17 ก.ค. เวลา 10:07 • ประวัติศาสตร์

เงินทุนที่อังกฤษใช้ในการรุกรานอินเดีย มาจากนายธนาคารชาว “อินเดีย”

“ยุทธการที่ปลาศี (Battle of Plassey)” เป็นยุทธการในอินเดียที่ผมเคยเขียนเล่าไว้เมื่อนานแล้ว
1
เหตุการณ์นี้ทำให้อำนาจของ “บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company)” บริษัทสัญชาติอังกฤษ เรืองอำนาจในอินเดีย
อังกฤษสามารถพิชิตชาวอินเดียได้ หากแต่ไม่ได้มาจากเงินทุนของตนเอง
แต่มาจาก “นายธนาคารชาวอินเดีย” เองนี้แหละ
1
บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company)
เรื่องราวเป็นอย่างไร ลองมาดูกันครับ
ในประวัติศาสตร์ “จักรวรรดิโมกุล (Mughal Empire)” ปกครองอินเดียที่กว้างใหญ่ รวมถึงดินแดนที่ปัจจุบันคืออัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย และบังคลาเทศ
1
จักรวรรดิโมกุลเป็นดินแดนที่มีสังคมระบอบฟิวดัล โดยการปกครองนั้น จักรวรรดิโมกุลจะปกครองอำนาจสูงสุด หากแต่มอบอำนาจแก่ผู้ปกครองท้องถิ่น แว่นแคว้นต่างๆ ให้ปกครองกันเอง และคอยส่งเงินภาษีสู่ส่วนกลาง โดยผู้ปกครองท้องถิ่นหรือเจ้าแคว้นต่างๆ นั้นจะมีชื่อเรียกว่า “Nawab”
ในสมัยศตวรรษที่ 15 เหล่าพ่อค้าชาวยุโรปต่างต้องการจะสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับอินเดีย และมีการส่งตัวแทนการค้าแต่ละแห่งไปเข้าเฝ้าราชสำนักโมกุล
ตัวแทนการค้าเหล่านี้นำของล้ำค่าต่างๆ ไปถวายแก่กษัตริย์และราชินี โดยจุดประสงค์ก็เพื่อจะก่อตั้งสถานีการค้าในอินเดีย
จากนั้น สถานีการค้าสัญชาติยุโรปต่างๆ ทั้งโปรตุเกส ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ ต่างก็ผุดขึ้นมากมายในอินเดีย และด้วยความรุ่งเรืองทางการค้า ทำให้เกิดสงครามต่างๆ เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ตามมา
สงครามนั้นเกิดขึ้นระหว่างสถานีการค้ากับผู้ปกครองท้องถิ่น หรือแม้กระทั่งบริษัทการค้าด้วยกันเอง และดูเหมือนผู้ชนะก็คือ “อังกฤษ”
“แคว้นเบงกอล (Bengal)” นั้นมีชื่อเสียงจากการเป็นผู้ส่งออกผ้ารายใหญ่ และผืนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งแน่นอนว่าด้วยปัจจัยเหล่านี้ ย่อมทำให้ใครก็ตามที่ปกครองเบงกอล ย่อมจะต้องเป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก
1
ด้วยความที่เป็นดินแดนที่มั่งคั่ง ทำให้จักรวรรดิโมกุลหวงแหนดินแดนนี้อย่างมาก ในขณะที่บริษัทอินเดียตะวันออกก็จ้องดินแดนนี้ตาเป็นมัน ต้องการให้เบงกอลอยู่ใต้อำนาจของบริษัท
“ศรีรัช อุดดอลา (Siraj Ud Daulah)“ เจ้าผู้ครองเบงกอลในเวลานั้น ได้ทำการกักขังชาวอังกฤษจำนวน 150 คนหลังจากที่กองทัพของตนบุกโจมตีป้อมปราการของอังกฤษในเบงกอล โดยในบรรดา 150 คนที่ถูกจับมานั้น 130 คนเสียชีวิตในเวลาต่อมา
1
จากเหตุการณ์นี้ทำให้ “โรเบิร์ต ไคลฟ์ (Robert Clive)” ข้าหลวงอังกฤษในเบงกอลและเป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทอินเดียตะวันออก ได้โมโหเป็นอย่างมาก และต้องการจะแก้แค้น
