19 ก.ค. เวลา 08:46 • ธุรกิจ

'ปรับวิธีคิดเปลี่ยนการจัดการ' เส้นทางพัฒนาเมืองน่าอยู่และยั่งยืน โดยผู้บริหารด้านความยั่งยืนกรุงเทพฯ

จากงาน Be The Change
พรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืน กรุงเทพมหานคร มาบรรยายในหัวข้อ ‘Sustainable City พัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน’ เพื่อบอกเล่าเส้นทางการพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่และยั่งยืน เป็นอย่างไรบ้าง มีสาระสำคัญต่อไปนี้
พรพรหม กล่าวว่า “เมืองน่าอยู่ เมืองยั่งยืน ก็เหมือนกัน” เป็นสิ่งที่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) พยายามผลักดันให้เกิดขึ้น ผ่านหลัก 2 ประการ คือ การปรับวิธีคิดและเปลี่ยนการบริหารจัดการ
[ 1. ปรับวิธีคิด ]
1.1 เน้นเส้นเลือดฝอยมากว่าเส้นเลือกใหญ่ : ภายในปี 2028 จะมีรถไฟฟ้าให้ 11 สาย 297 สถานี รวมระยะทาง 466.1 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นเส้นทางหลักหรือเส้นเลือดใหญ่ แต่ปัญหาคือ เส้นทางย่อยหรือเส้นเลือดฝอยที่จะเชื่อมไปยังสถานีรถไฟฟ้าต่างๆ
กทม. จึงได้มีการให้ความสำคัญยกระดับเส้นเลือดฝอยนี้ เช่น การระบายทางเท้าในซอย ซ่อมแซมพัฒนาทางเท้า สร้างการเชื่อมต่อการเดินด้วย Skywalk และ Covered Walkway พัฒนาเส้นทางจักรยาน ทางเท้าที่ออกแบบเป็น Universal Design ส่งเสริมการชนส่งสาธารณะแบบ EV แบบ End to End ระยะสั้นจากจุดหนึ่งไปยังสถานีรถไฟฟ้า การจัดการขยะในซอย การจัดการปัญหาน้ำท่วมด้วยการลอกท่อ เป็นต้น
1.2 ปรับลำดัลความสำคัญ : เช่น นโยบายการจัดการขยะที่มีการปรับการจัดสรรงบประมาณให้ตอบโจทย์ได้มีประสิทธิภาพขึ้น
ทั้งต้นน้ำ งบประมาณปี 2566 จำนวน 2.76 ล้านบาท ปี 2567 เพิ่มเป็น 123.2 ล้านบาท
กลางน้ำ งบประมาณปี 2566 จำนวน 4,762 ล้านบาท ปี 2567 เป็น 4,xxx ล้านบาท
ปลายน้ำ งบประมาณปี 2566 จำนวน 2,867 ล้านบาท ปี 2567 เป็น 2,xxx ล้านบาท
มีการดำเนินการสำหรับสถานประกอบการที่ต้องแยกขยะอย่างเป็นระบบและสำหรับ SME ร้านอาหารต่างๆ
ผลของการแยกขยะของสถานประกอบการ รวม 3,761 แหล่ง จำนวน 277 ตันต่อวัน โดยมีเป้าหมาย ปี 2567 จำนวน 200 ตันต่อวัน ปี 2568 จำนวน 500 ตันต่อวัน และปี 2569 จำนวน 1,000 ตันต่อวัน
มีการดำเนินการสำหรับครัวเรือน ที่ปัจจุบันการแยกขยะเป็นภาคสมัครใจ มีการเก็บค่าบริการ 20 บาทต่อเดือน แต่กำลังจะผลักดันเป็น 60 บาทต่อเดือน แต่ถ้าสำหรับบ้านที่แยกขยะสามารถขอลดหย่อนกลับลงมาที่ 20 บาทต่อเดือนได้ เป็นมาตรการจูงใจในการแยกขยะ
1.3 ประโยชน์สามเด้ง : มีโครงการที่ให้คนบริจาคอาหารมาใน BKK Food Bank สำหรับคนที่มีมาก มาให้กลุ่มคนเปราะบางในสังคม
มีโครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น เพื่อลดฝุ่น ส่งเสริมความหลากหลายของระบบนิเวศ ให้คนและต้นไม้เติบโตไปพร้อมกัน ให้ร่มเงา และสร้างรายได้ให้ชุมชน
[ เปลี่ยนการบริหารจัดการ (Governance) ]
2.1 การทลายไซโลขององค์กร : ด้วยการตั้งสำนักงานความยั่งยืนที่เป็นตัวกลางเข้าไปประสานและตรวจสอบว่า แต่ละหน่วยงานของ กทม. ได้ทำตามหน้าที่และเป้าหมายอย่างไรบ้าง
อีกทั้ง บูรณาการแต่ละหน่วยงานเข้าด้วยกัน เช่น แผนลดฝุ่น 365 วัน ค่าฝุ่นไม่เกิน 37.5 มคก. ต่อ ลบ.ม. ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของสำนักสิ่งแวดล้อม สำนักยุทธศาสตร์ สำนักศึกษา สำนักพัฒนาสังคม สำนักอนามัย สำนักจราจร สำนักโยธา สำนักระบายน้ำ สำนักบรรเทาสาธารณภัย และ 50 สำนักงานเขต
2.2 จตุรภาคี : หรือการร่วมมือกัน 4 ฝ่าย คือ
- ภาควิชาการ เช่น การศึกษาและรวบรวมข้อมูลเรื่องฝุ่นในกรุงเทพฯ เป็นต้น
- ภาคเอกชน เช่น การออกโปรโมชั่นบริการบำรุงรักษารถยนต์จากบริษัทผู้ค้าน้ำมัน เป็นต้น
- ภาครัฐ เช่น กทม. เปลี่ยนไปใช้รถเก็บขยะ EV โดยในปี 2567 จะมี 615 คัน ปี 2568 จะมีอีก 392 คัน และปี 2569 จะมีอีก 657 คัน รวมเป็น 1,664 คัน เป็นต้น
- ภาคประชาชน ในการคัดแยกขยะ
ทั้งหมดคือส่วนหนึ่งจาก หัวข้อ ‘Sustainable City พัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน’ โดย พรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืน กรุงเทพมหานคร จากงาน ‘Be The Change ยั่งยืนได้เมื่อเราเปลี่ยน’ จัดโดย The People เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2567 ณ Grand Hall ชั้น 3 True Digital Park (West)
เรียบเรียงโดย ภูธิชย์ อรัญพูล
#FutureTrends #FutureTrendsetter #FutureTrendsWorkandLife
โฆษณา