฒนาสายพันธุ์นี้ มาจากปัญหาที่เมล็ดกาแฟสายพันธุ์ Arabica ถูกทำลายโดยโรคราสนิมใบกาแฟ (coffee leaf rust) ในหลายพื้นที่ของทวีปแอฟริกา
เพื่อน ๆ ทราบไหมว่าที่ประเทศมาเลเซีย มีการปลูกกาแฟสายพันธุ์สายลิเบอริก้ามากถึง 90% เลยทีเดียวนะ แต่โดยมากกาแฟสายพันธุ์นี้จะไม่ค่อยนำมาทำเป็นกาแฟดื่มทันทีเลย (ว่ากันว่ารสชาติอาจไม่ดีนัก เราก็ไม่เคยชิมเหมือนกันนะคร้าบ แห่ะ ๆ 🥲) แต่มักจะถูกนิยมใช้ไปผสมเพื่อทำเป็นสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น คาติมอร์
5.สายพันธุ์ SL 28
มีอีกฉายาว่า กาแฟเคนย่า บอดี้แน่น หอมกลิ่นผลไม้ มีต้นกำเนิดจากนักวิจัยของ Scott Labs ได้นำกาแฟจากย่าน "ตันกันยิก้า" ของแทนซาเนีย เข้ามาปรับปรุงสายพันธุ์ในเคนย่า แต่ว่าสายพันธุ์อาจจะยังไม่ทนต่อโรคมากเท่ากับสายพันธุ์อื่น
โดยชื่อของ SL เนี่ย มันก็มาจาก “Scott Laboratories” ชื่อของห้องแล็ปผู้พัฒนานี่เองคร้าบ
6.สายพันธุ์ SL 34
SL34 เป็นกาแฟที่นำสายพันธุ์ Bourbon มาพัฒนาต่อโดย Scott Labs หรือพูดๆง่ายคือ นำสายพันธุ์ SL28 มาพัฒนาต่อ (เหมือนพัฒนาiphone รุ่นใหม่ ๆ เลยเนอะ) ๆ
หลัก ๆ คือ เขาต้องการพัฒนากาแฟสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศที่
เปลี่ยนแปลงและมีความทนทานต่อโรคราสนิมใบกาแฟ (coffee leaf rust) และสามารถเติบโตได้ดีในพื้นที่สูงและมีภูมิอากาศเย็น มีระบบรากที่แข็งแรงทำให้สามารถทนทานต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ดี
เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า เจ้าสายพันธุ์ “SL” นี่ละ คิดเป็นส่วนแบ่งการส่งออกที่มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของกาแฟจากประเทศเคนยา ส่วนทั้งเบอร์ 28 และ 34 ยังได้รับฉายาจากคอกาแฟทั่วโลก ว่าเป็น “กาแฟพิเศษ”
เพื่อน ๆ คอกาแฟท่านไหนเคยลองสายพันธุ์ไหนกันมาแล้วบ้าง ?
มีความชอบอย่างไรกันบ้าง แชร์กันได้นะคร้าบ
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
- บทความ SL28 – SL34 กาแฟเคนย่าที่ทั่วโลกยกนิ้วให้ จากเพจ rollingroasters.bkk
- บทความ Coffee Basics: Varieties จากเว็บ counterculturecoffee
- บทความ Ultimate Guide To Coffee Beans จากเว็บ cafedumonde
- บทความ Coffee and Its Bean Varieties: What Sets Them Apart? จากเว็บ blondebastardcoffee
- บทความ เอ็กเซลซ่า อีกหนึ่ง สายพันธุ์กาแฟ ที่น่าสนใจ จากเว็บ redwoodcoff
ความรู้รอบตัว
ไลฟ์สไตล์
กาแฟ
3 บันทึก
8
3
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย