15 ก.ค. เวลา 07:30 • ข่าว
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

CBR กลไกเสริมพลังชาวบ้านเป็นนักวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอีสาน ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการวิจัยเพื่อท้องถิ่น “การเสริมพลังกระบวนการเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นเพื่อการเปลี่ยนแปลง” ที่ห้องสร้อยสุวรรณา ชั้น 3 อาคาร 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เมื่อวันที่ 10 – 12 กรกฎาคม 2567
งานนี้จัดเต็มเชิญเหล่าผู้ก่อตั้ง CBR และศิษย์เอกมาร่วมเป็นวิทยากร นำโดย ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง รศ.ดร.กาญจนา แก้วเทพ นายบุญเสริฐ เสียงสนั่น อ.ดร.ภาสกร บัวศรี รวมถึงดอกผลที่เกิดจากงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นทีมพี่เลี้ยงจัดงานอบรมครั้งนี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพที่ใช้แนวทางการวิจัย CBR สู่การดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาแก้ไขปัญหาชุมชน ท้องถิ่น มีบุคลากรนักวิจัย ม.ราชภัฏสกลนคร และทีมกลไกสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในภาคอีสานหลายจังหวัด ซึ่งจำกัดผู้เข้าร่วมอบรม 60 คน
บรรยากาศ 3 วัน มีกิจกรรมที่น่าสนใจ โดยทีมวิทยากรนำเครื่องมือมีอายุกว่า 20 ปี ใช้ในการนำเสนอแนวคิด หลักการ ขั้นตอนและกระบวนการเส้นทางวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่ปฏิบัติการ นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้คัมภีร์ CBR ที่มีการพัฒนาตำรามาถึง 4 รุ่น ได้แก่ Problem Tree , LogFrame , Outcome Mapping , Impact Pathway พร้อมลงมือใช้ประโยชน์เครื่องมือมากกว่า 30 ชิ้น ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นตำนานที่ยังมีลมหายใจ
ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง
ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง อดีตผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น (สกว.) กล่าวว่า หัวใจของการวิจัยเพื่อท้องถิ่น คือ การหยุดทบทวนและตั้งสติคนในชุมชนว่า เราเป็นใคร มีประวัติศาสตร์มาจากไหน เราจะไปไหน มีทางเลือกอื่นใดของชีวิตบ้างหรือไม่
ตลอดเกือบ 30 ปีที่ผ่านมางาน CBR เสริมพลังท้องถิ่นมากกว่า 2,000 หมู่บ้าน สร้างนักวิจัยท้องถิ่นมากกว่า 30,000 คน ถ้าขับเคลื่อนทั่วประเทศแบบเดิม กว่า 75,000 หมู่บ้านอาจใช้เวลานานถึง 1,000 ปี ถ้าผลักดันเข้ายุทธศาสตร์เป็นวาระการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นแห่งชาติ งานพัฒนาท้องถิ่นจะสร้างคนมีความรู้ทั่วประเทศได้ไวขึ้น
อ่านข่าวเพิ่ม www.1poverty.com/2024/07/cbr.html
โฆษณา