19 ก.ค. เวลา 04:09 • การเมือง

ตุรกี “ห้าวเป้ง” งัดกับนาโต เรื่องนโยบาย “สงครามของอิสราเอล”

“เออร์โดกัน” ประธานาธิบดีตุรกียืนยันอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นของอังการาที่จะยืนหยัดเพื่อชาวปาเลสไตน์ และกล่าวว่าตุรกีจะยังคง “ต่อต้านแนวคิดนโยบายของนาโตทั้งหมดที่สนับสนุนอิสราเอล” เขาเน้นย้ำถึง “บทบาทชี้ขาด” ของตุรกีในการเป็นสมาชิกของกลุ่ม (นาโต) และวิพากษ์วิจารณ์สมาชิกอื่นของกลุ่มที่ไม่ยอมส่งมอบอาวุธให้อังการา แต่กลับ “แจกจ่ายอาวุธเหล่านี้ให้กับกลุ่มก่อการร้ายในซีเรียอย่างอิสระ” – อ้างอิง: [1]
เออร์โดกันกล่าวสรุปสุนทรพจน์ของเขาในงานแถลงข่าวที่วอชิงตันหลังการประชุมสุดยอดนาโตเมื่อช่วงสัปดาห์ก่อน ด้วยคำพูดใจความประมาณว่า “ฝ่ายอิสราเอลซึ่งเหยียบย่ำคุณค่าพื้นฐานของการเป็นพันธมิตรของเรา จะไม่สามารถสานต่อความร่วมมือกับนาโตต่อไปได้อีกแล้ว อิสราเอลไม่ควรได้เป็นสมาชิกทางการของนาโต” - อ้างอิง: [2]
เครดิตภาพ: Oneindia
  • ความร่วมมือระหว่าง “นาโต” และ “อิสราเอล” ยังคงเหนียวแน่น
นาโตประณามการสังหารหมู่ของกลุ่มฮามาสอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 โดยเรียกร้องให้ปล่อยตัวตัวประกันทั้งหมดทันที และกล่าวว่า “อิสราเอลไม่ได้สู้เพียงลำพัง”
ไม่กี่วันหลังจากการโจมตีของกลุ่มฮามาส พันธมิตรนาโตจำนวนมากตกลงที่จะสนับสนุน “เชิงปฏิบัติทางทหารของอิสราเอล (โจมตีกาซา)” และยืนยันหลายครั้งถึงสิทธิของอิสราเอลในการปกป้องตนเองตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเตือนอิหร่าน ฮิซบอลเลาะห์ และกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ ไม่ให้ขยายสงครามฉนวนกาซาไปสู่ความขัดแย้งในระดับภูมิภาคที่ใหญ่ขึ้น
อิสราเอลเป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับกลุ่มนาโตในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน แต่ยังไม่ใช่สมาชิกทางการ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อิสราเอลและนาโตได้ขยายความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การต่อต้านการก่อการร้าย การเตรียมพร้อมของพลเรือน และการต่อต้านอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
ความเหนียวแน่นระหว่างกันของสมาชิกนาโตส่วนใหญ่จะมาจากทางฝั่งผู้นำของยูโร-แอตแลนติก (ยุโรปตะวันตก + อเมริกาเหนือ) แต่ถ้ามองภาพโครงสร้างโดยรวมของกลุ่มยังมีความไม่ลงรอยกันอยู่ ตัวอย่างเช่น “ตุรกี” เห็นได้ชัดว่าตุรกีมีแนวโน้มและบทบาทในระดับภูมิภาคของตะวันออกกลาง และนี่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ พวกเติร์กจะไม่มีวันได้รับบทบาทชี้ขาดการตัดสินใจในนาโต แต่อังการาสามารถเป็นผู้คัดค้านและมีบทบาทสำคัญในการจัดระเบียบระดับภูมิภาคได้อยู่
ที่ผ่านมาตุรกีมีบทบาทในการจัดตั้งฐานทัพทหารในลิเบีย (อ้างอิง: [3]) และฝรั่งเศสยังเชื่อว่าตุรกีกับอาเซอร์ไบจานรวมหัวกันปลุกปั่นให้ New Caledonia (หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้กับออสเตรเลีย) ซึ่งเป็นดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสขอแยกตัวเป็นอิสระ (อ้างอิง: [4])
และมาล่าสุดมีการจัดประชุมที่อาเซอร์ไบจานสำหรับกลุ่มประเทศหรือดินแดนที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสโดยเฉพาะเพื่อเป้าหมายต้องการประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากฝรั่งเศสทั้งหมด ซึ่งเชื่อได้ว่าตุรกีก็มีส่วนอยู่เบื้องหลังถึงแม้จะไม่ส่งตัวแทนมาร่วมประชุมที่บากุ (เมืองหลวงของอาเซอร์ไบจาน) ก็ตาม (อ้างอิง: [5])
นอกเหนือจากนั้นตุรกียังชักชวนให้ “รัสเซีย” เปิดฮับศูนย์กลางเส้นทางลำเลียงธัญพืชและชุมสายท่อก๊าซธรรมชาติ มีส่วนฟื้นฟูความสัมพันธ์กับซีเรีย และสนับสนุนปาเลสไตน์อย่างเป็นรูปธรรม
ดินแดนที่เป็นหมู่เกาะซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสปัจจุบัน เครดิตภาพ: LegendesCartographie
อย่างไรก็ตามกลุ่มเหยี่ยวสงครามหรือกลุ่มชนชั้นสูงพวก neocon ของฝั่งตะวันตกยังมีความพยายามต้องการควบคุมโอบกอดโลกทั้งใบไว้อยู่ ซึ่งแน่นอนว่าฝ่ายตรงข้ามคือ รัสเซีย จีน อิหร่าน เกาหลีเหนือ ขัดขวางพวกเขาอยู่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย กอปรกับความไม่ลงรอยกันภายในกลุ่มนาโตที่มีให้เห็นอยู่ย่อมทำให้การขยายตัวของโครงการต่างๆ เป็นไปได้ช้าลง - อ้างอิง: [6]
ความขัดแย้งในระดับภูมิภาคที่ส่งผลกระทบต่อสมาชิกเก่าและใหม่ของกลุ่มนาโตมันอาจพัฒนากลายเป็นบทนำของสงครามโลกครั้งที่สามซึ่งเป็นมหันตภัยคุกคามระดับโลกได้หากไม่มีการถ่วงดุลอำนาจ
1
เรียบเรียงโดย Right Style
19th July 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: (บน) – Tech Show (ล่าง) – TLDR News Global>
โฆษณา