ศรีรัช อุดดอลา (Siraj Ud Daulah)
ไคลฟ์ได้วางแผนในการทำสงครามที่จะพิชิตอุดดอลาและล้างแค้นให้สะใจ
ไคลฟ์ได้แอบร่วมมือกับ “มีร์ จาฟาร์ อาลี คาน (Mir Jafar Ali Khan)“ ซึ่งเป็นนายทหารฝ่ายเบงกอลที่ทรยศ ขอให้คานร่วมมือกับตน โดยไคลฟ์สัญญาว่าหากคานยอมร่วมมือ สั่งให้ทหารทิ้งค่ายในช่วงที่ทำศึก ฝ่ายอังกฤษจะตอบแทนด้วยเงินก้อนโตและตำแหน่งเจ้าผู้ครองเบงกอลแก่คาน
1
และที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือที่มาของเงินทุนที่ฝ่ายอังกฤษใช้ในการทำสงคราม อันที่จริง เงินทุนนั้นก็มาจากฝ่ายอินเดียเองนี่แหละ เป็นเงินของตระกูล “จากัตเซท (Jagath Seth)”
2
โรเบิร์ต ไคลฟ์ (Robert Clive)
ตระกูลจากัตเซทนั้นเป็นตระกูลนายธนาคารและพ่อค้าที่มั่งคั่ง โด่งดังในเรื่องความร่ำรวยมหาศาล อีกทั้งยังเป็นนายทุนใหญ่ที่คอยสนับสนุนเงินแก่จักรวรรดิโมกุล
มีเรื่องร่ำลือว่าตระกูลจากัตเซทนั้นรวยมากซะจนสามารถสร้างกำแพงที่ทำมาจากทองคำ และกำแพงก็มีขนาดใหญ่มากจนสามารถหยุดน้ำในแม่น้ำได้ อีกทั้งตระกูลจากัตเซทยังมีกองกำลังทหารส่วนตัวที่คอยดูแลทรัพย์สมบัติของตระกูล โดยกองกำลังส่วนตัวของตระกูลจากัตเซทนั้นมีมากถึง 3,000 นาย
1
ปรากฎว่าในงานเลี้ยงหนึ่ง อุดดอลา เจ้าผู้ครองเบงกอล ดันไปดูถูกตระกูลจากัตเซท ทำให้ตระกูลจากัตเซทโมโหเป็นอย่างมาก และตั้งใจจะเอาคืนอุดดอลา
2
มีร์ จาฟาร์ อาลี คาน (Mir Jafar Ali Khan) Khan
เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ บริษัทอินเดียตะวันออกจึงเข้าไปคุยกับตระกูลจากัตเซท ขอให้ตระกูลจากัตเซทสนับสนุนเงินทุนแก่ตน และตนจะล้างแค้นอุดดอลาให้
ตระกูลจากัตเซทก็ตกลง โดยปล่อยเงินกู้ให้บริษัทอินเดียตะวันออกในอัตราดอกเบี้ยที่สูงลิบ หากแต่บริษัทอินเดียตะวันออกก็ตกลง และบริษัทอินเดียตะวันออกก็นำเงินที่กู้ยืมมานี้ไปใช้ในการติดสินบนคานให้แปรพักตร์มาเข้ากับตน
2
ผลที่ได้ก็คือ ยุทธการที่ปลาศีจบลงด้วยชัยชนะอย่างงดงามของบริษัทอินเดียตะวันออก บริษัทอินเดียตะวันออกสามารถครอบครองแคว้นเบงกอลได้ทั้งหมด และรายได้ต่อปีที่ได้จากแคว้นเบงกอลในแต่ละปีนั้นก็สูงกว่ารายได้ทั้งปีของอังกฤษทั้งประเทศซะอีก
3
จากนั้น ตระกูลจากัตเซทก็ยังคงเป็นนายทุน ปล่อยเงินกู้ให้บริษัทอินเดียตะวันออกใช้ในการขยายอำนาจในอินเดีย ซึ่งนำมาสู่การล่มสลายของจักรวรรดิโมกุลในที่สุด
แต่เมื่อมีอำนาจเหนืออินเดียได้แล้ว บริษัทอินเดียตะวันออกก็ปฏิเสธที่จะชำระหนี้ที่ติดค้างต่อตระกูลจากัตเซท
2
เรียกได้ว่าตระกูลจากัตเซทแห่งอินเดียเป็นนายทุนสนับสนุนให้อังกฤษยึดครองอินเดีย และทำให้อินเดียต้องตกอยู่ใต้อำนาจของอังกฤษต่อมาเป็นเวลากว่า 300 ปี
1
สั่งซื้อหนังสือ “ประวัติศาสตร์แห่งความหลอกลวง 5,000 ปีของการต้มตุ๋น ฉ้อโกง โกหก ปลอมแปลง” ได้ตามลิ้งค์นี้นะครับ
โฆษณา