23 ก.ค. 2024 เวลา 02:16 • หุ้น & เศรษฐกิจ

โรงงานปิดทยอยปิดตัวในไทย: เกิดอะไรขึ้นและจะเป็นอย่างไรต่อไป?

โรงงานหลายแห่งได้ทยอยปิดตัวลงในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น Tan Chong Subaru Automotive ที่ประกาศเลิกผลิตรถยนต์ในปีนี้ หรือ Suzuki Motor ที่วางแผนจะยุบโรงงานผลิตในไทยภายในปีหน้า เช่นเดียวกัน บริษัทอมตะซิตี้ ระยอง ก็ได้ประกาศว่าจะปิดโรงงานในระยองภายในปี 2025 ซึ่งตอนนี้ทางบริษัทก็ได้เริ่มปลดพนักงานบางส่วนแล้ว
4
จากรายงานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในห้าเดือนแรกของปีนี้ มีโรงงานปิดตัวไปแล้วรวมกว่า 480 แห่ง และตั้งแต่ปี 2021 ถึงเดือนพฤษภาคมปี 2024 คาดว่ามีจำนวนโรงงานที่ปิดตัวไปแล้วราวๆ 3,500 แห่ง โดยโรงงานส่วนใหญ่ที่ปิดตัวไปนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ พลาสติก หนัง ยาง ไม้ และ เครื่องจักร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างสำคัญต่อภาคการผลิตของประเทศไทย
6
คำอธิบายเบื้องหลังการทยอยปิดตัวครั้งนี้มีอยู่สองสามอย่าง
(1)   ผู้ผลิตไทยได้เผชิญกับการแข่งขันที่ดุเดือดจากสินค้านำเข้าจากจีนที่ราคาถูก จากรายงานของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (The Federation of Thai Industries) ประเทศจีนได้ขยายการผลิตเพื่อการส่งออกเพื่อชดเชยรายได้ที่สูญหายจากภาคอสังหาริมทรัพย์
2
และด้วยความต้องการภายในประเทศจีนที่ค่อนข้างอ่อนแอ ผนวกกับการกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้นในประเทศสหรัฐฯ และทวีปยุโรป จีนจึงมองอาเซียนเป็นตลาดใหม่ที่จะช่วยซื้อสินค้าที่ผลิตออกมาเยอะได้ และของนำเข้าจีนที่ถูกจนน่าตกใจนี้ ก็ทำให้ผู้ประกอบการหลายราย โดยเฉพาะรายเล็กๆ ต้องปิดตัวหรือยุบแผนกการผลิตไปเนื่องจากสู้ราคาสินค้าจีนไม่ไหว
2
(2)   อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของไทย ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการในยุคนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่นอุตสาหกรรมการผลิต ที่มีสัดส่วนมากถึง 35% ของ GDP ยังคงเน้นการใช้คนงานเป็นหลักและยังคงจดจ่อกับการผลิตชิ้นส่วนประกอบของสินค้าเพื่อส่งออกไปประกอบต่อเป็นหลัก
1
ซึ่งสินค้าเหล่านี้สามารถผลิตได้ในประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่าง เวียดนามหรืออินโดนีเซีย ที่ซึ่งมีแรงงานเยอะกว่าและค่าแรงถูกกว่า เช่นกัน นี่ทำให้อุตสาหกรรมไทยค่อยๆ เสียความสามารถในการแข่งขันไป
1
(3)   อุตสาหกรรมไฮเทคของไทยยังพัฒนาไม่พอ ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่า มีบริษัทเพียงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัทที่เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมทั้งหมด ที่สามารถผันตัวไปผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม (high value-added products) ได้สำเร็จ นอกจากนี้การลงทุนโดยต่างชาติที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีก็มักจะมุ่งไปที่ประเทศอื่น เช่น สิงค์โปร์ หรือ มาเลเซีย เสียมากกว่า หากบริษัทไทยยังพัฒนายังพัฒนาได้ค่อนข้างช้า ก็อาจเป็นเหตุให้เอาตัวรอดในยุคที่โลกเปลี่ยนไปเร็วได้ยากขึ้น
7
ในระยะข้างหน้า นักวิชาการหลายท่านมองว่ายังคงมีแนวโน้มที่โรงงานในไทยจะปิดตัวเพิ่ม อย่างไรก็ตามอนาคตของประเทศไม่ได้มืดหม่นเสียทั้งหมด นี่เป็นเพราะ
4
(1)   โลกกำลังเข้าสู่ยุคของนโยบายการเงินที่คลายตัว โดยธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะลดดอกเบี้ยในปีนี้ไปจนถึงปีหน้า ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความต้องการและการลงทุนทั่วโลกในสองสามปีข้างหน้านี้
1
(2)   ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในปัจจุบันมีแนวโน้มทำให้นักลงทุนและบริษัทมากมายย้ายการลงทุนและฐานการผลิตมาอยู่ในอาเซียนแทน และด้วยการที่ประเทศไทยตั้งอยู่กลางภูมืภาคอาเซียน มีทะเลติดกับทั้งจีนและอินเดีย และมีการขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานที่ค่อนข้างแข็งแรง ประเทศไทยมีสิท์ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนและสำนักงานใหญ่ต่างชาติ
2
ซึ่งการลงทุนจากต่างชาติที่เพิ่มขึ้นนี้ หากบวกกับนโยบายดึงดูดบริษัทไฮเทคและผู้เชี่ยวชาญต่างชาติด้วยแล้ว ก็จะทำให้ประเทศไทยได้ความรู้และวิธีการในการพัฒนาอุตสาหกรรมให้ทันสมัยและมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นในระยะยาวได้
2
Sources:
โฆษณา