เอื้องมะลิ กล้วยไม้ที่สำรวจพบในอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น จ.สุราษฎร์ธานี

เอื้องมะลิใบแคบ Dendrobium truncatum Lindl. กล้วยไม้ชนิดนี้สำรวจพบที่อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น จ.สุราษฎร์ธานี ความสูงจากระดับน้ำทะเล 100 - 200 เมตร เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เจริญด้านข้าง
มีลำลูกกล้วยรูปทรงกลม สีเขียว บางครั้งแต้มสีแดงเข้ม ขนาด 1.4x1.5-2 เซนติเมตร ประกอบ ด้วย 2 ปล้อง ลีบและเหี่ยวย่นเมื่อแก่ ส่วนปลายลำลูกกล้วยเจริญขึ้นเป็นลำต้นขนาดเล็ก เรียว ยาว 10-13.5 เซนติเมตร มีกาบใบ แห้งสีขาว ลักษณะคล้ายแผ่นกระดาษคลุมลำต้น
ใบ รูปขอบขนาน ปลายบรรจบไม่เท่ากัน ขนาด 2.1-2.85x4-6.5 มิลลิเมตร ออกข้อ ละใบ เรียงสลับ ก้านใบลดรูปเชื่อมต่อเป็นกาบหุ้มลำต้น
ดอก ออกจากทั้งส่วนที่มีใบและไม่มีใบเจริญอยู่ มี 1-2 ดอกต่อข้อ กว้างยาว ประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสีขาว กลีบปาก แยกเป็น 3 กลีบย่อย กลีบข้างหรือหูกลีบปาก ขนาดใหญ่ รูปกลม ปลายตัด มีเส้นกลีบสีแดงคล้ายเส้นเลือดฝอย กลีบปากกลางแคบกว่า รูปข้าวหลามตัด เว้าลงล่างเมื่อใกล้ปลายกลีบ พบตามต้นไม้ ในป่าดิบที่ราบต่ำ สูง 100-200 เมตร ภายใต้ร่มเงา ช่วงเวลาในการออกดอก กรกฎาคม - สิงหาคม
ที่มา : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
#ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ #สุราษฎร์ธานี #เอื้องมะลิ #อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น #กรมอุทยานแห่งชาติ
โฆษณา