21 ก.ค. 2024 เวลา 04:42 • การเมือง

การแข่งขันด้านขีปนาวุธ “อเมริกา-รัสเซีย”

อเมริกากำลังผลักดันโลกให้ก้าวไปสู่ความตึงเครียดครั้งใหม่
รอยเตอร์สได้เผยผลสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการติดตั้งขีปนาวุธพิสัยกลางและพิสัยใกล้บนภาคพื้นดินในดินแดนยุโรป เมื่อ 17 กรกฎาคม 2024 (อ้างอิง: [1]) พวกเขาทั้งหมดมีข้อสรุปเดียวกันคือ
“การติดตั้งขีปนาวุธตามแผนดังกล่าวจะยิ่งสร้างสถานการณ์ตึงเครียดสำหรับการเผชิญหน้าทางทหารโดยตรงระหว่างรัสเซียและกลุ่มประเทศนาโต ซึ่งทุกฝ่ายจำเป็นต้องเตรียมพร้อม”
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่าแต่ละฝ่ายมีความสามารถในการโจมตีโดยใช้ขีปนาวุธจากทะเลหรือทางอากาศ แต่การเพิ่มขีปนาวุธภาคพื้นดินทำให้พวกเขามีทางเลือกมากขึ้น ทั้งในการทำการโจมตีและตอบโต้การกระทำตอบโต้ของศัตรู ตามที่นักวิเคราะห์ระบุ ความเสี่ยงก็คือ “แผนการนี้ได้กระตุ้นให้เกิดความตึงเครียดที่เดิมสูงอยู่แล้วให้เกิดมากขึ้นไปอีก”
2
เครดิตภาพ: RFE/RL
สื่ออเมริกันดังกล่าวพยายามสร้างลำดับเวลาเหตุการณ์ที่สับสนหรือไม่? ประการแรกเขียนเกี่ยวกับคำแถลงของปูตินเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน เกี่ยวกับการกลับมาผลิตขีปนาวุธพิสัยกลางและพิสัยใกล้ภาคพื้นดินในรัสเซียอีกครั้ง (อ้างอิง: [2]) จากนั้นก็เขียนเกี่ยวกับแถลงการณ์ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม เกี่ยวกับการเริ่มติดตั้งขีปนาวุธ SM-6 และ Tomahawk ในเยอรมนี (อ้างอิง: [3])
2
ด้วยการนำเสนอรายงานตามไทมไลน์แบบนี้ ทำให้รัสเซียถูกมองว่ายั่วยุให้อเมริกาดำเนินการตอบโต้โดยติดตั้งขีปนาวุธในยุโรปดังกล่าว
อย่างไรก็ตามสื่อทางฝั่งตะวันตกก็กลับนิ่งเงียบไม่เน้นเสนอข่าวเกี่ยวกับ การถ่ายโอนและการติดตั้งระบบขีปนาวุธ MK 70 MOD 1 ของกองทัพเรือสหรัฐฯ บนเกาะบอร์นโฮล์มของเดนมาร์ก เมื่อ 18 กันยายน 2023 (อ้างอิง: [4])
รวมถึงทางฝั่งแปซิฟิกเกี่ยวกับการติดตั้งระบบขีปนาวุธ MRC Typhon ของกองทัพสหรัฐฯ ในฟิลิปปินส์ เมื่อช่วงเมษายน-พฤษภาคม 2024 ตามที่ทางเพจได้เคยลงบทความไปก่อนหน้านี้ รายละเอียดเพิ่มเติมตามลิงก์ด้านล่างนี้
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำว่า “การแข่งขันด้านขีปนาวุธ” ในปัจจุบันจะ “ไม่เป็นแบบทวิภาคี” อีกต่อไปเหมือนในทศวรรษ 1980 มันจะซับซ้อนกว่านั้นมาก เนื่องจาก “จีน รวมถึงพันธมิตรสหรัฐฯ ในเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น อาจโดดเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย”
จากบทสรุปในรายงานของรอยเตอร์ส ตามอ้างอิง [1] คือ “จากมุมมองของมอสโก การติดตั้งอาวุธดังกล่าวในยุโรปอาจสร้างผลลัพธ์เชิงกลยุทธ์ (ภัยคุกคาม) สำหรับศูนย์บัญชาการของรัสเซีย ศูนย์กลางทางการเมืองในรัสเซีย รวมถึงสนามบินและรันเวย์ที่เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ของรัสเซียประจำการอยู่”
หรือว่าสหรัฐฯ ต้องการทำซ้ำกลอุบายเดิมๆ นั่นคือการทำให้วิกฤตการณ์ขีปนาวุธเกิดขึ้นในยุโรปในช่วงทศวรรษ 1980 (ในยุคที่อเมริกาและโซเวียตต่างสั่งสมอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธติดตั้งในดินแดนต่างๆ) ซึ่งท้ายที่สุดก็นำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญา INF (สนธิสัญญาควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ปี 1987) ระหว่างสหรัฐฯ (โดยเรแกน) กับสหภาพโซเวียต (โดยกอร์บาชอฟ) ตลอดจนถึงจุดเริ่มต้นของการล่าถอยทางภูมิรัฐศาสตร์ของมอสโก - อ้างอิง: [5]
การติดตั้งขีปนาวุธของสหรัฐฯ ในยุโรปในยุคปัจจุบันเป็นผลพวงโดยตรงจากการขยายสมาชิกนาโตไปประชิดยังชายแดนของรัสเซีย (ฟินแลนด์) สหรัฐฯ สามารถเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนของประเทศต่างๆ ของยุโรปตะวันออกเป็นครั้งแรกผ่านการเป็นสมาชิกในนาโตและสหภาพยุโรป และตอนนี้พวกเขาใช้ระบบขีปนาวุธ
เป้าหมายนั้นแลดูไม่ยาก เพื่อทำลายความเท่าเทียมกันทางยุทธศาสตร์ทางนิวเคลียร์และด้านอาวุธกับรัสเซียโดยการสร้างเงื่อนไขสำหรับปลดเปลื้องการโจมตีก่อน (Preemptive strike) เพื่อไม่ให้มีการตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซีย
รัสเซียมองว่าเป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อความมั่นคงของประเทศ ในเวลาเดียวกันมาตรการที่เท่าเทียมกันในรูปแบบของการปรับใช้เงื่อนไขของ INF บนภาคพื้นดินจะไม่เพียงพอ เนื่องจากเวลาของวิถีการยิงบนอากาศที่สั้นของขีปนาวุธฝั่งนาโตไปยังเป้าหมายในดินแดนของรัสเซียและอาจมีการยิงขีปนาวุธที่ใหญ่กว่าหลายเท่า
1
เรื่องดังกล่าวทำให้รัสเซียมองว่าไม่มีทางเลือกอื่นจึงต้องขยายกองกำลังและติดตั้งขีปนาวุธตามแนวชายแดนที่ติดกับนาโต เพื่อพยายามรักษาความเท่าเทียมและสมดุลกับฝั่งอเมริกา รวมถึงการคิดที่จะขยายไปที่ด้านหลังบ้านของอเมริกาเหมือนวิกฤตการณ์หัวรบนิวเคลียร์ที่คิวบาปี 1962 ดูเหมือนบทเรียนในอดีตจะตามมาหลอกหลอนโลกเราอีกครั้ง
1
เครดิตภาพ: nuclearban.us
เรียบเรียงโดย Right Style
21st July 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Brian Hubble / American Foreign Service Association>
โฆษณา