Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PURE59
•
ติดตาม
17 ก.ค. เวลา 06:20 • การเกษตร
หจก. เพียวพานิช 2 (1992)
ปลูกข้าวไม่พักนา ระวังเจอปัญหา ข้าวเมาตอซัง มารับมือ ป้องกันแบบนี้ดีกว่า!!
#สาเหตุของโรคเมาตอซัง
เกิดจากสารพิษไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือแก๊สไข่เน่า (H2S) ในดิน ที่เกิดจากการไถกลบฟางหรือย่อยสลายซากตอซังไม่สมบูรณ์ ทำให้ส่งผลเสียโดยตรงต่อระบบรากของข้าว
#อาการของโรคเมาตอซัง
เริ่มพบอาการเมื่อข้าวอายุประมาณ 1 เดือน หรือ ระยะแตกกอ ต้นข้าวจะแสดงอาการคล้ายขาดธาตุไนโตรเจน ต้นแคระแกร็น ใบซีดเหลืองจากใบล่าง ๆ มีอาการโรคใบจุดสีน้ำตาล จะพบเมื่อการย่อยสลายของเศษซากพืชในนายังไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดสารพิษ เช่น สารซัลไฟด์ ไปทำลายรากข้าวทำให้เกิดอาการรากเน่าดำ รากไม่สามารถดูดธาตุอาหารจากดินได้ ต้นข้าวจึงแสดงอาการขาดธาตุอาหาร
นอกจากนี้พี่น้องเกษตรกรทราบหรือไม่ครับว่า ตอซังที่ตกค้างอยู่ในแปลง ที่ปัจจุบันพี่น้องเกษตรกรนิยมกำจัดโดยการเผาเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเพาะปลูกต่อนั้น ยังส่งผลเสียต่าง ๆ อีกมากมายเลยนะครับ ไม่ว่าจะเป็น...
- หน้าดินเสียความชุ่มชื้น
- หน้าดินจับตัวกันแน่นแข็งจนรากพืชหาอาหารได้ยาก
- สูญเสียธาตุอาหารที่อยู่ในตอซังข้าว
เมื่อเห็นถึงปัญหาของการย่อยสลายตอซังข้าวไม่หมด และการรีบร้อนใจในการทำนาอย่างต่อเนื่องกันแล้ว ขอแนะนำ “วิธีป้องกันและกำจัดโรคเมาตอซัง” ให้พี่น้องเกษตรกรได้นำไปปรับใช้กันดังนี้นะครับ
#วิธีป้องกันและกำจัดโรคเมาตอซัง
- ระบายน้ำเสียในแปลงออก ทิ้งให้ดินแห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้รากข้าวได้รับอากาศ หลังจากนั้นจึงนำน้ำใหม่เข้าและหว่านปุ๋ย
- หลังเก็บเกี่ยวข้าว ควรทิ้งระยะพักดินประมาณ 1 เดือน ไถพรวนแล้วควรทิ้งระยะให้ตอซังเกิดการหมักสลายตัวสมบูรณ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์
- ไม่ควรให้ระดับน้ำในนาสูงมากเกินไปและมีการไหลเวียนของน้ำอยู่เสมอ
ขอบคุณข้อมูลจาก : กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว, กรมพัฒนาที่ดิน
ความรู้รอบตัว
เกษตร
เกษตรชุมชน
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย