24 ก.ค. 2024 เวลา 10:41 • ประวัติศาสตร์

เมื่อนักวิทยาศาสตร์โซเวียตสร้าง “สุนัขสองหัว” ได้สำเร็จ

“วลาดิมีร์ เปโตรวิช เดมิคอฟ (Vladimir Petrovich Demikhov)” คืออัจฉริยะทางการแพทย์ที่หลายคนไม่ค่อยรู้จัก
7
ในปีค.ศ.1954 (พ.ศ.2497) เดมิคอฟประสบความสำเร็จในการนำศีรษะของสุนัขที่มีขนาดเล็ก นำไปติดบนสุนัขตัวใหญ่ได้สำเร็จ และทำการเย็บระบบไหลเวียนโลหิตเข้าด้วยกัน และเชื่อมเข้ากับกระดูกสันหลัง
2
ศีรษะสุนัขที่นำมาต่อนั้นยังคงเห่าและขู่คำราม และเมื่อมีอาการหิวน้ำ มันก็สามารถกินน้ำนมที่นำมาให้ เมื่อร้อน ก็แลบลิ้นและหายใจแรงๆ
1
แต่ด้วยความที่ยังไม่ได้ต่อหลอดอาหารของสุนัขตัวเล็กเข้ากับกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารและน้ำที่สุนัขตัวเล็กทานเข้าไปนั้นจะไหลผ่านท่อลงสู่พื้น
3
วลาดิมีร์ เปโตรวิช เดมิคอฟ (Vladimir Petrovich Demikhov)
สุนัขสองหัวนี้ตายหลังจากผ่านการผ่าตัดไปได้หกวัน และเป็นเวลาหลายปีจากนั้น เดมิคอฟก็ได้ทำให้สุนัขหลายตัวต้องเสียชีวิตเนื่องจากนำมาทดลอง หากแต่ละครั้งก็ทำให้การผ่าตัดนั้นพัฒนามากขึ้น โอกาสรอดของสัตว์ทดลองก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยหนึ่งในสุนัขทดลองที่ถูกนำมาต่อศีรษะนี้สามารถอยู่ได้นานถึง 29 วัน
6
ข่าวการทดลองของเดมิคอฟนั้นโด่งดังไปทั่วโลก สร้างเสียงวิจารณ์ไปทั่ว ผู้คนก่นด่ามากมาย หาว่าเขานั้นทารุณสัตว์
1
หากแต่เดมิคอฟก็ไม่หวั่นไหว เขารู้ตั้งแต่แรกแล้วว่าย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกก่นด่า หากแต่เขาก็แน่ใจว่าการทดลองของตนคือการปูทางสู่ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในอนาคต
3
และเมื่อแพทย์ทั่วโลกศึกษางานของเดมิคอฟ ก็เริ่มเชื่อว่าบางที การปลูกถ่ายอวัยวะอาจจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
3
สำหรับประวัติของ “วลาดิมีร์ เปโตรวิช เดมิคอฟ (Vladimir Petrovich Demikhov)” นั้น เขาเกิดในครอบครัวชาวนาในประเทศรัสเซียเมื่อปีค.ศ.1916 (พ.ศ.2459) โดยเมื่อมีอายุได้ 15 ปี เดมิคอฟก็ได้ทำงานเป็นช่างเครื่องในโรงงานแห่งหนึ่ง
1
หากแต่ความสนใจที่แท้จริงของเดมิคอฟก็คือ ระบบไหลเวียนโลหิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
1
ดังนั้นในปีค.ศ.1934 (พ.ศ.2477) เดมิคอฟจึงเข้าศึกษาคณะแพทย์ในมหาวิทยาลัย ก่อนที่ในปีค.ศ.1937 (พ.ศ.2480) ขณะมีอายุเพียง 21 ปี เดมิคอฟก็สามารถประดิษฐ์หัวใจเทียมได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ซึ่งหัวใจใจเทียมนั้นก็ถูกนำไปปลูกถ่ายยังสุนัขทดลอง และสุนัขทดลองนั้นก็สามารถอยู่ได้ถึงสองชั่วโมงหลังการผ่าตัด
4
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เดมิคอฟได้เข้าร่วมกับกองทัพในฐานะนักพยาธิวิทยา ต้องไปประจำการยังแนวหน้า และการที่ได้ทำงานในสนามรบนี้เอง ทำให้เดมิคอฟเห็นถึงความผิดพลาดของศัลยแพทย์หลายๆ คน
1
หลังจากสงครามจบลง เดมิคอฟก็ได้ทำการทดลองปลูกถ่ายอวัยวะอีกหลายครั้งโดยใช้หมาและแมวเป็นสัตว์ทดลอง และก็ประสบความสำเร็จหลายครั้ง ทั้งการปลูกถ่ายหัวใจ ปลูกถ่ายปอด ปลูกถ่ายตับ รวมทั้งการผ่าตัดบายพาสได้เป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1953 (พ.ศ.2496)
3
แน่นอนว่าความสำเร็จเหล่านี้ล้วนเป็นรากฐานต่อการแพทย์ในปัจจุบัน หากแต่ย้อนกลับไปในยุค 60 (พ.ศ.2503-2512) วิธีการของเดมิคอฟนั้นดูป่าเถื่อนและโหดร้ายในสายตาของคนจำนวนมาก
2
แต่ถึงอย่างนั้น เดมิคอฟก็ยังคงเดินหน้าอย่างมุ่งมั่น โดยเขาเชื่อว่างานของตนนั้นมีความหมาย และต้องการจะทำให้โลกเห็นว่าการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะนั้นสามารถทำได้จริง
2
ในเวลาต่อมา แพทย์จากทั่วโลกต่างเดินทางมายังห้องทดลองของเดมิคอฟเพื่อศึกษางานของเขา แม้แต่ในช่วงสงครามเย็น แพทย์จากอเมริกาก็ยังมาดูงานของเดมิคอฟ
2
ในปีค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) เดมิคอฟได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “Experimental Transplantation of Vital Organs“ ซึ่งเป็นหนังสือที่อธิบายเทคนิคการผ่าตัดของเดมิคอฟ และก็เป็นเวลาหลายปีที่หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเพียงเล่มเดียวที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปลูกถ่ายอวัยวะภายในและเนื้อเยื่อ
2
“คริสเตียน บาร์นาร์ด (Christiaan Barnard)” ศัลยแพทย์ชาวแอฟริกาใต้ ได้เดินทางมายังกรุงมอสโควในปีค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) และค.ศ.1963 (พ.ศ.2506) เพื่อดูงานของเดมิคอฟ ก่อนที่ในปีค.ศ.1967 (พ.ศ.2510) บาร์นาร์ดสามารถปลูกถ่ายหัวใจในมนุษย์ได้เป็นครั้งแรก
3
คริสเตียน บาร์นาร์ด (Christiaan Barnard)
ความสำเร็จนี้ บาร์นาร์ดให้เครดิตเดมิคอฟ โดยได้กล่าวว่าตนได้แรงบันดาลใจมาจากผลงานของเดมิคอฟ โดยเขาได้กล่าวว่า
1
“ผมเชื่อมั่นมาโดยตลอดว่าหากจะมีใครซักคนที่จะเป็นบิดาแห่งการปลูกถ่ายหัวใจและปอด คนๆ นั้นก็ควรจะเป็นเดมิคอฟ“
2
เดมิคอฟเสียชีวิตในปีค.ศ.1998 (พ.ศ.2541) ด้วยวัย 82 ปี และหลังจากการเสียชีวิตของเขา ผู้คนจึงเพิ่งเห็นคุณค่าในงานของเขา
2
ในปัจจุบัน วิทยาการปลูกถ่ายอวัยวะนั้นก้าวหน้ากว่าในอดีตมาก ในทุกๆ ปี มีการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจปีละกว่า 3,500 ครั้งทั่วโลก
4
และทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีการทดลองเพี้ยนๆ ที่หลายคนมองว่าทารุณสัตว์ของแพทย์ที่ชื่อวลาดิมีร์ เปโตรวิช เดมิคอฟ
2
สั่งซื้อหนังสือ “ประวัติศาสตร์แห่งความหลอกลวง 5,000 ปีของการต้มตุ๋น ฉ้อโกง โกหก ปลอมแปลง” ได้ตามลิ้งค์นี้นะครับ
โฆษณา