Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Attorney Bunyarit (ทนายบอล)
•
ติดตาม
21 ก.ค. 2024 เวลา 16:51 • นิยาย เรื่องสั้น
สำนักงาน พิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ
Advocacy Note Ep.4
เรื่องสืบพยานคดีเพิกถอนนิติกรรมการจัดการสินสมรส
📌ผมได้มีโอกาสได้ทำคดีแพ่งเรื่องหนึ่งครับ เป็นคดีครอบครัว เรื่องการเพิกถอนนิติกรรมการให้สินสมรสโดยเสน่หา
ซึ่งเรื่องนี้ผมเคยเขียนบทความ และเคยเล่าถึงประสบการณ์ในการทำ มาแล้ว ตามลิงก์ด้านล้างนี้ครับ เผื่อท่านใดอยากลองอ่าน
บทความ :
https://www.facebook.com/share/p/QUZverppcBXZweq4/?mibextid=oFDknk
ประสบการณ์ :
https://www.facebook.com/share/p/Z67yGykDTrnK8g6h/?mibextid=oFDknk
โดยในครั้งนี้ผมได้ประสบการณ์ในมุมที่แตกต่างออกไปจากในครั้งก่อน ๆจึงอยากนำมาเล่าให้ฟังกันครับ
💬คดีนี้ข้อเท็จจริงเรียบง่ายมากครับ คือ คู่สมรสของเรา โอนเงินให้แก่บุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์กันในทำนองชู้สาว โดยที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเราซึ่งเป็นคู่สมรส ด้วยข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและพยานหลักฐาน ผมค่อนข้างมั่นใจมากว่ามีโอกาสที่จะชนะคดีได้ค่อนข้างสูงครับ แต่คดีนี้นอกจากการแพ้ชนะคดีแล้ว มีอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญมากเช่นกัน คือ ลูกความเป็นนักธุรกิจใหญ่ ชนิดที่ว่าหากมีข่าวเกี่ยวกับคดีความอาจจะทำให้ต้องเสียประโยชน์ทางธรุกิจในระยะยาว จึงต้องรักษาภาพลักษณ์ของตนเองให้ดี
🏛ในวันสืบพยาน🏛
ก่อนที่จะสืบพยานกัน ได้มีการไกล่เกลี่ยกันก่อน ซึ่งในช่วงแรกของการไกล่เกลี่ยทางฝ่ายผมค่อนข้างหนักแน่นในการต่อสู้คดีเพื่อให้ได้เงินเต็มจำนวนตามฟ้องกลับคืนมา แต่คุยไปคุยมามีข้อเสนอหนึ่งที่ทำให้ผมรู้สึกว่า ลูกความจะได้ประโยชน์ในระยะยาวมากกว่าการชนะคดี ถึงตรงนี้ผมขอพูดถึงประโยชน์ของการไกล่เกลี่ยและการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลนิดนึงนะครับ
ถ้าเปรียบเทียบกันระหว่างการต่อสู้คดีจนศาลมีคำพิพากษา กับ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลนั้น การต่อสู้คดีปลายทางมีอยู่สองอย่าง คือชนะคดีกับแพ้คดี แต่หากทั้งสองฝ่ายมีทางออกอื่น ๆแล้วทำสัญญาประนีประนอมยอความในศาลนั้น ในสัญญายอมฯ มันสามารถระบุข้อตกลงนอกเหนือจากที่มีในคำฟ้องได้ เช่น ข้อกำหนดห้ามเผยแพร่ข้อมูล ห้ามยุ่งเกี่ยว ห้ามติดต่อ เป็นต้น
ซึ่งพวกนี้หากเราสู้คดีให้ศาลพิพากษา ศาลไม่สามารถพิพากษาสิ่งอื่น ๆที่ไม่มีในคำฟ้องได้อยู่แล้ว แต่หากทำสัญญายอมฯเราสามารถเขียนตรงนี้เข้าไปได้ และยังสามารถบังคับคดีได้หากฝ่ายใดทำผิดสัญญาอีกด้วย
🎯สุดท้ายผมได้คุยกับลูกความแล้ว ลูกความก็เข้าใจในสิ่งที่ผมสื่อ และจดด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน รับเงินบางส่วน ถึงแม้ถ้าสู้ไปจะมีโอกาสได้รับเงินเต็มจำนวนก็ตาม แต่ได้ระบุสัญญาข้อหนึ่งลงไปที่เป็นการจบปัญหาในระยะยาวทำให้อีกฝ่าย ไม่สามารถมาก่อความรังควาญใจ หรือทำให้ต้องกังวลใจได้ในระยะยาว ซึ่งผมมองว่าตรงนี้สำคัญที่สุดครับ
💡สิ่งที่ผมได้รับจากการทำคดีนี้ คือ หน้าที่ของทนายความนั้น นอกจากผลลัพธ์ปลายทางที่ควรจะได้รับในทางกฎหมายแล้ว เราควรมองไปให้ถึงผลลัพธ์ในระยะยาวที่อาจเป็นประโยชน์กับลูกความมากกว่าการต่อสู้คดีจนถึงที่สุด จริงอยู่การต่อสู้คดีแล้วชนะคดีมันเป็นผลลัพธ์ที่ดีสำหรับฝ่ายที่ชนะก็จริง
แต่ถ้าหากมันจะต้องมีคดีสาขากันต่อไปอีกหนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า คดี ทนายความอย่างเราทำงานได้อยู่แล้วครับ แต่คนที่จะเป็นกังวลใจไม่สิ้นสุด ก็คือลูกความเราเอง ซึ่งเราคงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นหรอกครับ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละคนๆไปนะครับ
การได้เป็นทนายความมาในระยะเวลาประมาณนึงทำให้ผมคิดว่าทนายความที่ดี ที่เก่ง (สำหรับผม) นอกจากทักษะในการว่าความแล้ว คงต้องมองให้เห็นถึงตรงนี้ สามารถชั่งน้ำหนัก และประเมินสิ่งต่าง ๆให้เกิดประโยชน์แก่ลูกความสูงสุดได้ด้วยตัวเอง
ขอบคุณทุกคนครับ🙏😃
ความรู้
ความรู้รอบตัว
เรื่องเล่า
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย