23 ก.ค. เวลา 10:38 • ปรัชญา
เรื่องการพูด .การไปบอกกล่าว เรื่องนั่นเรื่องนี้ พูดเหมือนธรรมดา บางทีก็เป็นเรื่องไม่ธรรมดา พอบอกไป ..เค้าก็ต่อต้าน ไม่ชอบใจ ..ครั้งหนึ่ง แม่เรา(ไม่ได้เอาแม่มานินทานะ เอามาเป็นตัวอย่าง) แม่เราก็พูดถึงคนนั้นคนนี้ คนใกล้ตัว .
เหมือนไปตำหนิติเตียนเค้า เรา บอกแม่ว่า อย่าไปติเตียนเค้าเลย .แค่นั้นแหละ ..เรานั่งกินข้าเหนียวหมูปิ้ง ก็ลื่นไถลลงไปนอน ง่วงจนทนไม่ไหว .จากนั้น ก็ขับรถไปวัด .ไปสวดมนต์ พอกราบพระ .ก็นึกขึ้นได้ ว่า นี่เราถูก ..ลูกกระดอน ..สะท้อนกลับ เหมือนถูกไม้หน้าสามฝาดลงไปนอน เหมือนไปขัดขวาง อารมณ์กรรม ที่เค้ากำลัวไหล ออกมา ..เราไปขัดขวางก็ถูก..อย่างนี้แหละ
มีพระบวชได้ไม่นาน เคยเป็นครูสอนสมาธิ วันหนึ่ง ออกไปบรรยายธรรม ให้คนที่เค้าปฏิบัติธรรมฟังมีทั้งพระแม่ชี ฆราวาส . พอบรรยายเสร็จ ก็เดินกลับมา .ตุปัดตุเป๋เดินกลับมา .. หมดเรี่ยวหมดแรง ..เราก็คุยกับหลวงตา ..ท่านก็บอกว่า ไปถูกลูกกระดอน..ทิฐิของผู้ที่ฟัง มันเกิดอารมณ์ทิฐิไม่ยอมต่อต้าน ..มันก็เป็นอย่างนี้
แม้แต่การสวดมนต์ ..ชวนน้องที่ทำงานสวดมนต์ สวดๆไปมันเหนื่อย เหมือนออกแรง ลากเกวียน ทำให้นึกถึง โคนันทิวิศาล ลากเบ่มเกวียน มันเป็นอย่างนั้นเอง
บางเรื่อง ..การที่เราจะพูดจะบอกใครตรงนั้น มันก็ต้องมีความเข้าอกเข้าใจกัน จับเข่าคุยกันได้ พูดคุยสื่อสารกันได้ แลกเปลี่ยนกันได้ ทั่งสองฝ่าย ไม่ใช่ว่า จะให้เค้าฟังเราฝ่ายเดียว ..เราไม่ใช้ครูอาจารย์ เราเป็นเพื่อจับเข่าคุยกันได้ ..เปิดอกคุยกันได่ ..แต่นั่นไม่ใช่ว่า เราจะคุยกับทุกคนได้ ..ที่เปิดอกคุยกัน ..ก็ไม่ได้หมายความว่า จะคุยกันได้ทุกเรื่อง มันเป็นบางเรื่อง
เพราะฉะนั้น การที่คุยบอกกล่าว อะไรตรง(เราก็ไม่รู้ว่าเรื่องราวอะไร) แต่นั่นตัวเราย่อมรู้ดี ว่ามันเรื่องราวอะไร แล้วเราก็รู้จักนิสัยเค้าเป็นอย่างไร เรื่องพวกนี้ ..เราก็ใช้เหตุผล ดูกาลเทศะ ว่าสมควร หรือไม่สมควร หากพูดไปแล้ว อะไรมันเกิดผลตามมา .ดีหรือไม่ดี คงไม่ใครรู้ดี เท่ากลับตัวเรา ..หากเราทำด้วยความปรารถนาดี ..เราก็ทำไป ..หากว่า มีปฏิกิรยาไม่ดี สะท้อนกลับ เราก็หยุดที่ตัวเรา .
โฆษณา