19 ก.ค. เวลา 10:19 • สิ่งแวดล้อม

ไอ้คางดำ ปราบยากกว่าปาทังก้าเยอะ

คนไทยเคยภูมิใจมาก ในการพิชิตตั๊กแตนปาทังก้า
ที่ทั่วโลก แม้แต่มหาอำนาจอย่างสหรัฐยังต้องพ่ายแพ้
ถึงขนาดเรากล้าบอกว่า ไม่มีเอเลี่ยนสปีชี่ที่กินได้ไหน
รอดชีวิตได้ในประเทศไทย
มันเกือบจริง ซัคเกอร์เองทุกวันนี้ก็น้อยลงมาก
ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
…แต่ดูเหมือนว่า มันจะยากเย็นกว่าศึกไหนๆ เมื่อเราต้อง
เผชิญหน้ากับ “ไอ้คางดำ”….
ไอ้นี่ปราบยากกว่าปาทังก้าเยอะนะ
มันไม่ง่ายขนาดไปจับมากินให้หมด
หรือปล่อยตัวอะไรลงไปช่วยกินมัน
น้องเหี้ย กินปลาได้วันละมากมายยังไม่ไหว
ชาวบ้านถ่ายรูปมา น้องเหี้ยที่กินมันอยู่อ้วนตุ๊บ
คงซัดไปเพียบแหละ ในช่วงที่ผ่านมา
แต่คงไม่ไหวแล้วเหมือนกันกับปริมาณขนาดนี้
ก็เช่นเดียวกับคน ผมว่าส่งเสริมให้คนกินไง
มันก็ช่วยได้ไม่มากหรอก
เหตุผลคือเรื่อง “มวล” มันไม่เหมือนปาทังก้า
จริงอยู่ ปาทังก้าอาจมีหลายร้อยล้านตัว
แต่ตัวนึง มันมีมวลไม่มากไปกว่าฮานามิสักแท่งหรอก
คนกิน ก็เลยกินได้เยอะ แบบของกินเล่นด้วย
แถมราคาดีมากในช่วงระบาด
ชาวบ้านถึงขนาดใช้ข้าวที่ปลูกไว้ล่อ ยอมเสียข้าว
เพื่อจับมัน ซึ่งได้กำไรสูงกว่ามาก
กับคางดำนั้นต่างไป ไซส์มันที่จับได้ส่วนมาก
คือสามสี่ตัวโลนึง จะไปกินไงให้หมด
ผมให้กินคนละสองตัวต่อวันเลย ไม่ทันมันหรอก
แล้วคนไทยกินปลากับข้าวครับ ไม่ใช่กินเล่นแบบตั๊กแตน
มันเลยกินได้ไม่มากสักเท่าไหร่ต่อวัน
ไม่รู้นะ ในความคิดผม ถ้าจะแก้ปัญหาด้วยการกิน
ผมว่าต้องมีหน่วยงานรัฐนี่แหละช่วยกิน
หน่วยงานคนเยอะๆแบบกองทัพนี่แหละ จะช่วยได้มาก
1
เอาทหารเกณฑ์ไปจับเลย ลูกชาวบ้านเยอะแยะ
เขาจับเป็นครับ แล้วก็เอามาทำเลี้ยงทหารกันไป
ประหยัดงบไปได้อีกทาง
1
อีกส่วนคือโรงเรียน ปลาเป็นโปรตีนชั้นดีอยู่แล้ว
ถ้าจับไปทำเลี้ยงเด็กมันคงดีแหละ แต่ต้องหาวิธี
เพราะเด็กแกะปลาเอง เดี๋ยวคงมีติดคอตายกันบ้าง ไม่ไหว
1
…คือ ถ้าจะให้ชาวบ้านจับกินมันกินไม่ไหวหรอก
ต้องมีหน่วยงานรัฐ ที่เจำเป็นต้องเลี้ยงคนมากๆอยู่แล้วช่วย
มันถึงจะไปได้ สำหรับวิธีนี้ ….
การจับมาแปรรูปก็น่าสนใจ เพราะใช้ปริมาณมาก
และได้ราคาสูงเมื่อขายต่อ
เห็นข่าวว่าทางนครศรีธรรมราช เอาไปทำกะปิ
อันนี้ผมว่าเข้าท่าอยู่นะ มันใช้เยอะมาก กว่าจะได้กะปิ
สักหนึ่งกิโล แต่ก็ขายได้ราคาดี
ทำปลาร้า หรือน้ำปลาได้ไหมผมไม่ทราบ
แต่ถ้าได้ก็คงดี น้ำปลาช่วงนี้ยิ่งแพงๆอยู่
แต่การเอาไปทำอาหารสัตว์นี่ผมไม่ค่อยเห็นด้วย
เพราะมันมีต้นทุน จะทำให้ราคารับซื้อต่ำ จนชาวบ้าน
ไม่อยากเปลืองแรงไปจับ
1
แล้วยังไปสร้างภาพลักษณ์ด้วยว่า ไม่ใช่ปลาคนกิน
มันจะทำให้ การส่งเสริมให้คนกิน เป็นไปได้ยาก
แต่ที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้ไอ้คางดำปรายได้ยากกว่าปาทังก้า
ก็คือการจับมันขึ้นมาจากน้ำ
กับปาทังก้านั้น มันลงที่ข้าว มาเล่นไฟ
มันจับค่อนข้างง่าย และไม่กระทบสัตว์อื่นมากนัก
แต่ถึงแบบนั้นก็มีข่าวนะ ว่าช่วงจับปาทังก้ากัน
นกโดนลูกหลงตายเป็นเบือ ซึ่งดีว่าเป็นสมัยก่อน
ถ้าเป็นสมัยนี้ พวกนักอนุรักษ์คงด่ากันยับ
1
ไอ้คางดำนี่อยู่ในน้ำ ขุ่นๆ เราก็มองไม่เห็นมัน
เห็นลอยเป็นฝูงผิวน้ำ ใต้น้ำมีอีกเท่าไหร่ไม่รู้ล่ะ
แล้วจะไปจับมันยังไงหมด
จะเอาอวนลากกวาดแม่น้ำ ปลาอื่นก็โดนหางเลขไปด้วย
มันทำงั้นไม่ได้หรอก นี่คือความยากในการจับมัน
…ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ว่า ขาวบ้านกิน หรือจับมาแปรรูป
มันเป็นไปไม่ได้ทั้งนั้นแหละครับ ถ้าจับมันได้ไม่มากพอ…
…พูดตรงๆนะ ผมยังมองไม่เห็นวิธี ที่จะจัดการเลย….
