19 ก.ค. เวลา 11:00 • ความคิดเห็น

ระวังภาษี e-Payment !! ถ้ามีเงินเข้าบัญชีบ่อย

หลายคนที่มีเงินโอนเข้าบัญชีในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าแม่ค้า เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงฟรีแลนซ์ ต้องทำความรู้จักกับ “ภาษี e-Payment” ไว้ด้วยนะ
4
ต้องเกริ่นก่อนว่า ภาษี e-Payment ไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่ได้ทำให้ทุกคนต้องยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเพิ่ม เพราะทุกคนที่มีรายได้มีหน้าที่ต้องยื่นและเสียภาษีอยู่แล้ว
3
ภาษี e-Payment เป็นกฎหมายที่มีไว้เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการนำส่งเงินภาษี ยื่นรายการ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลรายงานกับกรมสรรพากร เมื่อมียอดเงินเข้าบัญชีถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด
6
เกณฑ์ที่ใช้ ในการส่งข้อมูลบัญชีให้กรมสรรพากร
1. ฝากหรือรับโอนตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไปต่อปี (ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม)
2. ฝากหรือรับโอนตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดรวมทั้งปี 2 ล้านบาทขึ้นไป
หากเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรเพื่อตรวจสอบการเสียภาษี โดยเริ่มยอดเงินเข้าธนาคารตั้งแต่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. ของทุกปี
10
หน่วยงานที่ส่งข้อมูลให้สรรพากร ได้แก่
- ธนาคารพาณิชย์
- ธนาคารภาครัฐ
- สถาบันการเงิน
- รวมถึงผู้ให้บริการด้านการเงินอื่นๆ อย่าง Payment Gateway, e-Wallet เช่น ทรูมันนี่ แรบบิทไลน์เพย์
โดยแต่ละหน่วยงานจะส่งข้อมูลแยกกัน ไม่ได้รวมข้อมูลหรือเชื่อมโยงกัน
1
สำหรับคนที่คิดว่าตัวเองน่าจะเข้าเงื่อนไขที่ต้องถูกส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากร อย่าเพิ่งกังวลใจว่าจะต้องจ่ายภาษีเพิ่ม หรือถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง สรรพากรจะนำข้อมูลนี้ไปประมวลผลรวมกับข้อมูลอื่นๆ ด้วย ดังนั้น หากเรายื่นภาษีและเสียภาษีอย่างถูกต้องมาตลอดก็สบายใจได้ ภาษี e-Payment นี้แทบจะไม่กระทบใดๆ เพิ่มเติมเลย
1
ส่วนใครที่ยังไม่เคยเริ่มยื่นภาษี แนะนำเตรียมรับมือ ดังนี้
1. ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับภาษีอย่างละเอียด
2. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ชัดเจน จดบันทึกรายการที่เกิดขึ้นจริงทุกครั้ง
3. เก็บหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องทุกอย่างไว้ใช้เป็นหลักฐานประกอบตอนยื่นภาษีและใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายแบบตามจริง
4. ควรแยกบัญชีธนาคารไว้ใช้ส่วนตัวกับใช้เพื่อธุรกิจเป็นคนละบัญชีกัน
5. จดทะเบียนพาณิชย์, จดทะเบียนบริษัท, จดทะเบียน VAT และเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โฆษณา