21 ก.ค. เวลา 16:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

จีนเกิดเทรนด์ ‘อายที่จะใช้สินค้าหรู’ เหล่าเศรษฐีลดอวดความมั่งมี ขอหรูหราอย่างเงียบ ๆ ดีกว่า

เทรนด์ ‘Luxury Shame’ หรือ ‘อายที่จะใช้สินค้าหรู’ กำลังขยายตัวขึ้นในหมู่ ‘เศรษฐีจีน’ ผู้คนนิยมซื้อสินค้าที่เน้นคุณภาพ เรียบง่าย และหรูหราอย่างเงียบ ๆ แทน ซึ่งเทรนด์นี้กำลังทำให้พฤติกรรมบริโภคแบรนด์เนมเปลี่ยนไปจากเดิม
5
แม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว แต่ดูเหมือนว่า “สินค้าแบรนด์เนม” ยังคงเปล่งประกายความมั่งคั่ง จนเป็นแรงส่งให้ “เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์” เจ้าของอาณาจักร LVMH แบรนด์เนมหรูที่ใหญ่ที่สุดในโลก กลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 3 ของโลก
1
อย่างไรก็ตาม มีเทรนด์ใหม่สวนกระแส และอาจกระทบต่อการเติบโตของสินค้ากลุ่มนี้ กำลังก่อตัวขึ้นใน “จีน” นั่นคือ “เทรนด์ละอายที่จะใช้สินค้าหรู” โดยเหล่าเศรษฐีจีนเริ่มระมัดระวังการแสดงออกถึงความร่ำรวยอย่างโจ่งแจ้ง
1
สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า ปรากฏการณ์นี้สืบเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจจีนที่ซบเซา รายได้หดหาย หนุ่มสาวจีนตกงานจำนวนมาก อีกทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็อ่อนแอลง
2
ดิเรก เติ้ง (Derek Deng) หุ้นส่วนระดับอาวุโสของ Bain and Company บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจระดับโลกให้ความเห็นว่า “ก็ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐีจีนไม่เต็มใจที่จะใช้จ่ายกับสินค้าหรู จริงๆ แล้ว แบรนด์ชั้นนำบางแบรนด์ยังคงมีผลประกอบการที่แข็งแกร่งมากในจีน เพียงแต่ผู้คนระมัดระวังการบริโภคเพื่อแสดงฐานะทางสังคมมากขึ้น”
ด้านคลอเดีย ดี อาร์ปิซิโอ (Claudia D'Arpizio) หัวหน้าด้านแฟชั่นและสินค้าหรูของ Bain & Company กล่าวว่า “ลูกค้าผู้มีฐานะร่ำรวย กลัวที่จะถูกมองว่าโอ้อวดมากเกินไป”
คลอเดียเสริมต่อ “เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘Luxury Shame’ หรือ ‘ความละอายที่จะใช้สินค้าหรู’ คล้ายกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในสหรัฐช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008-2009 แม้ว่าคนเหล่านี้สามารถจ่ายกับสินค้าเหล่านี้ได้ แต่ก็มีความเต็มใจที่จะซื้อน้อยลง เพื่อไม่ให้ถูกมองว่าเป็นการซื้อหรือสวมใส่สินค้าราคาแพงจริง ๆ”
2
เธอเสริมว่า แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ผู้บริโภคชาวจีนกำลังหันไปสู่สไตล์ “ความหรูหราอย่างเงียบ ๆ” เป็นสินค้าหรูที่ใช้ลงทุนได้ และมีความ “เรียบง่ายกว่า” และ “เห็นได้น้อยกว่า” มากขึ้น ซึ่งบ่งบอกถึงรสนิยมที่แท้จริงได้ โดยไม่ต้องตะโกนโฆษณา
📌​รัฐบาลปราบพวกอวดรวย
1
ปรากฏการณ์ลด “การอวดรวย” ของชาวจีน นอกจากมีสาเหตุจากปัจจัยเศรษฐกิจแล้ว ยังได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางการเมืองของประเทศด้วย เพราะรัฐบาลจีนกำลังรณรงค์แนวคิด “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” (Common Prosperity) ให้สังคมมีความเท่าเทียมมากขึ้น และ “ต่อต้าน” วัฒนธรรมการบูชาเงินทองทุกประเภท
3
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จีนได้เริ่มต้นรณรงค์กวาดล้างการ “อวดรวย” บนโลกออนไลน์ และได้ทำการแบนอินฟลูเอนเซอร์บางรายออกจากโซเชียลมีเดียของจีน เนื่องจากพวกเขามักใช้พื้นที่ในการแสดงวิถีชีวิตที่หรูหราเกินงาม
3
ด้วยเหตุนี้ บรรดาโซเชียลมีเดียจีนจึงปฏิบัติตามระเบียบใหม่นี้ เพื่อแบนคอนเทนต์อวดรวย โดย Douyin หรือติ๊กต๊อกจีนกล่าวว่า ได้ลบข้อความจำนวน 4,701 ข้อความ และบัญชีผู้ใช้ 11 บัญชี ส่วน Xiaohongshu กล่าวว่าได้ลบโพสต์ "ผิดกฎหมาย" จำนวน 4,273 โพสต์ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และปิดบัญชีผู้ใช้ 383 บัญชี และ Weibo กล่าวว่าได้ลบเนื้อหามากกว่า 1,100 โพสต์
2
ดี อาร์ปิซิโอกล่าวว่า “เรื่องนี้เชื่อมโยงกับท่าทีของรัฐบาลจีนเป็นอย่างมาก แคมเปญความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันได้สร้างผลกระทบทางจิตวิทยาต่อชาวจีน เนื่องจากเหล่าผู้มั่งคั่งบางส่วนวิตก จนตัดสินใจขนความมั่งคั่งออกนอกประเทศ”
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวจีน “มีความพิถีพิถัน” มากขึ้น หลายคนตัดสินใจซื้อสินค้าจากคุณภาพหรือคุณค่าที่แบรนด์มอบให้ “มากกว่า” มองเพียงชื่อแบรนด์อย่างเดียว
.
อ่านฉบับเต็มได้ที่:
4
โฆษณา