ใครผิดใครถูก ใครปล่อยหลุด
เป็นสิ่งที่ทุกคนกำลังสนใจมาก
และเหมือนวัดประสิทธิภาพของระบบกฎหมาย
ว่ามีใครไหม ที่ลอยตัวอยู่เหนือกฎหมายจริงๆ
เพราะไอ้บริษัทที่ถูกกล่าวหานี่ มันหลายเรื่องแล้ว
ที่รอดกฎหมายไปได้แบบค้านสายตาประชาชน
….ผูกขาด ควบรวม รอดได้ไง ชาวบ้านงง…
มันจำเป็นจะต้องสืบหาให้ได้ และต้องมีหน่วยงานเจ้าภาพ
ที่จะฟ้องร้องอย่างจริงจัง
ที่จริงแล้ว การปัดความรับผิดชอบของบริษัทยักษ์นั้น
เชื่อว่าสามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
หากว่าหน่วยงานรัฐนั้น มีตัวอย่างที่เขาส่งมาให้”จริง”
แล้วเทียบพันธ์ุกรรมเอากับพวกที่แพร่ในปัจจุบัน
เหมือนที่ในต่างประเทศเขาทำกัน
ใช่ไม่ใช่ ก็ไปว่ากันตรงนั้น
และชาวบ้านจะเชื่อไหม ก็อีกเรื่องเช่นกัน
มันจำเป็นต้องทำ ไม่ใช่ว่าอะไรหรอก
เพราะครั้งนี้ มันมีความเสียหายเกิดขึ้นจริงๆแล้ว
กับเกษตรกรเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลากระชัง จำนวนมาก
ไม่ใช่แค่ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
ที่ไม่สามารถประเมินออกมาเป็นตัวเลขได้
การฟ้องร้อง ก็เพื่อเยียวยาทั้งเกษตรกร
และเพื่อนำเงินมาฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
เพาะพันธุ์ปลาท้องถิ่น คืนสู่ธรรมชาติ
1
เรื่องพวกนี้ใช้เงิน
และรัฐ ก็ไม่ควรจะต้องใช้ภาษีประชาชน
ไปเพื่อการนี้ การเรียกค่าเสียหายจากต้นเหตุ
จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำ ….
…อย่าให้มีใครในประเทศนี้ เป็น Untouched able เลย…
…และมันคือบทพิสูจน์ ของระบบกฎหมาย ว่าศักดิ์สิทธ์ไหม…
เรื่องพวกนี้ คงไม่เกิดขึ้น ถ้าไม่ใช่เพราะคน
จริงอยู่ ผู้ทำมันหลุดออกมามีส่วนผิดที่สุด
แต่เราทุกคนก็ผิดเช่นกัน ที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
เรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้าแหล่งน้ำเรายังอุดมสมบูรณ์
และสะอาดในระดับที่สัตว์น้ำท้องถิ่นอยู่ได้
1
ลองคิดดู ถ้ามันหลุดมาแรกๆ ไม่มากกว่าที่จำนวน
ที่บริษัทยักษ์นำเข้า ในสภาพแวดล้อมของเราที่ยังสมบูรณ์
มันจะรอดเหรอ
…น้องนาก น้องเหี้ย พี่ช่อน พี่โด
คงจัดการมันไปเรียบร้อยหมดแล้วล่ะ …
…แต่พวกเราใช่หรือไม่ ที่ทำลายแหล่งน้ำ จนไม่สะอาดพอ
สำหรับพวกเขาส่วนมาก จนเหลือแต่พี่เหี้ยรับภาระลำพัง
ซึ่งก็แน่นอน ว่าแกไม่ไหว …
ทางกฎหมายกับผู้ทำหลุดก็เรื่องนึง
แต่ควรทราบด้วยว่า เรื่องจะไม่เกิดขึ้นเลย
ถ้าที่ผ่านมา เราไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมของเรา
…เรา เราทุกคนนั่นแหละ ต้องรับผิดชอบด้วยกันครับ….
ถ้าน้องยังอยู่นะ ไอ้คางดำคงไม่ได้เกิดแน่ในช่วงแรก นากเป็นสัตว์ที่กินเก่งมากกว่าเหี้ยหลายเท่า แม้จะตัวเล็กกว่า แต่เขาอยู่ได้แต่ในน้ำที่สะอาดมากพอเท่านั้น เราทุกคนคือตัวการที่ทำให้เขาหายไป😥😥😥
โฆษณา