23 ก.ค. เวลา 06:09 • ธุรกิจ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะคือ ภาษีที่เก็บจากกิจการบางประเภทตามที่กฎหมายกำหนดโดยเป็นภาษีที่ถูกแยกออกมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม สรรพากรจะเก็บภาษีทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยผู้ที่มีหน้าที่จ่ายภาษีจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายในวันที่ 30 นับตั้งแต่วันที่เริ่มกิจการ (แบบ ภ.ธ.01)
🚩 กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. ธนาคาร
2. ธุรกิจเงินทุน / ธุรกิจหลักทรัพย์ / ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3. การรับประกันชีวิต
4. การรับจำนำ
5. การประกอบกิจการเหมือนธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นต้น
6. การขายอสังหาริมทรัพย์ทางค้าหรือหากำไร
7. การขายหลักทรัพย์
8. ธุรกิจอื่นๆ ที่กำหนด เช่น ธุรกิจแฟ็กเตอริง
🚩 ฐานภาษีธุรกิจเฉพาะ
ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะคือ รายรับก่อนหักรายจ่าย โดยคำนวณจากรายรับตามฐานภาษีของกิจการแต่ละประเภท คูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดไว้ รวมกับภาษีท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของจำนวนเงิน
🚩 การยื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. กิจการที่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ มีหน้าที่ยื่นแบบ (ภ.ธ.40) จะต้องแสดงประเภทกิจการ
จำนวนเงินรายรับ จำนวนเงินภาษี และภาษีท้องถิ่นร้อยละ 10
2. กิจการต้องยื่นแบบไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้นหรือไม่ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
3. หากนำภาษีมาคำนวณแล้วจำนวนไม่ถึง 100 บาท ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้นแต่ยังคงต้องยื่นแบบแสดงรายการตามปกติ
โฆษณา