15 ก.ค. 2024 เวลา 09:23

ทำไมเครื่องบินพาณิชย์จึงไม่มีร่มชูชีพ

สำหรับผู้โดยสาร?
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมกัปตันหมีถามแปลกๆ มันก็ไม่น่าจะมีอยู่แล้วป่ะ😁
ผมอยากชวนเรามาเป็นนักค้นหาคำตอบ
กับคำถามบางเรื่อง ที่อาจจะดูแปลกๆกัน
วิเคราะห์เหตุผลดีๆเราอาจจะได้คำตอบ
เชื่อมโยงไปยังเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจครับ
ก็เครื่องบินรบและเครื่องบินทหารมีร่มชูชีพนี่..
ถ้ามีร่มชูชีพอาจจะรักษาชีวิตผู้โดยสารก็ได้นะ
ยิ่งจำนวนเครื่องบินพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นเท่าทวีคูณทุกวัน แล้วเหตุผลอะไรล่ะ
ที่จึงไม่ควรมีร่มชูชีพสำหรับผู้โดยสาร?
1 ผู้โดยสารไม่มีการฝึกอบรมการใช้ร่มชูชีพ
1
เราดูหนังแอ็คชั่นกันมากมายจนบางครั้งอาจทำให้เชื่อว่าการกระโดดร่มดูเป็นเรื่องไม่ยาก
มันจะยากอะไรกันนักหนา
แค่สวมใส่ ดึงสลัก และกระโดด ใช่ไหม?
คำตอบคือ มันไม่ได้ง่ายแบบนั้นครับ!
1
การกระโดดร่มอาจดูง่ายในภาพยนตร์แต่จริงๆแล้วต้องฝึกฝน แม้แต่การกระโดดร่มแบบแทนเด็ม ซึ่งเราจะถูกยึดติดกับผู้เชี่ยวชาญ เราเองก็จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมและฟังคำแนะนำขั้นพื้นฐานอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงนะครับ
แล้วรูปแบบการกระโดดร่มที่ถือว่าเสี่ยงที่สุด
คือกระโดดออกจากเครื่องบินที่ระดับความสูงมากกว่า 10,000 ฟุต จึงต้องการการฝึกฝนที่ถูกต้องหลายๆชั่วโมง
2 การกระโดดร่มมีการวางแผนล่วงหน้า
การกระโดดร่มเป็นสิ่งที่มีการวางแผนและเกิดขึ้นภายใต้การวางแผนที่นักกระโดดร่มทราบล่วงหน้าว่าพวกเขาจะกระโดดออกจากเครื่องบินที่กำลังเคลื่อนที่… แล้วผู้โดยสารบนเที่ยวบินพาณิชย์หละ?
เราไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์นี้!
พวกเราไม่มีประสบการณ์ในการใช้ร่มชูชีพและต้องสวมใส่อุปกรณ์และเตรียมพร้อมสำหรับการกระโดดอย่างรวดเร็ว และถ้าต้องทำในขณะที่สวมหน้ากากออกซิเจนฉุกเฉิน งานจะยิ่งยากขึ้นไปอีกในสถานการณ์ที่วุ่นวายและสับสนบนเครื่องบิน
1
3 เครื่องบินพาณิชย์บินสูงมาก
แม้แต่การกระโดดร่มที่มีความเสี่ยงสูงที่มีการวางแผนไว้อย่างดีก็เกิดขึ้นที่ส่วนมากประมาณ 15,000-16,000 ฟุตเหนือพื้นดิน
และเครื่องบินที่นักกระโดดร่มกระโดดออกมามักเป็นเครื่องบินขนาดเล็กและบินไม่เร็วมาก
ในทางตรงกันข้ามเครื่องบินพาณิชย์ส่วนใหญ่บินที่ระดับความสูงประมาณ 35,000 ฟุต ซึ่งไม่มีอากาศ ออกซิเจนที่หายใจได้และบินเร็วกว่ามาก
หากผู้โดยสารต้องกระโดดร่มออกจากเครื่องบินที่กำลังตก จะต้องใช้ถังออกซิเจนเพื่อหลีกเลี่ยงการหมดสติเนื่องจากภาวะขาดออกซิเจน
4 เครื่องบินพาณิชย์ไม่ได้ออกแบบมาให้เอื้อต่อการที่คนจะกระโดดออกมา
เครื่องบินที่เหมาะกับการกระโดดร่มแบบรายบุคคลมักมีขนาดเล็กดังนั้นนักกระโดดร่มจึงพ้นจากตัวเครื่องเกือบจะทันทีหลังจากกระโดด
ในทางกลับกันเครื่องบินทหารขนาดใหญ่มีทางลาดเป็นทางออกที่ดีที่ด้านหลังซึ่งนักโดดร่มสามารถกระโดดและหลีกเลี่ยงการประทะกับลำตัวเครื่องได้
การกระโดดออกจากเครื่องบินพาณิชย์แบบทั่วไปจะมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะชนกับลำตัวของเครื่องบิน (ปีกหรือหาง)และได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
5 ความเร็วของเครื่องบิน
เครื่องบินพาณิชย์ไม่เพียงแต่บินที่ระดับความสูงมากแต่ยังบินเร็วมากด้วย หากใครพยายามกระโดดออกจากเครื่องบินที่ความเร็วขนาดนั้นไม่อยากจะคิดเลยครับว่าจะเจออันตรายเพียงใด
เหตุผลอีกข้อ
อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างการลงจอดและการขึ้นบิน ซึ่งเหตุผลจากสถิติล้วนๆนะครับ
- ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่มชูชีพไม่มีประโยชน์อะไรเลย
6 ชุดร่มชูชีพมีขนาดใหญ่และราคาแพง
1
ที่นั่งบนเครื่องบินทั่วไปไม่มีพื้นที่กว้างพอที่จะเก็บร่มชูชีพขนาดใหญ่ ซึ่งจะเพิ่มน้ำหนักให้กับเครื่องบินอย่างมากด้วย นอกจากนี้ อุปกรณ์กระโดดร่ม เช่น หมวกนิรภัย เครื่องวัดความสูงและแว่นตา มีราคาแพงมาก ซึ่งจะเพิ่มค่าโดยสารอย่างมากหากร่มชูชีพถูกกำหนดให้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเที่ยวบินพาณิชย์ทั้งหมด
สรุปการกระโดดร่มจากเครื่องบินพาณิชย์
เป็นไปไม่ได้ทั้งในทางปฏิบัติ
และความคุ้มทุนของสายการบินครับ
กัปตันหมี
โฆษณา