19 ก.ค. เวลา 08:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Catastrophe Bond ตราสารหนี้ภัยพิบัติ เครื่องมือการเงินเพื่ออนาคตความยั่งยืน

[#FutureofSustainability] ตราสารหนี้ภัยพิบัติ เป็นการลงทุนที่ถูกจัดว่ามีความเสี่ยงต่ำและให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อโอนความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติไปยังตลาดทุน โดยผู้ลงทุนจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ในขณะที่ผู้ออกตราสารหนี้มีสถานะเป็นลูกหนี้ และมีหน้าที่นำสินทรัพย์ไปบริหารภายใต้เงื่อนไขสัญญา
ในระยะเวลาสัญญา หากไม่มีเหตุภัยพิบัติเกิดขึ้น ผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ตกลงและได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด แต่หากเกิดเหตุภัยพิบัติ เช่น อุทกภัย พายุ แผ่นดินไหว เป็นต้น ที่มีความรุนแรงถึงระดับที่กำหนด ผู้ออกตราสารจะหักเงินต้นหรือดอกเบี้ยไปบริหารจัดการและฟื้นฟูความเสียหาย ซึ่งหมายถึงผู้ลงทุนอาจเสียเงินต้นทั้งหมดหรือบางส่วน และอาจไม่ได้รับดอกเบี้ยตามสัญญา แต่จะเท่ากับว่ามีเงินสำรองจ่ายเพื่อบรรเทาผลกระทบทางการเงินจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ
ตราสารหนี้ภัยพิบัติมักถูกออกโดยหน่วยงานเฉพาะกิจ วาณิชธนกิจ สถาบันที่จัดตั้งโดยบริษัทประกันภัย กองทุนภาครัฐ หรือสถาบันการเงินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาผลกระทบของสาธารณภัย เพื่อเป็นมาตรการก่อนเกิดเหตุภัยพิบัติ เช่น สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ชุมนุมประกันภัยสหกรณ์การเกษตรประเทศญี่ปุ่น ธนาคารโลก เป็นต้น ในขณะที่ผู้ลงทุนตราสารหนี้ชนิดนี้มักเป็นผู้ลงทุนสถาบัน เช่น กองทุนบริหารความเสี่ยง กองทุนบำเหน็จบำนาญ เป็นต้น
สำหรับผู้ลงทุนบุคคลสามารถลงทุนได้ผ่านกองทุนรวมหรือกองทุนปิด โดยในปี ค.ศ. 2021 มีการออกตราสารหนี้ภัยพิบัติมากกว่า 560 ครั้ง และมีมูลค่ารวมถึง 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม การออกตราสารหนี้ภัยพิบัติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากข้อจำกัดในการจัดการและการขาดความสามารถในการประเมินความเสี่ยงภัยพิบัติ
สำหรับประเทศไทย ภาครัฐยังไม่มีการนำตราสารหนี้ภัยพิบัติมาใช้ในการบริหารการเงินสาธารณะ แต่มักมาในรูปแบบการจ่ายเงินชดเชย เงินช่วยเหลือ หรือการปรับมาตรการทางการเงินด้านสินเชื่อ ซึ่งเป็นมาตราการภายหลังเกิดภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 2024 เริ่มมีบริษัทเอกชนที่เสนอขายกองทุนรวมที่มีตราสารหนี้ภัยพิบัติเป็นส่วนประกอบ
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต:
- การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยงภัยพิบัติอย่าง Urban Hazard Studio เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันวาระด้านการป้องกันภัยพิบัติและบรรเทาสาธารณภัยในประเทศไทย
- ตราสารหนี้ภัยพิบัติกลายเป็นสินทรัพย์ทางเลือกที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ลงทุนที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติรุนแรง ทำให้บริษัทประกันภัยและสถาบันการเงินมีบทบาทสำคัญในการผลักดันกลไกทางการเงินเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงและเหตุการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว
- ผู้รับผิดชอบการเงินในองค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิคมอุตสาหกรรมและอสังหาริมพย์เชิงพาณิชย์เกิดความตื่นตัวและเร่งสำรวจความเป็นไปได้ในการลงทุนในตราสารหนี้ภัยพิบัติ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ
ใช้งานแพลตฟอร์มคาดการณ์ภัยพิบัติ Urban Hazard Studio ฟรี: UrbanHazardStudio.com
คู่มือการใช้งาน Urban Hazard Studio: https://youtu.be/Fqy2LMcjLms
ติดต่อเพื่อจัดอบรมหรือรับบริการปรึกษาเพื่อสุขภาวะ ความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต โทร 094-639-2697 (คุณส้มโอ - พัชรนันท์)
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก www.futuretaleslab.com หรือติดตามที่ https://www.facebook.com/FutureTalesLABbyMQDC
#FutureTalesLAB #FuturePossible #Climate #Disaster #CATBond #MQDC
โฆษณา